วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560

มาเติมพลังชาว dev กับงาน Google Developer Day Extended

งานนี้ยอมรับจากใจว่า จัดแบบปุ๊ปปั๊ปจริงๆ รู้บ่ายวันเสาร์ บ่ายวันอาทิตย์ก็เข้างานแล้ว ด้วยความที่หัวข้อน่าสนใจ เลย อ่ะไปก็ไป


Google Developer Day เปิดรับนักพัฒนาไทย 100 คนร่วมเวิร์คช้อปกับเทคโนโลยีที่เน้นไปสู่ยุค smart phone และ AI

งาน Google Developer Day Extended จัดวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ที่ Ananda Urban Tech ตึก FYI อาคาร 2 ชั้น 11 อันเป็นที่จัดงานหลายๆงานเลย บรรยากาศน่านั่งทำงาน ทำกิจกรรม ชิคๆ เกร๋ๆ การเดินทางแสนสบาย MRT ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทางออก 1 จ้า ออกปุ๊ป เจอตึกปั้ป มีแววว่าอาจจะได้ไปอีกบ่อยๆ 555 ด้วยความที่เป็นงานรีบนั้น คนไม่ถึง 100 คนแน่นอนนนนน (สุดท้ายอาจจะมา 99 คนไรงี้) งานนี้จัดที่ห้องบางนานะยูววว ตอนแรกเรากับเพื่อนก็ถึงสายนิดนึง คนประปราย สักพักเริ่มแน่นขึ้นเนอะ งานเริ่มช้านิดนึงเพราะรอคนมาด้วยแหละ

งานนี้มี 4 session ดังนี้

13.00 Opening Remarks - Wittaya Assawasathain
Intro to new Technology and new program!

เปิดด้วย session general แบบเบาๆ จากพี่โอ๋ มีทั้งส่วนที่เผยแพร่ได้ และไม่ได้

งานนี้จัดตามหลังงาน GDD ที่อินเดียเลยจ้า เขาจัดวันที่ 1-2 ธันวาคม ที่ไทยเลยจัด Extended ต่อท้าย จริงๆวาน GDD จัดครั้งแรกเมื่อประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว มีหยุดไป และเพิ่งจัดใหม่ในปีนี้ ซึ่งมีงานที่ Poland ด้วย ที GDG คนไทยไปร่วมงานถึง 7 คนด้วยกัน รู้สึกว่ามีงาน dev summit แล้วต่อด้วยอันนั้นมั้ง

สำหรับใครที่อยากไป แต่โอ้ยยไกลลล ไม่มีเงินค่าตั๋ว ปีหน้ามีความเป็นไปได้ที่จะจัดงานใกล้ไทย อาจจะเป็นที่สิงคโปร ญี่ปุ่น จีน เพื่อ update technology กันอย่างทั่วถึง

คำศัพท์เฉพาะของทาง Google ซึ่งเราก็ได้ยินตอนไปงาน Google Ignite นั่นคือ NBU ย่อมาจาก Next Bilion User นั่นเอง ซึ่งก็แถบๆบ้านเรานั่นแหละ

Next Bilion User is?

Confidential Zone : ส่วนห้ามเผยแพร่ ห้ามถ่ายรูป ห้ามไลฟ์ แต่จดได้ เราเลยสรุปสั้นๆแบบเอาไปคิดต่อได้นิดนึง
- แต่ละประเทศการเติบโตของ smartphone ลดลง เนื่องจากเทคโนโลยีเข้าถึงแล้ว ยกเว้นบางประเทศที่ยังโตอยู่
- คนไทย 67 ล้านคน ใช้ internet เก่งมากๆ และไม่ค่อยมีคนใช้ 2G แล้ว

สถิติการใช้งานในไทยค่อนข้างสูง feature ใหม่ๆบางอันเราได้ใช้ก่อนบางประเทศ และทาง google เก็บสถิติเอาไว้ด้วย

งาน I/O Extended BKK จัดที่ Ananda Urban Tech เป็นครั้งแรก

GDE ในไทยเป็นอันดับ 2 ของ asian รองจากประเทศญี่ปุ่น มีทั้งสิ้น 12 ท่าน และยังต้องการเพิ่มอีกเยอะเลย (แต่ใครจะได้อันนี้อาจจะอยู่ที่อะไรหลายๆอย่างเนอะ)

ในไทยมี GDG Cloud เราเห็นใน meetup มีประมาณเกือบ 400 คน จัดงานกันเรื่อยๆ เป็น commulity ที่มาใหม่ในปีนี้


Google Developer มี 120 ประเทศทั่วโลก แบ่งเป็นทีมๆ เช่น Android, UI/UX, Cloud, Firebase บางประเทศก็จะเน้นแต่ละอันกันไป



จากงาน GDG ที่ India เขาประมาณการว่ามีคนใช้ internet ถึง 650 ล้านคน ในปี 2020 ซึ่งประเทศเขาใหญ่ไง ถ้าเทียบสัดส่วนเรานี่เกือบๆ 1 ใน 10 ของเลขนี้เลยนะ

เนื่องจาก Google Product เขามีมากมาย และบางอันเป็นภาษาไทยด้วย ถ้าอันไหนอ่านแล้วยังงงๆ ทักพี่ๆ GDE ได้เลยนะ เขาจะได้แจ้งให้แก้ไขได้เนอะ


Key product : มีหลากหลายตัวเลย บางตัวคนไทยอาจจะยังไม่รู้จัก


- Launchpad เป็นโปรแกรมสำหรับ startup เขาจะ design sprint ให้ด้วย ในไทยก็มี Wongnai ที่ไปมา
- Agency ตัวนี้ dev อาจจะงงๆ เป็นโปรแกรมใหม่สำหรับ agency นะ
- Udacity อาจจะมีเรื่องการ sharing เข้ามา ฟิลแบบเรียนแล้วมาแชร์ให้เพื่อนๆฟังงี้
- Women Techmakers สำหรับสาวๆ ในไทยมีนะ แต่ไม่ค่อยเปรี้ยงง่าาา แถมไปอยู่ศรีราชาอีก ฮืออ

launch program เราอาจจะเห็นชัดเจนในอนาคต
- community chatbot
- machine learning community

สถิติที่น่าสนใจ 35% ของแอปทั้งหมดใน play store ถูก download กว่า bilion ครั้ง พันล้านครั้งนั่นเอง การใช้ kotlin ในการทำแอปเพิ่มขึ้น และมีแอป 17% ใน play store ที่เขียนด้วย Kotlin

Google Product ที่เป็น hardware นั้น ทำรายได้ได้มาก มากกว่าพวก ads ด้วยนะ ที่ Google ทำ hardware มีเหตุผล คือ ต้องการขยาย platform โดยการดู year-by-year พบว่า ทำให้มูลค่าและกำไรของ alphabet เพิ่มมาขึ้น สำหรับใครที่เป็น brand royallty ของ Google มีข่าวดีว่า บางตัวอาจจะมีเข้าไทยกลางปีหน้า ส่วนตัวไหนนั้น ไปลุ้นกันเองเนอะ

Google Assistant สำหรับพวก chatbot มี partner เยอะมาก เช่น


- DialogFlow ชื่อเดิมคือ api.ai นั่นแหละ ซึ่งอยู่ใน keynote วันแรกของงาน GDG ที่ India
เราแปะ playlist GDG India ไว้เลยแล้วกัน


https://www.youtube.com/playlist?list=PLlyCyjh2pUe_Xyqy9K6sBxwr0L8QaU7dq&utm_source=devsite&utm_medium=events-gdd-india&utm_campaign=post-event
- Chatbase เป็น analytics tool ของ chatbot

Machine Learning : TensorFlow ซึ่งมีคนใช้เยอะมากๆ ทั้งใน GitHub และ StackOverflow ด้วยหล่ะ มี lite version ที่ใช้ใน mobile ได้ด้วย แบบไม่ต้องไปทำเพิ่มจากของเดิมงี้


WEAVE : hardware platform สำหรับ IoT และ low level ให้สามารถคุยกันได้ มีคนไทยเขียนบล็อกเรื่อง aiy ด้วยนะ



Firebase Cloud Firestore เป็น session สุดท้ายของวัน

Kubernetes เป็น tool ของฝั่ง cloud

Android O : อาจจะมี workshop ในเร็วๆนี้ ในเรื่อง feature ต่างๆ เนื่องจาก dev ใช้น้อย เช่นพวก notification bar ตัวอย่าง ใครลงแอป spotify สีตัวอักษรใน notification จะเปลี่ยนสีไปตามปกเพลงงี้

สุดท้าย Alphabet มีอะไรบ้าง : Youtube, Verily เกี่ยวกับการแพทย์, driveless car, robot แขนกล, เครื่องบินโซล่าเซลล์, airlander, google fiber เป็นการให้บริการอินเตอร์เน็ตในบางเมืองของสหรัฐอเมริกา, Google Fi, Loon Project, Slde Walk labs

smart home

เครื่องบินขนาดเล็ก เนื่องด้วยขนาดเล็ก เลยสามารถบินได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ตอนนี้กำลังทดสอบอยู่

google fiber

loon project

เครื่องบินโซล่าเซลล์
เผื่อใครอยากอ่านเพิ่มเติม : http://www.businessinsider.com/20-moonshot-projects-by-google-turned-alphabet-2016-2/#google-fiber-1

13.30 Chatbot Platform and Economy
- Tanakrit Saisillapee, CTO, Hbot

เป็น session ที่แอบขาย Fungjai เบาๆ เนื่องจากเป็นบริษัท startup ที่เราทำงาน และใช้ chatbot ด้วยนะ

เรียกนํ้าย่อยโดยการถามของ speaker ว่าคนฟังทำงานสายไหน ทำ startup กี่คน เคยใช้ chatbot หรือทำ chatbot บ้างไหม

Hbot ก็เป็น platform ที่ช่วยทำ chatbot เหมือน chatfuel นั่นแหละ

http://hbot.io/#!/ เสียใจไม่มีฟังใจอ่ะ ฮืออ
บนหน้าจอของ user นั้น มี app chat ติดตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Line หรือ Messenger (เอาเป็นว่าคนไม่ค่อยโหลดแอปใหม่ และคนก็แชทกันทุกวัน)



กว่าจะได้แอปนึง ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ส่วน chatbot ก็จะทำเสร็จเร็วกว่า แต่ทีม marketing ก็ต้องโปรโมตอยู่ดีแหละเนอะ :)


chatbot สมัยก่อนเรานึกถึงอะไรหล่ะ ก็ simsimi ไง แต่ตอนนี้ chatbot ก็จะทำงานเป็น flow และรู้ว่า user เป็นใคร เพศอะไร และเราต้อง design conversation ดี (ดังนั้น UX จะดีด้วย)


ตัวอย่าง finstreet เป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับรีไฟแนนซ์ มี conversation rate เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากเว็บ มี demo คร่าวๆให้เราดู flow การทำงาน สามารถกด popup ออกมากรอกข้อมูลได้


มี chatbots landscape ให้ดูด้วย


เนื่องจาก dev แบบเราๆ ทำเอง แต่ละ channel ก็ใช้คำสั่งไม่เหมือนกันงี้ Hbot จึงมาด้วยเหตุนี้ หน้าตาคล้ายๆ chatfuel เลย 


สามารถใส่ backend ได้ด้วย สามารถสร้างบอทเปล่าๆแล้วใส่ webhook เข้าไปได้ด้วย

มี boardcast และ analytics ด้วย ซึ่งของ Hbot เป็น simple analytics ถ้าอยากได้ข้อมูลมากกว่านี้ ใช้ chatbase ได้ และมีการบอก flow การไปของ user ว่าส่วนใหญ่ไปทางไหน ติดตรงไหน เราจะได้มาแก้ flow ได้ทัน


สรุปออกมาเป็นตารางเนอะ เว็บตอนนี้มี PWA ด้วย และทำ CUI ง่ายกว่า GUI และใช้เวลาน้อยกว่า


แล้ว CUI คืออะไรหล่ะ คุณตั้มก็ส่งไม้ต่อให้คุณตั้ม ผู้เป็น UX ของทีม


UI เป็นตัวกลางระหว่างคนและเทคโนโลยีในการคุยกัน เช่น ซื้อของออนไลน์ อ่านข่าว ซึ่งตัวกลางที่ว่าคือ Graphical User Interface หรือ GUI นั่นเอง

CUI ย่อมาจาก Conversation User Interface คือให้คนคุยกับเทโนโลยีโดยตรงเลย เช่น Siri ซึ่งเราจะคุยกับนางในที่สามาธารณะไม่ได้ ซึ่ง chatbot ก็ช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้ ไม่ต้องคุยด้วยเสียงแล้ว แชทคุยเอา

เช่น นายหัวฝอย เป็นเพจขายของไอทีมือสอง สามารถส่งข่าวต่างๆรายวันให้ user ได้เลย ถ้า user subscription นะ (ระบบข่างรวมอยู่ในแชท)

Ability Conversation แต่ CUI ก็มีช่องว่างหรือจุดอ่อนบางอย่าง เช่น แอปตัดต่อภาพ ฟอร์มสมัครสมาชิก ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ซึ่งไม่สามารถทดแทนกันได้ในตอนนี้



5 ขั้นตอนในการออกแบบ chatbot จาก Google มีดังนี้
1. right use case ใช้ทำอะไร
2. persona ใช้กับใคร
3. เขียนไดอล็อก
4. ทดสอบก่อน
5. build มันขึ้นมา


และทาง Google มี design checklist ให้ด้วย

ไปที่ https://developers.google.com/actions/design/checklist จะมี pdf ให้โหลด
หน้าตาของ design checklist แบบเต็มๆ
จบด้วย Q & A มีคนถามเรื่อง NLP เกี่ยวกับการตัดคำในภาษาไทย ซึ่งทีมงานกำลังพัฒนาอยู่นะ :)

มีฝากกลุ่มด้วย https://www.facebook.com/groups/879402278876357/

14.20 Android Architecture Component with Kotlin
- Inaki Villar, GDE Android

สำหรับชาว Android Developer จะได้ทั้งเรื่อง Android Architecture Component, Kotlin และภาษาอังกฤษด้วยนะ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด


การเขียนโปรแกรมก็มี pattern เต็มไปหมด


คุณนากิแสดงแผนผังส่วนประกอบต่างๆให้เราเข้าใจได้ง่ายๆ แบบนี้


แน่นอนว่าส่วน UI ไม่ควรเรียก Source ได้โดยตรง แต่สิ่งที่ user เห็นก็คือดึงส่วน source มาแสดงผลนี่แหละ



ส่วนประกอบของ Architecture Components มีดังนี้
1. LifeCycle : อยู่ใน fragment เนอะ จะมีอีก 3 ตัวย่อยแบบนี้


ซึ่งเกี่ยวอะไรกันกับอันนี้ คือมันจะทำให้พวกนี้ทำงานได้ดีขึ้น เมื่อเกิด configuration change เช่นหมุนจอ มันก็ไม่ต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่แรก


มาดูโค้ดภาษา Kotlin กัน เป็นดังนี้


และสามารถเปลี่ยน lateinit เป็น lazy ได้แบบนี้


2. ViewModel : เพิ่มมาเพิ่มเคลียร์ของทั้งหมดใน lifecycle ก่อนปิดแอป ตัวนี้จะยุ่งกับ configuration change โดยตรงเลย ในตัว demo เป็น count-down timer เนอะ เคสปกติหมุนจอปุ๊ป จะเริ่มนับใหม่เลย แต่พอใช้อันนี้เมื่อหมุนจอก็ทำงานต่อไป



3. LiveData : เป็นตัวกลางเก็บข้อมูล ระหว่างตัว presentation หรือหน้าแอป กับ source of data


4. Room : ใช้กับเจ้า retrofit ได้เลย ซึ่งหน้าตาก็จะแปลกนิดนึง ตรง query นี่แหละ


5. Paging : เช่น ถ้ามีโพสใหม่จาก Facebook จะแสดงไว้บนสุด

use case ที่ใช้มี 2 ตัวอย่าง
- Room + Paging : https://github.com/googlesamples/android-architecture-components/tree/master/PagingSample
- Rx + ViewModel : https://github.com/googlesamples/android-architecture-components/tree/master/BasicRxJavaSampleKotlin

ตัวอย่างเหลือๆ https://github.com/googlesamples/android-architecture-components

15.10 Firestore Best Practise
- Jirawat Karanwittayakarn, GDE Firebase

เป็น session ที่มีสาระและสนุกมากๆ เป็นครั้งแรกที่ได้ฟังพี่ตี๋บรรยายสดๆ ><
รับพลังกันอย่างเต็มที่ทีเดียว

Developer ที่ใช้ Firebase ทั่วโลก มีจำนวน 1M+ แล้วจ้า ในงาน Firebase Dev Submit ได้ประกาศไว้
และ มีเพิ่ม 3 ตัว อันได้แก่ Cloud Firestore, Prediction อันนี้ไว้ทำ machine learning เนอะ, crashlytics เอาไปติดในแอปเพื่อดูว่าแอปเราพังตรงไหน ซึ่ง fabric นางมาอยู่กับ Firebase ในปีนี้มาพักนึงแล้ว และตัวลับ 1 ตัว คือ A/B Testing ทั้งหมดทังสิ้นมีทั้งหมด 19 ตัวเช่นกัน


session ของพี่ตี๋ในวันนี้ คือ Firebase Cloud Firestore นั่นเอง ดังนั้นจะต้องมีการบรีฟนิดนึง เผื่อเรายังงงๆอ่ะเนอะ ตัว Firestore เป็น NoSQL document oriented database สามารถ sync กับ query database ได้ 

พ่อแม่ของเจ้า Firestore คือ Cloud Datastore และ Realtime Database ใน Firebase นั่นเอง
- Cloud Datastore : บางคนเคยได้ยิน บางคนไม่เคย บางคนเหมือนจะเคยได้ยิน เจ้าตัวนี้บริษัท Niantic เป็นคนเอามาใช้...... บริษัทที่ทำ pokemon go ไง...... pokemon go ใช้ตัวนี้ไง ตอนแรก pokemon go launch ไป 3 ประเทศ เราได้ทำการ estimate คนเข้ามาเบี้องต้นไว้ ปรากฏว่า เกินจากที่ทีม estimate ไปเยอะ แต่โชคดีที่ไม่ล่ม เพราะใช้ Cloud Datastore แถมยัง handle ง่ายกว่าทำ server เอง ถ้าเขาทำ server เอง ก็ต้องทำในส่วน infra ก่อนถูกม่ะ เสร็จแล้ว monitor อีกอะไรอีก ถ้าคนเข้ามาเยอะเกินที่เรารองรับได้ก็ล่ม (เช่นตอนรายการ startup unicorn ออกอากาศ พี่ๆเตรียมพวกนี้ไว้หมดแล้ว แต่คนเข้ามาเยอะมากกก พังส่วนเดียว คือ ส่วนเล่นเพลง T^T)


- Realtime Database อย่างที่หลายๆคนทราบกันดี ในแอปถ้าเราอยากให้มี offline mode ก็เขียนโค้ดไปบรรทัดเดียวก็จบเลย การเก็บข้อมูลตอน offline นั้น จะเก็บลง local และ sort by timestamp เมื่อ onlie แล้วก็จะเอาจาก local ที่เขียนไว้ที่ sort by timestamp เข้า realtime database ของเรา ใช้เวลาประมาณ 15 วินาที


ดังนั้น Firestore ใน web สามารถทำ offline mode ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด เพราะรองรับ offline ทันทีที่ใช้ จุดเด่นคือเรื่อง structure ของข้อมูล และเก็บ data แบบชั้นลึกๆได้


เรื่อง structure ของข้อมูลนั้น ถ้าเราเรียกข้อมูลชั้นที่สองมา ใน realtime database นั้น มาทั้งก้อน แต่ถ้าใน firestore มาระนาบเดียว

flat data การออกแบบแบประหยัด
- id key นั้น ถูก gen โดย base on timestamp
- realtime database นั้น ถ้ามีข้อมูลอะไรสักฟิลด์นึง update จะ update ทั้ง children เลยนะ สนุกเลยแหละ มีความไม่ครบ ไม่ถูกต้องแน่นอน และ where สองครั้งไม่ได้ แถมรองรับ data type แค่ int string boolean เท่านั้น

แต่ firestore นั้นรองรับ data type เยอะแยะมากมาย แถมยังเก็บ geopoints ได้ด้วย

Simple Collection ความสัมพันธ์ของ collection นี่มายังกะสูตรท่องอะไรสักอย่างเลยแหะ
- 1 collection มีได้หลาย document
- 1 database สร้างได้หลาย collection


ข้อดีของ firestore คือ 
- สามารถจัดเก็บ id ได้ โดยไม่ต้องยัด array ของ id เป็นก้อนๆลงไป
- สามารถ scale ได้ในระดับ global รองรับ conference ได้มหาศาล หลักแสนขึ้นไป 
- reliable & available โดนซ่อมก็ไม่ตาย (คนเก็ทมุกชั้นไหม?) ตัว database ไม่ตาย เพราะเก็บได้หลายที่ ไม่เหมือน realtime เก็บที่เดียว
- where สามารถใช้ได้หลายครั้ง order ได้หลาย field
- ทุก query จะ search เร็วมาก สามารถกดสร้างเพิ่ม index ได้เลย ส่วน realtime ไป index เอาเองที่ security rule (จริงๆคือมัน auto index อยู่แล้ว นอกจากจะไปทำอะไรวุ่นวายๆหน่อย)
- มี position กับ curser ในการตัด id มาแสดงผลแบบ load more, new item 
- limit

ความดีงาม คือ ใช้พวก operator ในการ where ได้เลย ซึ่งต่างจาก realtime ที่ทำ orderbychild ได้ครั้งเดียว ต้องสร้าง field เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ใช้ได้ วุ่นวายมาก


more query
- shadow by default ไม่ต้องเอามาหมดทั้งยวง
- expressive & fast ทำให้ performance ดีสมํ่าเสมอ หนึ่งคนหา กับ หนึ่งล้านคนหา ต้องเร็วเท่ากัน ในการหาคนๆนึง แต่ถ้าหาเยอะๆ มีหลาย data set เวลาที่ใช้ก็จะเพิ่มขึ้นตาม data set

ข้อดีของ realtime มีบ้างไหมนี่ ก็เร็วกว่า firestore 300ms ไง .................. (เสียง กา กา ลอยมาทีเดียว)

firestore นั้น integrate ร่วมกับ cloud function ได้ด้วย เช่น trigger แล้วให้ไปทำอะไรต่อ
และทำงานร่วมกันกับ authen และ function ด้วย

ถ้ากรณีโปรเจกเดียวกัน แต่ลูกค้าหลายเจ้า จะใช้ database ลูกเดียวกันก็ไม่โอเคในด้าน seculity เนอะ ดังนั้น firebase เลยมี multi-database มาช่วย โปรเจกนึง มี database หลายลูกได้แล้ว

เจ้า firestore ยังเป็น beta อยู่ ตอนนี้ limit ที่ 100,000 concurrent อนาคตอาจจะไม่จำกัดนะ ใช้ได้ทั้ง Android, iOS และ web นะ

มีคนไปใช้ใน production หรือยัง มีนะ partner ของ Google หลายๆเว็บเลย ที่จำได้คือ CNN
ของคนไทยมีไหม มีแอปวาดรูป วาดปุ๊ป ก็เก็บพิกัดบน realtime เลย (ใครหาเจอบอกเราที 😭)

ระหว่าง realtime กับ firestore ใช้อันไหนดี
ถ้าอัพข้อมูลแบบถี่ๆ ใช้ realtime
ถ้าข้อมูลมีความสัมพันธ์กัน ใช้ firestore

หลายๆท่านคงทราบว่า การต่อ API ข้างนอก ต้องผูกบัตร แต่ไม่เว้นแม้กระทั่ง google map นะฮะ ;_;

พี่ตี๋เล่าว่า มีน้อง firebase fan boy ที่มาเลเซีย ทำแอป remote for google silde แล้วคนใช้เยอะมากกกก มากจนระบบบอกว่าอัพเกรดแพลนด้วยจ้า น้องเขาเลยมาถามพี่ตี๋ว่าควรจะอันไหนดี พี่ตี๋มีทางเลือกให้สองทาง ทางแรกอัพเกรดโปรเจก ทางที่สอง ไปแก้ security rule แล้วก็ห้าม read ห้าม write แน่นอนค่ะ น้องเขา....เลือก....ที่จะเสียเงินค่ะ โดยเงินที่คุณน้องเสียไปนั้น จำตัวเลขไม่ได้ แต่เงินน้อยๆมากๆ แต่ได้ user กลับมามหาศาลทีเดียว

สุดท้ายพี่ตี๋ฝากร้าน alpha program และ firebase meetup bkk วันที่ 23 ธันวาคมนี้ ในงานเกี่ยวกับ product ใหม่ทั้งหมดของ firebase

ก่อนจากกัน มีเล่นเกมส์แฟนพันธ์แท้ Firebase ผ่านเว็บ http://kahoot.it กดเข้าห้อง และเล่นเกมส์กัน มีข้อนึงเราติด Top 5 เลย 55555 แต่ละข้อให้เวลา 20 วินาทีเลย คิดไม่ทัน สับสน ฮือออ คนชนะก็ได้เครดิตไปเติมในโปรเจก Firebase กันไป ไม่รู้ได้ที่เท่าไหร่ แต่คะแนนเลขสวยดี 55555

เราว่าเว็บนี้น่าสนใจดีนะ ตอบเร็วและถูกก็ได้คะแนนเยอะงี้ เอาไปใช้เล่นเกมส์แจกของ เช่น แฟนพันธ์แท้ฟังใจ อะไรแบบนี้ก็ได้ 55555


ปิดท้ายด้วย Networking มีบางส่วนที่เข้าร่วมงาน Devnetwork launch event ในช่วงเย็นๆ ซึ่งเราไม่ได้อยู่ร่วมเนอะ ไม่งั้นมีเล่าเพิ่มนะเนี่ย

ถ้าบทความมีอะไรตกหล่นก็ต้องขออภัยด้วยค่ะ รีบจริงๆเพราะต้องเตรียมงานอื่นต่อค่ะ T__T

ส่วนใครที่อยากเจอเรา (มีด้วยเหรอออ) บล็อกในเดือนนี้ที่จะเขียนก็มีงาน UX TH 2017 ในวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม และ Firebase Meetup Bangkok ในวันที่ 23 ธันวาคมนี้นะจ๊ะ จริงๆมีอีกงานเนอะ เดี๋ยวก็รู้เอง 😜

สถานที่แห่งนี้ในปีนี้จัดงานมาหลายงานแล้ว ขอปิดท้ายบล็อกนี้ด้วยสถานที่จัดงานแล้วกันเนอะ มีแววว่าจะได้มาบ่อยๆ :)

ผลงานของคุณ Alex Face ค่ะ น้องสามตา

จะซิงเก้อเบลล์ ซิงเกิ้ลออนเดอะเวย์แล้วนะ

ป้ายกำกับ: ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก