Workshop คลายข้อข้องใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา กับผู้เชี่ยวชาญ
Workshop : คลายข้อข้องใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
วันพุธ ที่ 14 มิ.ย. เวลา 17.00-18.00 น. ณ ห้อง 312 ณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
ผู้มาตอบคำถาม คุณศิริประภา ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ถนัดในด้านสิทธิบัตร
วันพุธ ที่ 14 มิ.ย. เวลา 17.00-18.00 น. ณ ห้อง 312 ณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
ผู้มาตอบคำถาม คุณศิริประภา ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ถนัดในด้านสิทธิบัตร
ก่อนอื่น ทานขนมเติมพลังกันก่อนที่จะเข้าไปเรียนรู้ เนื่องจากมีเวลาซักถามกันแค่ 1 ชั่วโมง เราจึงใช้เวลากันอย่างคุ้มค่ากันทีเดียว ก่อนหน้านี้มีคำถามในกรุ๊ปไลน์ และส่งให้ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการบ้านมาก่อนแล้ว ระหว่างนี้ก็มีคำถามอื่นๆด้วย ดังนั้นจะเขียนสองส่วน คือ ส่วนคำถามที่รวบรวมมา และส่วนคำถามเพิ่มเติม ในวันนี้มีไลฟ์สดผ่านกรุ๊ป Facebook ด้วยหล่ะ จะได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน
คำถามคาใจ
1. ความลับทางการค้า เราจะป้องกันอย่างไร? หรือมีวิธีการให้ภาครัฐคุ้มครอง ได้ไหม?
ตอบ : ความลับทางการค้าได้รับความคุ้มครองทางกฏหมายอยู่แล้ว ไม่ต้องจดทะเบียน
ถ้ามีการขโมยโดยไม่ยินยอม มี criteria หรือหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) เป็นความลับ
2) มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์
3) ใช่มาตรการที่เหมาะสม
เมื่อก่อนมีรับจดว่ามีความลับทางการค้าอะไรบ้าง ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ ตอนนี้ไม่มีแล้ว บริษัทจะจัดทำเอกสารความลับทางการค้าเอง
2. เครื่องหมายการค้า ต้องต่อทุก 10 ปี ถ้าไม่ได้ต่อจะเกิดผลอย่างไร?
ตอบ : เครื่องหมายการค้าต่อทุก 10 ปี ถ้าต่อไม่ทันหรือไม่ต่อ เครื่องหมายทางการค้าสาบสูญหรือถูกยกเลิกไป ทำให้มี gap ให้คนอื่นสามารถมาใช้เครื่องหมายทางการค้านั้นได้ ปกติทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะมีหนังสือเตือนก่อนว่าให้ไปจดก่อนหมดอายุนะ
3. ความแตกต่างกันแค่ไหนเครื่องหมายการค้า ถึงถูกพิจารณาไม่เหมือนกัน
ตอบ : ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผูีตรวจสอบ ต้องมีความแตกต่างกันพอสมควร เพื่อไม่ให้คนหลงผิด
4. เครื่องหมายการค้าต้องแสดงเป็นตัวอักษรแบบเดียว หรือสามารถแสดงในรูปแบบอื่น ๆ ได้
ตอบ : ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวอักษรแบบเดียว อาจจะเป็นหลายแบบหรือรูปภาพก็ได้ รวมถึงภาพ 3 มิติด้วย แต่จดยากหน่อยด้วยเรื่องของเทคนิคการตรวจสอบ กลิ่นและเสียงเริ่มทยอยจดเครื่องหมายทางการค้าแล้ว
5. Startup ที่ pitch งานแล้ว ถือว่าเปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ มีแนวทางป้องกันอย่างไร
ตอบ : องค์ประกอบของสิทธิบัตร คือ มีความใหม่ และมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
2. เครื่องหมายการค้า ต้องต่อทุก 10 ปี ถ้าไม่ได้ต่อจะเกิดผลอย่างไร?
ตอบ : เครื่องหมายการค้าต่อทุก 10 ปี ถ้าต่อไม่ทันหรือไม่ต่อ เครื่องหมายทางการค้าสาบสูญหรือถูกยกเลิกไป ทำให้มี gap ให้คนอื่นสามารถมาใช้เครื่องหมายทางการค้านั้นได้ ปกติทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะมีหนังสือเตือนก่อนว่าให้ไปจดก่อนหมดอายุนะ
3. ความแตกต่างกันแค่ไหนเครื่องหมายการค้า ถึงถูกพิจารณาไม่เหมือนกัน
ตอบ : ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผูีตรวจสอบ ต้องมีความแตกต่างกันพอสมควร เพื่อไม่ให้คนหลงผิด
4. เครื่องหมายการค้าต้องแสดงเป็นตัวอักษรแบบเดียว หรือสามารถแสดงในรูปแบบอื่น ๆ ได้
ตอบ : ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวอักษรแบบเดียว อาจจะเป็นหลายแบบหรือรูปภาพก็ได้ รวมถึงภาพ 3 มิติด้วย แต่จดยากหน่อยด้วยเรื่องของเทคนิคการตรวจสอบ กลิ่นและเสียงเริ่มทยอยจดเครื่องหมายทางการค้าแล้ว
5. Startup ที่ pitch งานแล้ว ถือว่าเปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ มีแนวทางป้องกันอย่างไร
ตอบ : องค์ประกอบของสิทธิบัตร คือ มีความใหม่ และมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
ถ้ามีการเปิดเผยเท่ากับสูญเสียความใหม่ จึงทำให้จดไม่ได้
ถ้าถามว่าเปิดเผยได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ลงรายละเอียดที่เป็นสำคัญ สามารถโต้แย้งและจดสิทธิบัตรได้ ถ้า pitch อย่างละเอียด จะมีประเด็นเรื่องความใหม่ทันที
การจดสิทธิบัตร ถ้ามีการโต้แย้งภายใน 3 เดือน สามารถรวบรวมหลักฐานในการโต้แย้ง เพื่อเพิกถอนสิทธิบัตรได้
การประกาศโฆษณาใน 18 เดือน ข้อมูลจะอยู่กับภาครัฐ ถ้าเรายื่นไปแล้ว มีเลขคำขอสิทธิบัตร เราก็สามารถเผยแพร่ได้ การคุ้มครอง คุ้มครองตั้งแต่วันที่เรายื่นขอสิทธิบัตรเลยนะ
ข้อยกเว้น ภ้าเจ้าของสิทธิบัตรเป็นคนเปิดเผยในการจัดแสดงนานาชาติ หรืองานของภาครัฐ จะจดสิทธิบัตรได้ภายใน 1 ปี ไม่เป็นการทำลายความใหม่
การจดทรัพย์สินทางปัญญาในไทย มี 3 แบบ คือ
1) สิทธิบัตรการประดิษฐ์ : คุ้มครอง 20 ปี
2) อนุสิทธิบัตร : คุ้มครอง 10 ปี โดยจากแบ่ง 6+2+2
3) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ : คุ้มครอง 10 ปี
6. ต่อจากข้อ 5 ถ้ามีคนอื่นนำไปจดแล้วมาฟ้องร้องสินค้าเรา จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
ตอบ : ถ้าเรานำงานที่จดสิทธิบัตรไป pitching คนอื่นไม่สามารถจดได้ เพราะการเปิดเผยคือการทำลายความใหม่ ถ้ามีปัญหาจริงๆ เก็บหลักฐานการแสดง เช่น ตอนไปจัดงาน ตอนไป pitching เพื่อโต้แย้งได้
7. ในเมื่องานแอป ทางกรมทรัพย์สินมองว่าเป็นลิขสิทธิ์แบบวรรณกรรม ไม่ต้องไปจด แล้วถ้าเกิดแบบข้อ 5 ขึ้นมา เราจะยืนยันได้อย่างไรว่าเป็นของเรา เพราะเท่าที่อ่านมา สามารถจดได้ แต่ไม่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ตอบ : ลิขสิทธิ์ คุ้มครองงานประเภท ศิลปะ วรรณกรรม วรรณคดี นวนิยาย งานเขียน เพลง ภาพและเสียง(น่าจะภาพยนตร์นะ) โปรแกรม ซึ่งคุ้มครองตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ ดังนั้นไม่ต้องไปจด
6. ต่อจากข้อ 5 ถ้ามีคนอื่นนำไปจดแล้วมาฟ้องร้องสินค้าเรา จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
ตอบ : ถ้าเรานำงานที่จดสิทธิบัตรไป pitching คนอื่นไม่สามารถจดได้ เพราะการเปิดเผยคือการทำลายความใหม่ ถ้ามีปัญหาจริงๆ เก็บหลักฐานการแสดง เช่น ตอนไปจัดงาน ตอนไป pitching เพื่อโต้แย้งได้
7. ในเมื่องานแอป ทางกรมทรัพย์สินมองว่าเป็นลิขสิทธิ์แบบวรรณกรรม ไม่ต้องไปจด แล้วถ้าเกิดแบบข้อ 5 ขึ้นมา เราจะยืนยันได้อย่างไรว่าเป็นของเรา เพราะเท่าที่อ่านมา สามารถจดได้ แต่ไม่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ตอบ : ลิขสิทธิ์ คุ้มครองงานประเภท ศิลปะ วรรณกรรม วรรณคดี นวนิยาย งานเขียน เพลง ภาพและเสียง(น่าจะภาพยนตร์นะ) โปรแกรม ซึ่งคุ้มครองตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ ดังนั้นไม่ต้องไปจด
ถ้าเราจะยืนยันว่างานนี้เป็นงานของเรา กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะมีระบบจดแจ้งลิขสิทธิ์ เราสามารถ submit งานของเราลงไปในระบบ ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะออกมาเป็นหนังสือจดแจ้งลิขสิทธิ สามารถเอาไปฟ้องร้องในศาลได้
8. ถ้าในงานเขียน ถ้ามีคนไปลอกทั้งดุ้น โดยที่เจ้าของงานไม่ได้รับทราบว่าจะนำมาใช้ แล้วคนลอกเคลมเป็นของตัวเอง เราสามารถฟ้องร้อง หรือจัดการได้ประมาณไหน
ตอบ : สามารถฟ้องร้องได้ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ ว่ามีการตีพิมพ์
8. ถ้าในงานเขียน ถ้ามีคนไปลอกทั้งดุ้น โดยที่เจ้าของงานไม่ได้รับทราบว่าจะนำมาใช้ แล้วคนลอกเคลมเป็นของตัวเอง เราสามารถฟ้องร้อง หรือจัดการได้ประมาณไหน
ตอบ : สามารถฟ้องร้องได้ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ ว่ามีการตีพิมพ์
ถ้าเป็นบทความในเว็บ ถ้ามีหลักฐานวันที่เรา publish ลง website สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ว่า อันนี้ไอเขียนก่อนนะ ยูเอาของไอไปลอก
(คนที่เจอปัญหานี้ส่วนใหญ่ ตอนแรกจะใจดี ลงเครดิตได้ไหม ถ้าไม่จบแนะนำฟ้องร้องไปเลยค่ะ แต่ส่วนใหญ่ขี้เกียจไปขึ้นศาลกันไง เคสนี้เป็นของอาจารย์เราเอง เจอบริษัท C&D ก็อปไปเป็นของตัวเอง แล้วหาว่าแก้ให้ไม่ได้ โพสนานแล้ว ทั้งๆที่ตัวเองเป็นเจ้าของเว็บ ถ้าสายโปรแกรมเมอร์จะรู้ดีว่าใคร อิอิ)
9. ในเรื่องข้อมูลที่นำไปทำแอปหรือเว็บไชต์ ข้อมูลแบบไหนที่เราสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์
ตอบ : มีความเสี่ยงในการละเมิดลิขสิทธิ์ในการนำรูปถ่าย บทความ ภาพและเสียง ของคนอื่นไปใช้ และสามารถถูกฟ้องร้องได้ ซึ่งถ้าภาพและเสียงก็จะได้จดหมายเตือนขอเก็บค่าลิขสิทธิ์
9. ในเรื่องข้อมูลที่นำไปทำแอปหรือเว็บไชต์ ข้อมูลแบบไหนที่เราสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์
ตอบ : มีความเสี่ยงในการละเมิดลิขสิทธิ์ในการนำรูปถ่าย บทความ ภาพและเสียง ของคนอื่นไปใช้ และสามารถถูกฟ้องร้องได้ ซึ่งถ้าภาพและเสียงก็จะได้จดหมายเตือนขอเก็บค่าลิขสิทธิ์
ดังนั้นควรใช้ open source ซึ่งได้รับการอนุญาติจากเจ้าของให้นำไปใช้ได้
10. ในกรณีที่เราทำ software ใหม่ โดย improve feature เดิมของ product ที่มีขายอยู่ให้ดีขึ้น และมี UI คล้ายๆตัวที่มีอยู่ในตลาดให้ดีขึ้น แบบนี้จะผิดในเรื่องลิขสิทธิไหมค่ะ
ตอบ : ลิขสิทธิ์จะคุ้มครองสื่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ ในที่นี้คือ UI (User Interface หน้าตาของแอป หน้าตาของโปรแกรม หน้าตาเว็บไชต์ บลาๆ) และ source code (คือส่วนที่ทำให้โปรแกรมทำงานได้) หรืออื่นๆที่สามารถเห็นได้
10. ในกรณีที่เราทำ software ใหม่ โดย improve feature เดิมของ product ที่มีขายอยู่ให้ดีขึ้น และมี UI คล้ายๆตัวที่มีอยู่ในตลาดให้ดีขึ้น แบบนี้จะผิดในเรื่องลิขสิทธิไหมค่ะ
ตอบ : ลิขสิทธิ์จะคุ้มครองสื่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ ในที่นี้คือ UI (User Interface หน้าตาของแอป หน้าตาของโปรแกรม หน้าตาเว็บไชต์ บลาๆ) และ source code (คือส่วนที่ทำให้โปรแกรมทำงานได้) หรืออื่นๆที่สามารถเห็นได้
ถ้าหน้าตาโปรแกรมคล้ายหันมากๆ มีความเสี่ยงสูง
ถ้าทำงานฟังก์ชั่นเดียวกัน แต่หน้าตาไม่เหมือนกัน คลายความเสี่ยงลง
ถ้า source code ไม่เหมือนกัน มีความเสี่ยงน้อย
ถ้า idea เดียวกัน แต่หน้าตา การทำงานไม่เหมือนกัน มีความเสี่ยงน้อย
11. จากข้อ 5 มีพี่คนนึงเขาเอาไป pitching แล้วทาง vc เจ้านึงเอาไปเปิดเองตัดหน้า แบบนี้จัดการได้ประมาณไหนค่ะ ในเมื่อมันมากกว่าเป็นไอเดีย คือ เขาทำกิจการอันนี้จริงๆ
ตอบ : ในการกรณีนี้ คือมีการ present ประกวดธุรกิจ หรือ pitching มีการนำเสนอ business model, idea, feature ประมาณนี้ ซึ่งปัญหานี้คุณศิริประภาบอกว่าเจอเยอะมากก ดังนั้นเราจึงต้องปกป้องตัวเองกันก่อน
11. จากข้อ 5 มีพี่คนนึงเขาเอาไป pitching แล้วทาง vc เจ้านึงเอาไปเปิดเองตัดหน้า แบบนี้จัดการได้ประมาณไหนค่ะ ในเมื่อมันมากกว่าเป็นไอเดีย คือ เขาทำกิจการอันนี้จริงๆ
ตอบ : ในการกรณีนี้ คือมีการ present ประกวดธุรกิจ หรือ pitching มีการนำเสนอ business model, idea, feature ประมาณนี้ ซึ่งปัญหานี้คุณศิริประภาบอกว่าเจอเยอะมากก ดังนั้นเราจึงต้องปกป้องตัวเองกันก่อน
แนวทางแก้ไข
1) มีการเซ็นสัญญา NDA (Non-Disclosure Agreement) เป็นสัญญาปกปิดความลับก่อน present หรือ pitching ผู้ที่ได้รับข้อมูล (ในที่นี้ก็คณะกรรมการการตัดสิน นักลงทุน) ห้ามนำไปเผยแพร่ หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ ใช้เฉพาะในการพิจารณาการลงทุนเท่านั้น
2) จดทะเบียนด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง หรือมีลิขสิทธิ์ เพื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าถูกลอกเลียนแบบได้
12. การที่แอปเพลงฟังเพลงได้แบบ streaming ถือว่าได้แก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ ใช่ไหมค่ะ
ตอบ : การ streaming ถือว่าเป็น gray area ถ้าใช้ในเชิงพาณิชย์และไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของ ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์
13. อยากทราบเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ กับ open data ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ : ถ้าเป็น open source สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์
12. การที่แอปเพลงฟังเพลงได้แบบ streaming ถือว่าได้แก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ ใช่ไหมค่ะ
ตอบ : การ streaming ถือว่าเป็น gray area ถ้าใช้ในเชิงพาณิชย์และไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าของ ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์
13. อยากทราบเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ กับ open data ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ : ถ้าเป็น open source สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ผิดลิขสิทธิ์
คำถามเพิ่มเติม ขอบอกว่า ดุเดือดมากๆ
1. ผู้บริโภคอย่างเราจะทราบได้อย่างไรว่า อันไหน original
ตอบ :
- สามารถเข้าไป search query สิทธิบัตรได้ที่ Espacenet
- แต่ละประเทศมีระยะการจดสิทธิบัตรไม่เหมือนกัน แล้วแต่ประเภทของ product ด้วย เช่น ยาจะคุ้มครองมากปีกว่า
- จดประเทศไหน คุ้มครองประเทศนั้น (ดังนั้นถ้าจดในไทยแล้ว จะไปเปิดตลาดต่างประเทศ อย่าลืมไปจดสิทธิบัตรก่อนนะ ไม่งั้นของเราจะกลายเป็นของปลอมทันทีในประเทศอื่นที่เราเปิดตลาดนะ)
- ในสหรัฐอเมริกาเขาจะมี database ในการตรวจสอบ ถ้ามีการประกาศโฆษณาสิทธิบัตรแล้ว
- ส่วนการจด PCP สามารถไปดูได้ที่ WIEO (อันนี้งงๆแหะ)
2. ในไทยสามารถจดสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ได้ไหม ในกรณีที่ทำ Machine learning, AI, สร้าง Algorithm ใหม่
ตอบ : ในไทยมองซอฟต์แวร์อยู่ใน พรบ.ลิขสิทธิ์ทั้งหมด ดังนั้นในไทยไม่สามารถจดได้ ที่สหรัฐอเมริกาสามารถจดตัวนี้ได้ แต่ต้องดูว่าคุ้มจดไหม ถ้าจะไปขายที่นั่นก็คุ้มจด
ถ้าเป็น Software + Hardware สามารถจดเป็นสิทธิบัตรได้ (อันนี้สาย Embedded System น่าจะโอเคอยู่) (Embedded System คือระบบสมองกลฝังตัว เราเขียน software เพื่อให้ hardware สามารถทำงานได้ตามต้องการ แบบง่ายๆก็เช่นมือถือเรานั่นแหละ ไกลตัวหน่อยก็เครื่องแลกเหรียญ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ไปจนถึงทีวี ตู้เย็น ประมาณนี้)
3. ถ้า Hardware ตัวนึง เขาไม่ได้ประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น open source นะ เรานำมา flash โปรแกรม (ภาษาชาวบ้าน คือ เขียนโปรแกรมลง hardware นั่นแหละ) แล้วนำไปดัดแปลงเป็นบริการในเชิงพาณิชย์ แบบนี้ถือว่ามีความเสี่ยงไหม
ตอบ : มีความเสี่ยงที่จะโดนฟ้อง
(เดี๋ยวนะค่ะ.................................... maker งานงอกหล่ะ ภาพในมโนของดิฉัน คือ บอร์ด Raspberry Pi กับ Arduino นะ แต่ Arduino เป็น open source ภายใต้ Creative Commons Attribution ShareAlike 3.0 นะ สงสัย Raspberry Pi แน่ๆ ในเว็บไม่ได้ประกาศชัดเจน เท่า Arduino นะ ถ้ามีบริการ เช่น นำ Raspberry Pi มาทำปริ๊นใบเสร็จงี้ โดนหรอ อันนี้งงจริง)
4. การพิสูจน์ source code ของ software A กับ B และ source code ถูกเข้ารหัส ไม่สามารถเห็น source code จริงได้ จะทำอย่างไร
ตอบ : นำหลักฐานที่สามารถเห็นได้เข้าไปในชั้นศาล
5. มีกระบวนการไกล่เกลี่ยของคดีทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่
ตอบ : มีการไกล่เกลี่ยในชั้นศาล ถ้ากรณีที่ทั้งสองฝ่ายยินดีเข้าร่วม โดยมี 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าต่างประเทศกลาง
ปล. คำถามเพิ่มเติมส่วนใหญ่มากจากคุณหมอนพ ส่วนคำถามคาใจช่วงแรกๆเป็นของน้องๆรุ่น 15 และอิฉันก็ไปเสริมเอาข้อท้ายๆ
กิจกรรมในวันนี้ผ่านไปอย่างรวดเร็วมากๆ ได้สาระอัดแน่นในการคลายข้อข้องใจกับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้นพวกเราจะต้องเติมพลังสมองก่อนกลับบ้าน ด้วยอาหารอร่อยๆจากร้านสีฟ้า คิดถึงสีฟ้าเวลาหิว บอกว่าเลยอาหารอร่อย ข้าวไข่ข้นกุ้งนี่โอเคเลยนะ แนะนำเมนูบะหมี่อัศวินและขนมจีบนะ อร่อยมากๆ
วันนี้ไม่มีรูปหมู่ มีแต่รูปอาหารต้องขออภัยจริงๆค่ะ ไม่มีใครชักภาพที่ระลึกเลย ถ้าเปิดอ่านตอนดึกก็ขออภัยจริงๆจากใจค่ะ ทิ้งท้ายด้วย ข้าวไข่ข้นกุ้ง สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ
ป้ายกำกับ: course & workshop
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก