วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มาร่วมแหกเมืองกับป้ายุพินที่งาน Bangkok Urban Hack Day จ้าา

สวัสดีทุกท่าน หลังจากที่แหกเมืองจนเหน็ดเหนื่อย และนั่งทำงานอย่างงงๆหลังจบงาน
และพบว่ายังมีโปรเจกแอปส่วนตัว ร่างข้อเสนอโครงการที่เรียนหลักสูตรนวัตกรรมที่ยังไม่ได้ทำ เรียนก็กลัวไม่ทันอีก เอ้าาา ดองบล็อกกันเข้าไป #พื้นที่โวยวาย ดังนั้นจึงเขียนเรื่องนี้ก่อนเนอะ ว่าสามวันเราได้อะไรจากงานนี้บ้างเนอะ

ก่อนอื่น เราทราบข่าวงานนี้ได้อย่างไร และทำไมถึงสมัครงานนี้
ทราบมาจากเพจ TCDC Connect นั่นแหละ ว่ามีงานนี้อยู่ บวกกับปีก่อนเอาแอป BKroute ไปแข่งด้วย แต่เรายังไม่มี data รถเมล์มากพอมาทำ เลยลองลงงานนี้ดู อีกอย่างเราคิดว่าปีนี้น่าจะลองเข้างานแฮกดูบ้าง สักงานนึงต่อปีอะไรงี้ (ปีก่อนเห็นน้องท่านนึงเข้าไป ดูสนุกดี น่าจะท้าทายความสามารถ)

แล้วสมัครยังไง ยากหรือเปล่า
คือเรากรอกใบสมัครไป เหมือนคุยกับป้ายุพิน ป้าเขาน่ารักมากกกกกกกกกกก คุยสนุกเหมือนเพื่อนๆที่มีอายุมากกว่าเรางี้ ก็กรอกชื่อแซ่ อีเมลล์ เบอร์โทร อะไรไป มีคำถามว่าสนใจด้านไหน มันจะมี 5 ด้าน จริงๆสนใจเรื่องผู้สูงวัยด้วย แต่ด้วยหัวข้อพื้นที่สาธารณะมันค่อนข้างยาก ดังนั้นเลยลงเรื่องระบบขนส่งมวลชนไป ก็บอกไปว่าไอเดียเราคืออะไร เราเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นให้ป้าฟังหมดเลยว่าพรีเซนต์รอบแรกงานเถ้าแก่น้อยปีก่อนเราเจออะไรบ้าง เล่าว่าอยากทำอะไร ประมาณนี้ ตอนแรกจะลากเพื่อนมาด้วย แต่ โพสลงไลน์แล้วแมร่งเงียบกัน เออไปคนเดียวก็ได้นะพวกผู้ชายใจร้ายยยยยย
แล้วสาวหล่ะๆ ไม่ชวนหรอ
สาวๆ ไม่สนใจอยู่แล้วแหละ สนใจแต่เรื่องกิน 555

แล้วตอนประกาศผลหล่ะ ตื่นเต้นไหม
เขาหมดเขตวันที่ 20 มั้ง ประกาศวันศุกร์ 22 แล้วทั้งเพจ TCDC Connect เพจป้ายุพินคือเงียบบบ =_=
ดีที่วันเสาร์ป้าโพสว่า คนส่งมาเยอะมว๊ากกกกกก มากเกินที่คาดคิด เลยใช้เวลานานหน่อย คิดในใจ ตูจะได้ไหม ไม่ได้ไม่เป็นไรเนอะ นอนอยู่บ้าน เอ้ยยย นั่งเรียนหลักสูตรทางไกลไปแล้วกัน
สารภาพสิ วันเสาร์หล่อนไปทำอะไรมา
วันเสาร์ไปหาของกินที่สยามกับอิเพื่อนผู้ชายข้างต้นนั่นแหละ เห็นโพสตอนเย็น

พอสิบโมงกว่าวันอาทิตย์ มีคนโทรมา ในใจอินี่แบบใครโทรมากันวันอาทิตย์ เบอร์ไม่คุ้น รับไป ปลายสายเป็นพี่ผู้หญิง บอกว่าเราได้รับเลือกให้ร่วมงานนี้ พร้อมกับถามว่าเข้าร่วมทั้งสามวันสะดวกไหม จากนั้นพี่เขาบอกว่าจะส่งรายละเอียดทั้งจ่ายเงินมัดจำ และกำหนดการในอีเมลล์

จากนั้นทำไงต่อ
โอนเงินมัดจำวันจันทร์ เพราะหมดเขตวันอังคาร จากนั้นเตรียมใจ คืองานเยอะเลยไม่ได้เตรียมตัวอะไร จากนั้นวันพฤหัสอีเวนท์ใน facebook ก็โพสข้อมูลที่อาจจะต้องใช้บางส่วน แล้วก็เคลียร์งานให้เสร็จ จะได้เดินไปที่งานทัน

งั้นมาเล่าบรรยากาศวันแรกกันดีกว่าาเนอะ (วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559)

พูดถึงการมา TCDC ไม่ยากเลย มีบางท่านเพิ่งเคยมาครั้งแรก ง่ายๆทำยังไงก็ได้ให้มาถึงเอ็มโพเรียม จากนั้นขึ้นบันไดเลื่อนหรือขึ้นลิฟต์มาชั้น 4 แล้วเดินขึ้นไปที่ชั้นโรงหนัง อยู่แถวๆโรงหนังนี่แหละ หาไม่ยากเลย ช่วงนี้มีนิทรรศการอุตสาฮากรรม ซึ่งตอนนี้ติดสติ๊กเกอร์ป้ายทางเข้าแล้ว หลังจากเกือบไม่ได้เข้านึกว่าปิด เรียกว่า UX ไม่ดี 555 ซึ่งจะเขียนถึงภายหลังเนอะ



เริ่มลงทะเบียน 5 โมงเย็น ที่หน้า TCDC คะ ซึ่งสถานที่จัดงานนี้ จัดที่ห้องออดิทอเรี่ยม 1 ของที่นี่
ในใบสมัครมีแบ่งเป็นสมัครแบบเดี่ยวกับแบบทีม และแบ่งย่อยเป็นบุคคล 3 กลุ่ม คือ สีฟ้า โปรแกรมเมอร์ สีม่วง ดีไซเนอร์ และสีเหลือง มาร์เก็ตติ้งและนักคิด ซึ่งเราสมัครแบบเดี่ยว สายโปรแกรมมิ่งไป จะได้ป้ายมาติดทั้งสามวัน แบบนี้


การมาห้องออดิทอเรี่ยม เดินเข้าไปในส่วนของห้องสมุด ปกติเวลามีนิทรรศการอะไรที่นี่แล้วเราไม่ได้เป็นสมาชิก ต้องไปขอบัตรผ่านหน้าเคาท์เตอร์ แต่คราวนี้ เราเป็นบุคคลวีไอพีเลยก็ว่าได้ ติดบัตรงานนี้ เราก็สามารถเข้าไปในส่วนของห้องสมุดได้อย่างสบายใจทั้งสามวันเต็มเลยหล่ะ ห้องที่จัดงาน อยู่ด้านขวา หลังชั้นหนังสือ ที่สำคัญ มีห้องนํ้าอยู่แถวนั้นด้วย แต่กระเป๋าที่ใหญ่เกินกระดาษเอโฟร์ เข้าไม่ได้นะจ๊ะ ต้องฝากกระเป๋า และถ่ายสัมภาระที่จำเป็น เพื่อเอาเข้าไปด้านใน ทั้งสามวันเช่นกัน


เข้ามาแบบงงๆ มีอาหารว่างให้ทานหลังห้อง พี่ๆก็จัดเตรียมงานและดูแลสารทุกข์สุกดิบเป็นอย่างดี อาหารไม่หมดก็เติม ที่สำคัญ มีไวไฟฟรีให้ใช้ตลอดงานด้วยนะเออ




ถึงเวลาหกโมงเย็น อันเป็นเวลาเริ่มเปิดงาน และฟังบรรยายจากผู้มีประสบการณ์จริงในการพัฒนาเมือง ซึ่งเราเองไม่ได้ถ่ายรูปมา เพราะด้านหน้าคนเยอะ คิดว่าตั้งใจฟังเก็บสาระสำคัญ และนำรูปสวยๆจากพี่ช่างภาพในงานมาลงดีกว่า
(ไปๆมาๆต้องมาดูดรูปจากในเพจป้ายุพินแทน นึกว่ามีรูปสวยๆให้ดูดจากเพจเหมือนของ NIA ซะอีก แง)
(เราเริ่มเขียนอันล่างก่อน งั้นแปะโพสจากเพจยุพินแล้วกันโนะ)

ช่วงแรกพี่แต๊กผู้เป็นพิธีกร กล่าวนำถึงงานนี้ มีสองอันที่เราต้องคิด คือ แก้ปัญหาเมืองอะไร และใช้นวัตกรรมอะไรแก้ปัญหา

ตอนแรก ทีมงานเล่าถึงที่มาที่ไปของยุพิน และงานนี้ ซึ่งพี่ๆทีมงาน จะติดป้ายสีม่วงนะจ๊ะ เขาตั้งเป้าว่าก่อนงานนี้ จะมี 500 พิน วันงานเหลือประมาณ 30 จึงจะครบจำนวนที่ตั้งเป้า

เอ้ออออ บางคนไม่รู้จักว่า ยุพินคืออะไร ยุพินมาจากกลุ่มเพื่อนที่รวมตัวกัน เพื่อพัฒนากรุงเทพของเรานั่นแหละ มีแรงบันดาลใจจากสายด่วน 1555 นี่แหละ อันนี้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางเท้า ขยะ ป้ายรถเมล์ ซึ่งเป็น open data นั่นเอง สามารถนำข้อมูลไปประมวณผลได้ และนำไปสร้างนวัตกรรมได้ ถามว่านอกจากยุพินแล้ว มีอันไหนอีก มี data.go.th หรือ crown-source data อื่นๆที่คล้ายๆยุพินนี่แหละ ถ้าเราสนใจสามารถเข้าร่วมทีมได้นะ ตามด้านล่างสุดเลย บริการที่เปิดให้ใช้ มี web app กับ chatbot facebook ที่เพจยุพิน



จากนั้นทาง EGA ก็มากล่าวเปิดงาน ในฐานะเจ้าภาพ ส่วนตัวแอบน่าเบือนิดนึง สรุปใจความดังนี้
- แก้ไขปัญหา เสนอแนวทาง ค้นหาแนวคิด
- สร้างชุมชนผู้ใช้ข้อมูล โดยเราสามารถนำข้อมูลจากภาครัฐมาใช้
- open data เป็นส่วนนึงของแผน digital economy คาดหวังว่าจะมีทั้งหมด 600 ชุดข้อมูลในปีนี้ สามารถนำข้อมูลไปสร้างแอป สร้าง ecosystem ของ open data

และเจ้าบ้าน TCDC มากล่าวเปิดงาน
- พูดถึงการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
- servvice design เอาไปประยุกต์ใช้งาน หลุดจากกรอบเดิมๆที่เคยใช้มา ใช้ได้ทุกสาย ซึ่งมีอบรมในวันที่สอง



จากนั้นพี่พิธีกรแจ้งรายละเอียดต่างๆของงาน คือให้จับกลุ่มตามหัวข้อที่สนใจ (จำนวนกลุ่มละ 2-4 คน มีทั้ง programmer designer marketing ให้ครบ อันนี้ทราบวันที่สองแบบละเอียด) ซึ่งแปะไว้ที่ผนังนั่นแหละ การทำงาน เริ่มจากมีไอเดียคร่าวๆก่อน จากนั้นมีการทำ mock-up และ present ให้ทุกท่านได้เข้าชมและกรรมการลงคะแนน เป็นอันจบ

มีผู้ชนะได้รางวัล 3 ทีม ได้ทุน 10000 บาท เพื่อทำงานให้เสร็จ และรับเงินเพิ่มอีก 20000 บาท ซึ่งสามารถใช้ Ma:D เป็นที่ทำงานของทีมได้ฟรี และทุกคน ได้บัตรสมาชิก TCDC เจริญกรุงฟรี 1 ปี ซึ่งเปิดปีหน้า เผยแพร่ข้อมูลโปรเจกของเราที่ data.go.th นิตยการ way magazine และเว็บไซต์ TCDC Connect ของชำร่วยจาก TCDC และ UNDP มีจัดแสดงผลงานที่ TCDC วันที่ 9-21 สิงหาคม (รายละเอียดระหว่างเขียนบล็อก คือ เขาให้แต่ละทีมไปจัดวันที่ 8 แล้วที่เหลือปล่อยให้คนมาดู) The Reading Room ในเดือนกันยายน และงาน Open Data Thailand ในเดือนตุลาคม (ยังไม่ทราบวัน) และถ้าอาจจะได้เครดิตเป็นผู้พัฒนายุพิน ถ้านำยุพินไปใช้

และแล้วได้เวลา เจาะเมือง 5 ด้าน ( Mentor Session) เพื่อให้เห็นภาพเชิงลึกในแต่ละประเด็น เราจะสรุปย่อที่แต่ละท่านนำเสนอ โดย session แรก ด้านการเดินทาง ระบบขนส่ง ถนน ทางเท้า

คุณอธิบดีเขมะประสิทธิ์ SmartVC
- บ้านเรามีรถเมล์มาแล้ว รวมปีนี้ เป็นปีที่ 41 แล้วนะจ๊ะ
- ปัจจัยสำคัญที่คุณตี้มอง ในการดำรงชีวิต คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร และการเดินทาง
- ป้ายรถเมล์มี 3 ประเภท คือ ป้ายที่รถเมล์จอดตรงป้าย มีป้ายแต่รถไม่จอด และป้ายผี ไม่มีป้ายแต่รถจอด อันนี้ยกกรณีของมหาวิทยาศิลปากรมา เหมือนนักศึกษากับคนขับเขารู้กันว่าจอดนี่ มีอีกแบบคือจอดไกลไป 500 เมตร ต้องถอดจิตไปถึงจะได้ขึ้นรถเมล์
จากโฟกัสกรุ๊ป คุณตี้เจอปัญหาหลายอย่างในการทำมากๆ และที่บรรยายมี pain เหมือนเราตอนที่ทำแอป BKroute นั่นแหละ เราเข้าใจดี ที่เราจำได้ คือ ผู้ประกอบการบางคนมองคนขึ้นรถเมล์เป็นคนจน เลยไม่ลงโฆษณา ไปจนถึงไม่ให้วิ่งผ่านหน้าหมู่บ้าน ปัญหาเรื่อง GPS ที่ติดเพิ่ม หรือบนรถมี แต่เขาไม่ยอมให้ใช้ เพราะรถคันนึงวิ่งหลายสาย เช่น ตอนเช้าวิ่งสายเอ ตอนเย็นสายบีขาดระยะ คันนี้เป็นสายบีแทน ซึ่งเป็นเหตุการณ์สมมุติที่เราเขียนเองแหละ ประมาณนี้

คุณยรรยง บุญ-หลง โครงการศึกษา Hybrid canal rail transit connectivity
- ชอบสไลด์อาจารย์มากคะ มีรูปประกอบเป็นหลักเป็นการ เข้าใจง่าย แปปเดียวอาจารย์บรรยายจบแล้ว
- รู้จักรถ BRT กันเนอะ อาจารย์บอกว่า รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นระบบ BRT ที่เร็วที่สุดในโลก ยิ่งระยะทางยาว ยิ่งได้เปรียบ เพราะรถยนต์หรือใหญ่กว่าติด
- แผงลอยกลางคืนเป็นสิ่งที่อาจารย์สนใจ ย่านสีลมและอื่นๆตอนกลางคืน เขาจะเข็นรถเข็นและมาตั้งร้นาขายของกัน ส่วนใหญ่เป็นร้านเสื้อผ้า กลายเป็นอีกเมืองนึงไปเลย
- TruxMap เป็นแอปบอกว่ารถขายคาโกในประเทศเม็กซีโก อยู่ตรงไหน จะได้ซื้อกินได้
- เรือคลองแสนแสบบ้านเรา มีความพิเศษกว่าที่อื่น ที่อื่นเขาต่อแถวขึ้นทางเดียว แต่ที่นี่ สามารถเข้าด้านข้าง กี่แถวไม่รู้ แต่เข้าด้านข้างนั่นแหละ
- อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ท่านนึง ทำโปรแกรม town and transit toolbox เป็นอัลกอริทึ่มที่บอกว่า จุดไหนในกรุงเทพ ที่เข้าถึงขนส่งมวลชนมากที่สุด ถ้ามากสุดจะเป็นพื้นที่ขาวๆ ซึ่งสุขุสวิทชนะเลิศสิคะ

สิ่งที่ทั้งสองท่านฝากให้ไปคิด
*จะอยู่แบบไม่มีรถยนต์ได้อย่างไร
* เพิ่มการเชื่อมต่อเมืองให้มากขึ้นยังไง



session ที่สอง ด้านการออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design) เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ
โดยคุณนัฏฏ์ เนติวร National Democratic Institute
- กรุงเทพมหานครของเรา มีทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็น 6 โซน มีประชาชน 5.7 ล้านคน แต่พื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 69 ของประเทศ คือเล็กนั่นแหละ เห็นเลยว่ามันแออัดขนาดไหน
- รูปแบบชุมชนตามทางกายภาพ แบ่งเป็น ชุมชนแออัด ชุมชนเมือง ชานเมือง เคหะชุมชน บ้านจัดสรร และคอนโด แต่สำนักงานเขตเขาแบ่งง่ายกว่านั้น คือ ชุมชนจดทะเบียน มีจำนวนน้อย และชุมชนไม่จดทะเบียน ดังนั้นส่วนต่างเยอะมาก
- NDI ที่พี่เขาทำงานอยู่ ทำอะไร ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในด้านประชาธิปไตย ให้คนพื้นที่เข้าใจถึงสิทธิที่เขามี และเน้นการมีส่วนร่วม จัดกิจกรรมมาหลายงายน เช่น เปิดเวทีให้เยาวชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนที่อยู่ ดังนั้นปลอดภัยจากการเมืองแน่นอน ดังนั้นอย่าตกใจที่ชื่อหน่วยงานเนอะ
- เราเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มี 14.9% ประมาณ 10 ล้านคน สิ่งที่เขาต้องการ คาดหวัง จากการลงพื้นที่ คือ ตอบสนองปัจจุย 4 และสวัสดิการรัฐ
- ด้วยความที่พี่เขาทำงานตลอด เสาร์อาทิตย์ก็ด้วย วันนึงพี่เขาโดนบังคับให้หยุดพักผ่อน พี่เขาเลยเดินไปบางรัก เห็นคนแก่แถวนั้นเยอะแยะเลย เปิดร้านขายของอะไรงี้ อยู่แบบเหงาๆ พอไปถึงอนุเสาวรีย์พบความตื่นเต้นอย่างนึง (ไม่แน่ใจว่าเราพูดแบบนี้ถูกไหม) คืออาจุมม่าท่านนึง ขึ้นรถเมล์ ถ้ารถจอดเทียบทางเข้าเขาจะขึ้นได้ แต่ถ้าจอดไม่ชิด กลายเป็นว่าเขาต้องปีนบันไดขึ้นไป รถบางคันที่นั่งสามคนด้านหน้า ก็ดันปีนบันไดอีก ป้าแกถึงจะได้นั่ง มองว่าเป็น UX ที่ไม่ดีสำหรับคนแก่



session ที่สาม ด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อม เช่น ต้นไม้พื้นที่สีเขียว

คุณศิระ ลีปิพัฒนวิทย์มูลนิธิโลกสีเขียว
- พี่เขาไม่ได้เตรียมสไลด์มาครบทุกเรื่อง เลยเปิดกูเกิ้ลนักสืบสายนํ้าให้พวกเราดูพร้อมบรรยาย เราต้องคิดว่าอันนี้เกี่ยวกับอะไร น่าจะเดาได้ไม่ยากเนอะ
- หน่วยงานนี้ปลูกฝังกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ นักสิบสายนํ้า ให้ความรู้และเครื่องมือ เพื่อสามารถตรวจวัดคุณภาพนํ้าได้เอง ของแบบนี้ต้องให้ความรู้แก่เด็กๆเพื่อสร้างจิตสำนึกเนอะ และนักสืบสายลม วัดคุณภาพอากาศจากไลเค็น กรุงเทพเราเมื่อก่อนเคยมีไลเค็นดี ตอนนี้ไม่มี หายากกว่าโปแกม่อนอีก (อันนี้เราเปรียบเทียบเอง) เพราะอะไร รถเยอะ ทำให้รถติด ปล่อยควันเสียเยอะ อากาศเลยไม่ดี ตรงนี้เราสามารถโวยวายว่าใครที่เป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียได้
- โครงการ ปั่นเมือง ตอนนี้จักรยานบูมแล้ว และปีก่อนพีคมากๆจากกิจกรรม bike for mom กับ bike for dad หลังจากมีกระแสคนปั่นจักรยานมาสองปี แต่จะคงระดับความพีคได้ ขึ้นอยู่กับระบบ และมีกิจกรรมนักสืบจักรยานด้วยนะ คล้ายๆยุพิน เจออะไรถ่ายรูปรายงานส่งได้ เช่น ท่อระบายนํ้าแตก

คุณอนันตา อินทราอักษร เครือข่ายต้นไม้ในเมือง
- เมื่อก่อนตรง Emquartier ณ ปัจจุบัน เคยมีต้นไม้ใหญ่อายุกว่าร้อยปีอยู่ตรงนั้น ทาง big tree project ได้ทำแคมเปญรณรงค์ สุดท้ายเราหาต้นไม่ต้นนั้นเจอไหมคะ (ไม่เจอหล่ะสิ เราเพิ่งรู้ว่ามีเหตุการณ์นี้ด้วย)
- สาเหตุส่วนนึง คือ การบังคับใช้กฏหมายที่ไม่เข้มข้นพอ หลังจากเหตุการณ์นั้น มี พรบ.คุ้มครองต้นไม้ใหญ่ออกมา
- ทาง big tree project มีกิจกรรมการรักษาต้นไม้อย่างต่อเนื่อง เช่น อุโมงต้นไม้ ถ่ายรูปต้นไม้ใหญ่ เพื่อตะหนักในการมีอยู่ของต้นไม้



session ที่สี่ ด้านชุมชนและการมีส่วนร่วม เช่น การอนุรักษ์อาคารเก่าในชุมชน

คุณอาทิตย์ โกวิทวรางกูร ตัวแทนเครือข่ายมักกะสัน
- เอาจริงๆเราลืมเร่องนี้ไปแล้ว ดังอยู่พักนึง จำได้ว่ามีตบตีกับภาครัฐอยู่
- ภาครัฐผูกขาดการตัดสินใจของคนในพื้นที่ รัฐบาล คสช ก็จะสร้างมักกะสันคอมเพล็ก เลยแบบเออชั้นเอาอันนี้ ที่แกขอก็ให้นะ เหมือนมาครึ่งทางเนอะ เหมือนจะดี แต่ถามคนในพื้นที่หรือยังว่าจะยอมไหม เพราะเขามีข้อเสนอจากคนในพื้นที่อยู่
- พื้นที่มักกะสันค่อนข้างหลายหลาก ทั้งตึกเก่า ชุมชน มีกิจกรรมอีเว้นท์อยู่ตรงนั้นบ้าง เพื่อให้คนมีส่วนร่วมมากขึ้น

คุณยศพล บุญสม ตัวแทน Friend of River
- ตอนนั้นที่กรุงเทพเรานํ้าท่วม ตรงฝั่งแม่นํ้าเขาทำคันกั้นนํ้าสูง สูงจนไม่เห็นวิวแม่นํ้าฝั่งตรงข้ามอีกต่อไป ป้าท่านนึงบอกว่าที่ยอมให้ทำ เพราะกลัวจะนํ้าท่วมกัน
- จนตอนนี้ คันกั้นนํ้ายังอยู่เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมีโครงการสร้างตอม่อทางเดินบนแม่นํ้า ดังนั้นวิวแม่นํ้ากรุงเทพ จะยิ่งไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ดังนั้นเขาจะยับยั้งไม่ให้โครงการนี้เกิดขึ้น เพราะส่งผลกระทบต่อคนที่อาศัยอยู่ริมแม่นํ้า
- วิวแม่นํ้าตอนนี้ กลายเป็นต้องเสียเงินซื้อสินค้า ไม่สิเสียเงินเข้าร้านอาหารแห่งนึงตรงข้ามวัดโพธิ์ เพื่อได้ทานอาหารและเห็นวิวสวยๆริมแม่นํ้า ดังนั้นวิวแม่นํ้าฟรีไม่มีแล้ว ซึ่งใครๆก็สามารถเข้ามาดูวิวได้ ไม่ใชแบบนี้ (หาเอาแล้วกันเนอะว่าร้านไหน เห็นพักนึงคนไปเยอะอยู่)

สิ่งที่ทั้งสองท่านฝาก
- crown-source ช่วยรณรงค์
- ข้อมูลที่ช่วยประกอบการตัดสินใจ ทำให้คนเข้าใจในพื้นที่กันมากขึ้น



session ที่ 5 สุดท้ายแล้ว กับด้านผังเมืองและการจัดสรรพื้นที่

คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ศูนย์พัฒนาและออกแบบเมือง UDDC
- แต่ละเมืองมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง นั่นคือปัญหาของประเทศเอ จะใช้กับประเทศบีไม่ได้ (นวัตกรรมก็เช่นกัน เราพูดเอง)
- บ้านเรายังขาดกลไกบางอย่าง คือขาดคนหลาง การเงิน และการประชาสัมพันธ์
- ออฟฟิค UDDC อยู่ที่สยาม (ก็เป็นหน่วยงานในจุฬานี่แหละ) หน้าสยามสแควร์วันมีความประหลาดอย่างนึง ยามปล่อยให้รถไป ไม่ปล่อยให้คนเดินข้ามถนนเลย ดังนั้นคนได้ข้ามเลยวิ่งๆ ทั้งๆที่ระยะทางข้ามมันสั้น
- มีโครงการ goodwall เดินดี
- กรุงเทพเป็นแหล่งรวมปัญหา เท่ากับว่าเป็นแหล่งรวมข้อมูลด้วย



แต่ด้วยความที่วิทยากรเยอะ และมีไฟที่จะเล่าเรื่องต่างๆให้เราเอาไปคิดโปรเจกในงาน เราก็คิดแหละ มันจะทันหรือ เออไม่ทันจริงๆด้วย ดังนั้น ที่จะแบ่งกลุ่มตามหัวข้อที่สนใจตอนสองทุ่ม จึง ย้ายไปเป็นวันเสาร์แทน เลยกลายเป็นโฟกัสกรุ๊ปปัญหาที่เขาเจอว่าเราจะเอาไปแก้มันยังไง เพราะว่าทาง TCDC เจ้าของสถานที่ ปิดทำการสามทุ่ม (ห้างปิดสี่ทุ่ม) ดังนั้นต้องเคลียร์คนออกตามระเบียบ แต่ยังดีที่ขยายเวลาถึงสามทุ่มสิบห้า สภาพเราดูง่วงมาก เราไปฟังโฟกัสกรุ๊ปจากพี่ตี้ smart vc เขาเจอปัญหามาเยอะมาก เกี่ยวกับการทำงานด้านรถเมล์ เหมือนแอบเซ็ตทีมย่อยๆเหมือนกัน แอบมีเสนอไอเดียบ้าง

วันที่สอง (วันเสาร์ 30 กรกฎาคม 2559) เรามาเลทไปอี๊กกกก
แยกมไหนรก เอ้ยย มไหสวรรค์รถติดเหลือเกิน เลยถึงสิบโมงครึ่ง เดินมาลงทะเบียน ฝากกระเป๋า เข้าห้อง เอ๋อแดกเลย พี่สาวคนสวยเขากำลังบรรยายอยู่ ฮือออพลาดช่วงแรกเลย กิจกรรมในเช้าวันเสาร์คือ พี่ภิรญา รวงผึ้งทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบริการจาก TCDC มาพูดเรื่อง design thinking กับ service design พี่แกดัน assume ว่าทั้งหมดเป็นสาย design หล่ะสิ ดีที่เราเคยอ่าน workbook ของ TCDC มาบ้าง



พี่เขาบอกว่า design thinking และ service design ทำให้ทุกคนสามารถออกแบบบริการได้ และตอบโจทย์ผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นสายไหนก็สามารถนำไปใช้ได้



5 principles of design thinking
1. user center ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
2. co-creative ช่วยกันคิด
3. sequencing เรียงลำดับขั้นตอนการทำ
4. evidencing เช่น การพับทิชชู่เป็นสามเหลี่ยมในห้องนํ้า เป็นวิธีที่ทุกคนรู้ว่า ห้องนํ้าได้ถูกทำความสะอาดแล้ว
5. holistic คิดครอบคลุมทุกด้าน

service design process มี 3 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนทำซํ้าได้

แต่ละขั้นตอนของ service design process สามารถทำซํ้าได้
phase 1. exploration การสำรวจและเก็บข้อมูล เราต้องเก็บข้อมูลให้มากที่สุด มีแนวทางการปฎิบัติดังนี้
- การออกแบที่ดี มาจากโจทย์ที่ดีเสมอ ดังนั้นเราจะได้ insights ของผู้ใช้ จากการเก็บข้อมูลเชิงลึก ว่าปัญหาเกิดจากอะไร เช่น พี่ท่านนึงนั่งรถไฟจากอยุธยามาทำงานที่กรุงเทพ (เคสนี้คุ้นๆเหมือนพี่ที่ออฟฟิคเราเลย)
- learn, look, ask, try
learn ทำ desk research
look ทำ fiels research
ask ทำการสัมภาษณ์หรือ questionare อาจจะไม่เพียงพอ
try ลงพื้นที่เพื่อไปลองใช้บริการเอง
tool ที่ใช้ มี 2 อัน คือ persona สร้างตัวละครสมมุติ เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่เราจะออกแบบบริการให้ และ customer genery เป็นตารางใหญ่ๆอันนึง เราไม่ได้ถ่ายมา มีโจทย์ คือ TCDC นี่แหละ จะระบุตอนที่มาก็ไม่เพียงพอ เลยแบ่งเป็น pre-service ก่อนที่เราจะมาที่นี่ อาจจะมีการ awareness ให้คนรู้จักที่นี่ consider มีการตัดสินใจว่าจะไป prepare เตรียมตัวไป พอมาเราถึงที่นี่จะเป็นในส่วน service และพอเรากลับจะเป็นส่วน post โดยระบุว่าแต่ละอันมีปัญหาอะไร ตรงไหน เราจะแก้ยังไง

phase 2. creation สร้างแนวคิดการบริการ และคัดกรองแนวคิดที่เป็นไปได้ที่สุด

phase 3. implementation ทำให้เกิดขึ้นจริง โดยสร้างให้เกิดหลายๆแนวทางเพื่อทดสอบ และเอาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดมาทำ

ตัวอย่างการทำ persona สร้างตัวละครสมมุติของกลุ่มเป้าหมาย ในที่นี่คือพี่ท่านนึงใน TCDC ในเรื่องของการท่องเที่ยว
ก่อนจบการบรรยาย พี่เขาแนะนำหนังสือที่อ่านเพิ่มเติม คือ service design workbook มีให้โหลดฟรีหรือไปขอเจ้าหน้าที่ที่ TCDC ก็ได้ และหนังสือ this is service design thinking เหมือนจะเห็นแว่บๆแบบไม่แน่ใจว่ามีแปลไทยแล้วหรือยัง อาจจะไปซื่อที่ร้านหนังสืออย่าง asia book หรือ คิโน ก็ได้

หลังจากการบรรยายก็ได้แบ่งกลุ่มตามที่คุย focus group เมื่อวาน ของคนที่สนใจเรื่องระบบขนส่งมวลชน สรุปสุดท้ายแบ่งเป็นสองทีม คือทีมที่ทำ one-day-trip เดินทางด้วยขนส่งมวลชนไปยัสถานที่ต่างๆ (คล้ายเป็นหนึ่งใน feature ของ bkroute ที่หา location ต้นทางจากเครื่อง ไปยังปลายทางนั่นแหละ) กับทีมที่เราอยู่ ทำเกี่ยวกับรถเมล์ แต่เป็นการเก็บข้อมูลผู้ใช้ เพื่อนำข้อมูลไปคำนวณหาเวลาการรอรถ ไปๆมาๆเป็น facebook chatbot นามว่า คุณลุงสุขุม ซึ่งไม่ใช่คนที่ใส่เสื้อเชิ้ตฟ้าๆ ไม่ใช่นะฮะ คนละคนกัน คิดซะว่าลุงคนนี้เป็นคู่จิ้นป้ายุพินแล้วกันเนอะ คนละคนกับคนนั้นนะบอกก่อน!!!

ทีมงานยุพินจะมาร่วมแฮกกับเราด้วย สอบถามได้ อยู่กันโต๊ะตรงกลางห้องนาจา

หลังจากเริ่มแบ่งกลุ่มตอนสิบเอ็ดโมง นั่งทำงานแป๊ปนึง พี่หนีนี่คนสวยได้แจกบัตรอาหารฟู้ดคอร์ทเอ็มโพเรียม คนละ 200 บาท เพื่อนำไปทานอาหาร ทั้งช่วงเที่ยงและช่วงเย็น ดังนั้นเราต้องบริหารเงินเอาเองเนอะ ถ้าเกิน ไปซื้อบัตรใหม่นาจา แล้วเอาบัตรมาคืนพี่เขาด้วยนะ ราคาฟู้ดคอร์ท ค่อนข้างสูง ง่ายๆ สูงกว่า food republic อีกนะ แต่อาหารร้านที่เราไปทานเขาดีนะ กลางวันสว่างหัวลำโพง เหมือนจะให้น้อย แต่เยอะอยู่ มีหมูแดง ปู และเกี้ยวกุ้ง เป็นบะหมี่ไข่ ถือว่าใช้ได้เลย ในราคา 85 บาท ตอนเย็นผัดไทอัมพวามั้งชื่อร้าน ไหนๆเหลือเงินในบัตรพอควร อ่ะ สั่งเลยแล้วกัน ผัดไทห่อไข่ 110 บาท แพงสุดเท่าที่กินมา แต่ให้เส้นเยอะมาก เกือบทานไม่หมด ไข่เป็นไข่ แต่ไม่มีเนื่อสัตว์อะไรนอกจากกุ้งแห้งอ่ะนะ ส่วนนํ้ากลางวันใช้บริการสตาร์บัค พนักงานดี๊ดี ไปๆมาๆได้ชาเขียวปั่น ไม่คลาสสิก ไม่วานิลลา นมนอลแฟตมา ไม่วิปครีม 160 บาทแหน่ะ T^T


หลังมื้อกลางวันเริ่มทำงาน เริ่มแฮก หาวิธีลองใช้ ไปๆมาๆเราต้องไปทำ prototype ของแอปลุงสุขุม ลองร่างคร่าวๆพร้อมโลจิก และเริ่มพรีเซนต์รอบแรกตอนบ่ายสามโมง บอกว่าทีมทำอะไร ทีมละ 2 นาที จากนั้นซักถามตามสะดวก และได้คำแนะนำจากพี่ๆวิทยากรที่มากันนั่นแหละ เอาไปปรับใช้ จากนั้นทำงานทำการ กินข้าว และกลับมาตอนสองทุ่มกว่าๆ เพื่อพรีเซนต์งานอีกรอบ กลุ่มละสองนาทีเช่นเดิม จากนั้นก็ทำกรุ๊ปไลน์ แบ่งงาน แยกย้าย เพราะเขาปิดตอนสามทุ่ม

และวันสุดท้าย ไฟน๊อลลลลเดย์ (วันอาทิตย์ 31 กรกฏาคม 2559)
เราจะปั่น prototype แบบทำแอปมาอันนึงเลยไม่ทำ เลยช่วยคิด test case แล้วดูท่าจะช่วยอะไรไม่ค่อยได้เท่าไหร่ T^T จากนั้นเคลียร์โต๊ะ เพื่อเตรียมเสนอผลงานตอนสามโมง มีแขกมามากมาย ทั้งนักข่าวช่องสาม ช่องว๊อยซ์ทีวี และอื่นๆ รวมทั้งกล้องของทีมงานด้วย กรรมการมีทั้งคนที่เราคุ้นเคย และระดับใหญ่อย่างท่านรองผู้ว่า กทม. ท่านสำนักผังเมือง กทม. และ คุณมาร์ตินจาก UNDP งานอินเตอร์เลยทีเดียวคะ ตอนพรีเซนต์เราจะงงๆไปบ้าง พยายามพูดกับทุกท่านด้วยดี จนหมดเวลา เห้ออ โล่งแล้วๆจะได้ปิ๊กบ้าน

แต่ยังไม่จบ ระหว่างที่คิดคะแนน พี่เขาแจก post-it หัวใจ ให้แต่ละคนที่ร่วมแฮกไปโหวตงานที่ชื่นชอบของกลุ่มอื่น ห้ามโหวตให้กลุ่มตัวเอง ผู้ร่วมงานก็มีหัวใจเช่นกัน ซึ่งใครได้มากสุด ได้รางวัล populat vote ไป ซึ่งมองออกแล้วว่าใครได้ เราก็ไปโหวตเขามาด้วย พวกนางดีใจใหญ่เลย >< นั่นคือ ทีมรัตนโกพินนั่นเอง เพราะว่าเขานำเสนอหน้าตาแอปได้น่าสนใจ มี prototype กระดาษ แบบแปะบนบอร์ดและเป็นตัวอย่างในจอ ตอนแรกเสนอว่าเป็นแอปเกมส์ แต่ตอนหลังเป็นรูปแบบแนว interactive มากกว่า ไม่เชิงเป็นเกมส์ แต่มีเรื่องส่วนลดเป็น quest ด้วย และได้ดูหลายๆทีมแต่ยังไม่ได้ถามอะไร

อีกอย่าง ได้เจอผู้ที่เราคาดว่า อายุน้อยที่สุดในงาน นั่นคือ น้องยี่หลินนี่เอง น้องเขาเป็นนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ชอบงานที่เกี่ยวกับคน ของน้องเขาเสนอไอเดียเป็นยุพินแบบออฟไลน์ ทำเหมือนนิตยสาร เข้าถึงพื้นที่โดยอาสาสมัคร ให้โหวตว่าอันไหนที่ควรแก้มากที่สุด ทุกๆเดือนก็จะเอาประมวณผลและแก้ไข มีการอัพเดต เดือนต่อเดือน น้องเขาทำเผื่อไว้สำหรับคนที่อ่านหนังสือไม่ได้ (อีกสิ่งที่จำได้ ตอนที่คุณตี้ถามว่าใครไม่ใช้รถเมล์ น้องบอกไม่มีรถเมล์สายที่น้องเขาจะไปปลายทาง เลยขึ้นบีทีเอสแทน บ้านน้องอยู่ตรง bts แบริ่งนะ)

สุดท้าย เราๆก็ช่วยเคลียร์ที่นั่ง เพื่อให้แขกในงานได้นั่งฟังตอนประกาศผล รูปตอนปิดงานไม่ได้โฟกัสใดๆ กดโหมดโปรจากมือถือรัวๆ


ตอนแรกมีทีมงานยุพิน พี่โจ้ มากล่าวสรุป ขออนุญาติจับใจความเท่าที่พอจำได้ (เพราะไม่ได้จดนี่เอง) ยุพินเกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ของเรา หลักๆก็เรื่องของทางเท้า และก็สายด่วน กทม 1555 นี่แหละ เมื่อปัญหาบางจุดมีคนรายงานมากๆ ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของปัญหา ณ จุดนั้นๆที่ต้องแก้ ข้อมูล open data ของไทยเรายังมีไม่ค่อยมากนัก ซึ่งต่างจากเมืองอื่นๆ ประเทศอื่นๆ จึงเกิดป้ายุพินขึ้นมา ที่เราๆรายงานป้าไป ข้อมูลจะถูกนำมาขมวดและนำส่งภาครัฐ เพื่อไปแก้ปัญหาต่อไป


ทีมนี้มีงานเลี้ยงอาหารอีสานบ่อย เวลาว่างก็เจอกัน เม้าท์มอยกัน ทำงานกันไป และมีผู้สนับสนุนมากมาย


จากนั้นคุณมาร์ติน จาก UNDP มากล่าวปิดงาน คุณเขากล่าวค่อนข้างยาว เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งพี่แต๊กได้สรุปไวให้ ถอดเทปมาดังนี้
- เน้นเรื่องนวัตกรรม การใช้ข้อมูล การต่อยอดทางธุรกิจ
- social enterprise นวัตกรรมเพื่อสังคม ยุพินก็จัดอยู่ในประเภทนี้เหมือนกัน มีการทำงานร่วมกันของ developer และ designer ปีที่แล้วมีสองเรื่องที่ UNDP สนับสนุน ไปต่อยอดที่ true innovation 
- ปีนี้ทาง UNDP จะทำอีกเรื่องนึง คือ Thailand social innocation development เป็น space ในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ในด้าน social innovation
** เห็นว่ามีเสื้อที่คุณมาร์ตินใส่ มาแจกด้วย จนตอนนี้ก็ยังไม่ทราบว่ายังไง แหะๆ


จากนั้นคุณก้อง ตัวแทนจาก EGA มากล่าวปิดงาน สรุปโดยย่อ พี่เขาทำงานหรือเรียนต่างประเทศมาก่อนไม่แน่ใจ จากนั้นทำงานภาคเอกชน และเพิ่งมาทำงานในหน่วยงานภาครัฐมาปีกว่า ตอนแรกเขาก็ไม่ค่อยเข้าใจ ไปๆมาๆพี่เขาเห็นว่ามีปัญหาที่ต้องแก้เยอะ ประมาณนี้ เราจำไม่ได้ค่อยได้แล้ว ขอโทษนะคะ


จากนั้นเป็นการมอบรางวัล คิดในใจ ไม่ได้แน่ๆ 555

ยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลด้วยจ้าาา ภาพจากเพจป้ายุพิน
รางวัลป็อปปูล่าโหวต ก็ตามที่เล่าด้านบนนั่นแหละ รัตนโกพิน
ส่วนรางวัลชนะเลิศสองรางวัล ได้แก่ The Best Solution : ทีมขยะ เป็นการจัดการระบบขยะครบวงจร และ The Best Creativity : Survival guide ดีฟรีเย็น หาที่เย็นๆนั่งชิวๆ ที่ไม่ใช่ในห้าง แต่เป็นพวกสวน ประมาณนี้


สุดท้าย ไฟนอลลี่ กล่าวปิดงานโดยท่านสำนักผังเมือง กทม. เราได้รู้อะไรหลายๆอย่างว่าแถวนี้มีอะไรบ้าง เราคนนึงเป็นประชากรที่มาทำงานอยู่ใกล้ๆ TCDC เราทราบแค่สำนักดับเพลิงอยู่ท้ายซอยเท่านั้น
- ท่านบอกว่า มี best practice อันนึง คือ รณรงค์ให้คนกรุงเทพ จ่ายภาษีด้วยบัตร ATM มีคนมาใช้กี่คน 19 คนจ้าาา ท่านบอกว่าการประชาสัมพันธ์ให้ชาวกรุงอย่างเราเข้าถึงข้อมูลมีไม่เพียงพอ (จริงๆมันคือ solution ที่ดีหรือเปล่า คนรู้แล้วจะใช้ไหม ท่านเลยลงพื้นที่ไปถามหรือเปล่า ได้แต่เกิดคำถามในใจ)
- สมัยที่ยังเป็น ผอ. เขตคลองเตย ขยะในซอยสุขุมวิท 26 24 22 20 นี่ เก็บเวลาเช้าหกโมงกับห้าโมงเย็นไม่ได้ เพราะอะไร รถติดคะ มีเพื่อนร่วมทีมแอบถาม เก็บกลางคืนได้ไหม (เราก็คิด เวลาอื่นไม่ได้หรอ คือกลางวันงี้ ซอย 22 รถไม่ได้เยอะอะไรมาก ก็น่าจะ มาเก็บได้ นะ) ท่านบอกไม่ได้อีก เนื่องจากตลาดคลองเตยมั้ง หรือที่เที่ยวกลางคืนก็ไม่แน่ใจ เริ่มห้าทุ่มเลิกตีสี่ขยะมากองแล้วจ้า สมัยผู้ว่าอธิรักษ์ ผู้มีคอนโดอยู่ซอย 26 ทางเขตต้องจัดหน่วยปฎิบัติการมาเร็วเคลมไวของเขา ห้ามให้ท่านอธิรักษ์เห็นขยะ อันนี้ฮาเลยนะ มีการส่งวอประมาณว่าต้องรีบเก็บขยะออกจากหน้าคอนโดก่อนท่านเขาลงมาเห็น
- ท่านบอกว่างบว่าสำนักผังเมือง กทม. ได้งบประมาณน้อย (ก็แอบสงสัยนิดๆว่าทำไม อย่างไร)
- ปิดท้ายด้วยทั้ง 10 โครงการ ถือว่าเป็นเรื่องของผังเมืองทั้งสิ้น เขาจะไม่ทิ้งคนที่ไม่ได้รางวัลไว้กลางทาง อาจจะมีการพูดคุยโปรเจกกับ กทม ต่อไปในอนาคตงี้

จากนั้นชักภาพร่วมกัน เพื่อเป็นการปิดงานอย่างสมบูรณ์
(ไม่มีรูปนะจ๊ะ...)

และแล้วได้เวลาจาก อาจจะมีพูดคุยกับทีมงาน และนำบัตรอาหารมาแลกกับเงินมัดจำ 1000 บาทที่จ่ายไปตอนแรก และของที่ระลึกจาก TCDC ซึ่งเรามีอยู่แล้วชุดนึง ได้จากการร่วมโครงการงานเขียนของเพจ TCDC Connect นั่นแหละ ยกเว้นที่คั่นหนังสือ เราจะมารีวิวย่อๆไวๆเนอะ มีกระเป๋าผ้าหนึ่งใบ แล้วแต่ดวงว่าพี่หนี่นี้จะหยิบสีอะไรใกล้มือมาให้เรา มีหนังสือสามสี่เล่ม สมุด ดินสอไม้ ถ้าใครอยากได้หนังสือติดต่อหลังไมค์ได้จ้า

หยิบภาพของที่ระลึกของ TCDC จากเพจป้ายุพินอีกเช่นเคย
สรุปข้อติ
- เวลาของวันแรกค่อนข้างเลท เข้าใจว่าวิทยากรมีหลายท่าน แต่ละท่านก็มีเรื่องที่อยากจะบอกให้พวกเราไปคิดมากมาย ถึงแม้เวลาเลื่อนขึ้นมาแล้วครึ่งชั่วโมงก็ตาม เข้าใจว่าเรื่องสถานที่ที่ต้องปิดก่อนห้างปิดด้วย จริงๆอยากให้จัดกลุ่มกันวันแรกเลย จะได้คิดงานได้ไวๆ
- จริงๆอยากให้ป้ายุพินจัดกลุ่มให้เลย แล้วไป discuss กันเองว่าจะทำเรื่องอะไรดี เพราะแต่ละคนมีหัวข้ออยู่ในใจกันแล้ว ว่าไปหัวข้อไหนใน 5 หัวข้อ

แถมข้อเสียของเราเอง เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้เข้ามางานแบบนี้ มาคนเดียว ทำตัวไม่ค่อยถูก พูดก็ไม่ทันคนอื่นเขา เราสายแอปอาจจะเสียเปรียบกว่าสายเว็บด้วยซํ้า T^T รู้สึกท้อแท้มากๆเลยในบางช่วง

อีกข้อ อันนี้แอบสงสัยส่วนตัว ภาพสวยๆที่ช่างภาพถ่ายอยู่แห่งใด มีแต่เพจยุพินที่อัพรูปรัวๆเลย ใครมีช่องทางบอกได้หลังไมค์นะ

สรุปข้อชม
- สถานที่ ไปมาง่ายสะดวก ติด bts
- ชอบที่แจกบัตรฟู้ดคอร์ท ตัดปัญหาเรื่องสั่งข้างกล่องให้ถูกใจทุกคน แต่บัตรตอนแรกคิดว่ามันน้อยไปเปล่าหว่า จริงๆเพิ่มอีกสัก 50 บาทน่าจะดี ห๊ะ!
- ทีมงานดูแลเรากันอย่างดี อาหารหลังห้อง เติมเรื่อยๆ คัดคุณภาพจริงๆ
- นอกจากอาหารพร้อมแล้ว อุปกรณ์ก็พร้อมด้วย ทั้งกระดาษ ปากกาสี ปลั๊กไป เครื่องปริ๊น ครบครันมาก
- ชอบห้องที่หน้าต่างติดต้นไม้ ของโรงแรมด้านบนหรือเปล่า เราอยากขึ้นไปตรงนั้น ใครมีวิธีบอกมาได้น๊าา
- ดีที่จัดที่ห้าง ยังได้กลับไปนอนบ้าน แต่แลกกับเวลาทำงานเนอะ :)

สุดท้าย ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ทำให้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐอย่าง EGA TCDC กทม UNDP และที่สำคัญที่สุด ป้ายุพินและทีมงาน ที่เลือกหนูเข้ามาเป็นส่วนนึงของกิจกรรมนี้นะคะ ขอบคุณจริงๆ ดูแลพวกเราดีมากๆเลย
และตอนนี้ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบนะคะ ใช้เวลาเขียนเสียหลายวัน ไหนจะดูดรูปอีก ฮ่าๆ ><

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความสนุกกำลังจะเกิดขึ้น ติดตามที่ https://www.facebook.com/loongsukhum/ เพจลุงสุขุมจ้า

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------


#ประกาศเจ้าคะ
หลังงานทางทีมยุพินรับแหกเกอร์อาสา เอาเสื้อยุพินไปใส่ฟรี แต่ทำงานด้วยนะฮะ ทำออนไลน์ได้นะ ไม่ใช่งานขายใดๆ ติดต่อได้ที่ contact@youpin.city หรือ inbox ไปหาทีมงานเลยก็ย่อมได้ รับหลายตำแหน่งเลย ทั้ง UX, UI, Management, Marketing, Media Lawyer, Policy Maker
ส่วน Developer Front-end และ Back-end นอกจากติดต่อผ่านเมลล์แล้ว ไปร่วมแจมได้สองที่เลย คือ

YouPin API:
https://github.com/youpin-city/youpin-api

YouPin Web App:
https://github.com/youpin-city/youpin-web

ป้ายกำกับ: ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก