นิทรรศการขนาดย่อม “3D Printing จุดเปลี่ยนงานออกแบบ"
นิทรรศการขนาดย่อม “3D Printing จุดเปลี่ยนงานออกแบบ”
วันนี้ - 15 ธันวาคม 2556 / 10.30 - 21.00 / ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ TCDC / ไม่เสียค่าใช้จ่าย
พบกับเทคโนโลยีก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในโลกแห่งการผลิตอย่าง ‘การพิมพ์สามมิติ’ ที่จะช่วยให้จุดบรรจบของการออกแบบและจินตนาการที่กว้างไกลเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้
------—----------------------------------------------
วันนี้เราได้ไปมาในเวลาหลังเลิกงาน (4 ธค 2556) ซึ่งเป็นนิทรรศการที่อยากไปดูมากๆ เพราะเราสนใจเทคโนโลยี 3D printing อยู่แล้ว เรารู้สึกว่ามันมหัศจรรย์มาก อยากได้ชิ้นงานแปลกๆอะไรก็ปริ้นออกมาได้เลย ไม่ต้องง้อใคร ถ้ามีความรู้ทางด้านไฟฟ้า ก็จะพอทำได้ มั้ง แหะๆ เจอเครื่องนี่ครั้งแรกที่ห้องแลปอาจารย์เซงคะ รู้สึกดีที่เครื่องนี้น่าจะทำได้เองโดยไม่เสียเงินมากมายในการซื้อเครื่องจากต่างประเทศ ตอนนั้นอาจารย์เซงใช้เครื่องนี้ทำวัสดุออกมาหลายชิ้นเลย โดยใช้พลาสติกเส้นเป็นตัวหมึก พิมพ์ชิ้นงาน 3 มิติออกมา พิมพ์ออกมาเป็น layer ทีละชั้น ทีละชั้น สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ จะออกมาเป็นชั้นๆด้วย เนื่องจากชั้นล่างๆจะเย็นตัวก่อน ในนิทรรศการนี้ จะไขปริศนาที่เราสงสัยได้
TCDC หรือ ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาความรู้ (องค์การเอกชน) ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม เปิดบริการ 10.30 - 21.00 ปิดทุกวันจันทร์ หาไม่ยากเลยคะ ขึ้นบันไดเลื่อนไปเจอ SF camera แล้วเดินอ้อมไปก็เจอแล้วคะ บางครั้งจะมีนิทรรศการด้านนอกด้วย วันนี้ไม่มีรู้สึกว่าพื้นที่ตรงนั้นโล่งมาก 55 เข้าไปด้านในเพื่อเข้าชมนิทรรศการนี้ ติดต่อเข้าชมที่ guru information ซึ่งเป็น counter ตรงห้องสมุดเพื่อการออกแบบ ติดต่อพี่เขา ใช้บัตรประชาชนในการรับบัตรผ่าน จากนั้นเอาไปผ่านประตูเพื่อเข้าไปภายในห้องสมุด ตัวนิทรรศการจะอยู่ซ้ายมือสุด ติดหน้าต่าง เห็นได้ชัดเจนเลยจ้าา
- 3D printing เริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดจากเครื่องปั่นด้าย ในสมัยนั้นต้องปั้นสินค้ามากๆเพื่อขาย ซึ่งผลผลิตที่ได้มาจะเป็นของที่เหมือนกันหมด ไม่มีเอกลักษณ์ของชิ้นงาน
- เครื่องพิมพ์ 3D เครื่องแรกถูกสร้างขึ้นในปี 1984 โดย 3D Systems Corp โดย Chuck Hull เป็นนักประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ 3D ที่ทันสมัยและเป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยีมาตรฐาน de facto ครั้งแรกที่บัญชีถูกตีพิมพ์จากการพิมพ์ในรูปแบบของแข็งถูกสร้างขึ้นในปี 1981 โดย Hideo Kodama จากสถาบันวิจัยนาโกยา เทคโนโลยีที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งแรกที่ตีพิมพ์บัญชีในระยะยาวการผลิตสารเติมแต่งหมายถึงเทคโนโลยีที่สร้างวัตถุผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนตามลำดับชั้น วัตถุที่มีการผลิตสารเติมแต่งสามารถใช้งานได้ที่ใดก็ได้ตลอดชีวิตของผลิตภัณฑ์ จากการผลิตก่อน เช่นการสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว การผลิตเต็มรูปแบบ นอกเหนือการใช้งานของเครื่องมือและการปรับแต่งหลังการผลิต ในการผลิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องจักรกล วิธีการลดการสร้างโดยเป็นวิธีการดั้งเดิม การลดระยะการผลิต การพัฒนาในปีที่ผ่านมาจะแตกต่างจากเทคนิคการผลิตใหม่ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าการผลิตได้รวมวิธีการที่เป็นพื้นฐานเพิ่มมาหลายศตวรรษ เช่น การรวมจาน,แผ่น, การตีขึ้นรูปและการกลึง การเชื่อม ไม่ได้รวมองค์ประกอบของเทคโนโลยีแบบจำลอง เครื่องจักร(การสร้างรูปแบบที่แน่นอนด้วยความแม่นยำสูง) จะได้รับการลดจากการเก็บและเปลี่ยนเป็นการโม่และบด
ที่มา : http://t.co/LuJZtGLCEa
- ขั้นตอนการ process : ใช้ CAD computer aided design เป็นขั้นตอนแรกในการเปลี่ยนจากแบบเป็นภาพเสมือน 3D ในจอ สามารถทำได้ 2 วิธีหลักๆ ได้แก่ manuality modeling การขึ้นฟอร์มทีละส่วน และ generative modeling ฟอร์มด้วยการสร้างชุดคำสั่ง โดยการใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ แล้วเข้าไปยัง program ทำ 3D printing ออกมา
- ขั้นตอนการพิมพ์ : สร้างไฟล์ .stl มาจากภาษา g-code จากนั้นกำหนดพิกัดของวัตถุตามแนวแกน x-y-z โดยความหนาแต่ละชั้น จะหนา 1mm.-100micron
- ขั้นตอนการตบแต่งผิว : ชิ้นงานที่ได้ออกมาจะไม่สมบูรณ์อยู่บ้าง ตามแต่วัสดุที่ใช้ เช่น พีพลาสติก จะมีรอยคล้ายเส้นใยแมงมุมขิงเศษพลาสนิกที่หลอมละลายอยู่ หรือผลไนลอน จะมีฝุ่นผงเป็นตัวคํ้ายันเกาะรอบชิ้นงาน ดังนั้น จึงต้องแต่งผิวให้พร้อมก่อนใช้งาน ทาสี เคลือบเงา/เคลือบสี เพื่อพร้อมในการใช้งาน และเพิ่มความแข็งแรงของวัสดุ
- 3D printing สามารถลงรายละเอียดของชิ้นงานได้มากกว่าสินค้าที่ผลิตจากโรงงาน มีการซื้อขายไฟล์ digital ของ 3D printing เช่น thingiverse.com และ shapeways.com สามารถ download ไฟล์สิ่งของเล็กๆไปยังสิ่งของใหญ่ๆเช่น บ้าน การคุ้มครองลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา อาจไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากถูกคุ้มครองตามกฏหมาย ดังกรณี iTune ที่มีการซื้อขายเพลงผ่านระบบดิจิตอน และในอนาคต อาจจะไม่มีการผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรมอีกต่อไป
- สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายในหลายๆด้าน เช่น ด้านอุตสาหกรรมเครื่องจักร ด้านเกษตรกรรม ด้านการทหาร ด้านอากาศยาน ด้านการแพทย์ เครื่องประดับ
ในนิทรรศการส่วนสุดท้ายนั้น จะพูดถึงในส่วนของ การสร้างเอกลักษณ์กับชิ้นงาน 3D printing โดยการนำวัสดุอื่นมาผสมผสานด้วย เช่นชิ้นงานโคมไฟนี้ จะมีส่วนนึงที่มาจากเครื่องปริ๊น 3 มิติ และตัวฐานสามารถใช้วัสดุอื่นตามแต่ต้องการได้
งานนี้จัดถึงวันที่ 15 ธันวาคมนี้เท่านั้น อีกไม่กี่วันหลังจากที่เราไปชมและลงบล็อกให้ได้อ่านกันนี้ ใครที่ชอบและอยากศึกษา 3D printing พลาดไม่ได้เลยนะคะ สำหรับวันนี้ สวัสดีคะ :)
ในนิทรรศการส่วนสุดท้ายนั้น จะพูดถึงในส่วนของ การสร้างเอกลักษณ์กับชิ้นงาน 3D printing โดยการนำวัสดุอื่นมาผสมผสานด้วย เช่นชิ้นงานโคมไฟนี้ จะมีส่วนนึงที่มาจากเครื่องปริ๊น 3 มิติ และตัวฐานสามารถใช้วัสดุอื่นตามแต่ต้องการได้
และสุดท้าย เมืองในอนาคต เราต้องการอะไร เราก็ปริ๊นออกมาใช้งานเองได้เลย
งานนี้จัดถึงวันที่ 15 ธันวาคมนี้เท่านั้น อีกไม่กี่วันหลังจากที่เราไปชมและลงบล็อกให้ได้อ่านกันนี้ ใครที่ชอบและอยากศึกษา 3D printing พลาดไม่ได้เลยนะคะ สำหรับวันนี้ สวัสดีคะ :)
ป้ายกำกับ: lifestyle
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก