บันทึกการร่วมกิจกรรม workshop ของงาน i, MedBot 2014 วันที่ 31 พฤษภาคม 2557(ภาคเช้า)
บันทึกการร่วมกิจกรรม workshop ของงาน i, MedBot 2014 วันที่ 31 พฤษภาคม 2557
กิจกรรม workshop ของงาน i, MedBot 2014 จัดขึ้นที่ CUTIP ชั้น 14 อาคารจตุรัสจามจุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการแข่งขันไอเดียหุ่นยนต์ทางการแพทย์ i, MedBot 2014 โดยในวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม นั้น จะมีกิจกรรมการอบรมในช่วงเช้า และการ workshop กลุ่มในช่วงบ่าย ซึ่งการเดินทางมายังที่นี่มาสะดวกโดย MRT สามย่าน จากนั้นเดินทะลุตึกมาเลย ท่านจะเจอกับ food square ศูนย์อาหารของตึก โลตัสตลาด เดินขึ้นบันไดเลื่อนมาชั้น G ถามพี่ รปภ ถึงวิธีการไปชั้น 14 อันเป็นจุดหมายของเราและเพื่อน จากนั้นพวกเราเดินผ่านร้านกาแฟสตาร์บัค จนไปถึงข้างธนาคารออมสิน อันเป็นที่ตั้งของลิฟท์ กดชั้น 14 เพื่อไป CUTIP อันเป็นสถานที่จัดงาน
…เกร็ดความรู้ของที่จัดงาน CUTIP เป็นสถาบันบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการจัดการนวัตกรรม ซึ่งเราเองอยากเรียนต่อสาขานี้อยู่พอดี ฮ่าๆ…
เมื่อถึงที่หมายแล้ว พวกเราก็มาลงทะเบียนที่หน้างานทั้งกิจกรรมตอนเช้าและตอนบ่าย พี่ TCELS ได้แจกป้ายชื่อให้เรา ในนั้นมีชื่อสกุล บริษัท (พี่ๆที่ออฟฟิคไม่ค่อยทราบเท่าไหร่ว่าเราจะมา55) กลุ่ม workshop ตอนบ่าย, บัตรศูนย์อาหาร food square ที่เราเดินผ่านไปตอนแรก, แฟ้มอ่อนของทาง TCELS ในนั้นมีใบปลิวแนะนำ TCELS, สมุดจด, dvd presentation TCELS, ปากกา, และของสำคัญของงานนี้ คือ สไลด์ของการอบรมของช่วงเช้า จากนั้นเราก็เดินเข้าห้องเรียนของพี่ๆปริญญาโทที่นี่ เพื่อเข้าไปฟังการอบรมตอนเช้า
…งาน i, MedBot 2014 จัดขึ้นโดย TCELS หรือชื่อเต็มคือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (Thailand center of Excellence for Life Sciences) ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.tcels.org …
เมื่อเข้าห้องบรรยายแล้ว รู้สึกว่า เฮ้ย ที่นี่แตกต่างจากห้องเลกเชอร์ที่อื่นแหะ เป็นเก้าอี้นวมสีเทาเตี้ยๆ นั่งค่อนข้างสบาย คล้ายๆที่นั่งโรงหนังน้อยๆในบางแห่งเลยแหะ (ประมานในใบปลิวโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้าหน่ะห้องดูหนังของน้องๆ) ในนั้นมีหลายๆคนนั่งรออยู่ก่อนแล้ว ห้องไม่ใหญ่มาก แต่ดูสบายและชิคมาก เมื่อได้ที่นั่งแล้ว เรามาดูกำหนดการกันดีกว่า ซึ่งเราผ่านกิจกรรมลงทะเบียนเวลา 8:00-9:00 เรียบร้อยแล้ว
เมื่อถึงเวลา 9:00 ได้เวลาเปิดงานอย่างเรียบง่าย มินิมอลเบาๆ (ขออภัยที่จำชื่ออาจารย์ไม่ได้จริงๆคะ)
Key note : การนำ idea ไปต่อยอด + คนทำเป็นแต่ไม่มี idea
ขอบคุณรูปจากเพจ TCELS นะคะ
จากนั้นเข้าสู่การอบรมเรื่องแรก ตามกำหนดการนั้น เป็นเรื่อง "การยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม" โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนวิสเคปคอนซัลติ้งค์กรุ๊ป จำกัด (และเป็นอาจารย์ที่ CUTIP ด้วย) ในเวลา 9:10-9:50 ในเวลาเพียง 40 นาที
- ตอนแรกมี vdo presentation เกี่ยวกับการระดมไอเดียของบริษัทแห่งหนึ่งในต่างประเทศ เกี่ยวกับการปรับปรุงรถเข็น ให้ดูปลอดภัย ใส่ของได้เยอะ และอีกหลายๆอย่างที่เป็นประโยชน์ มีการเสนอไอเดียในที่ประชุม ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมรวมถึงการออกไปสำรวจสถานที่จริง โดยศึกษาถึงการใช้งานจริงและสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนา และปรับปรุงออกมาเป็น prototype ในเวลาเพียง 48 ชั่วโมงเท่านั้น
- การทำงานแนวการสร้างนวัตกรรม มีอยู่ 2 แบบ คือ
1. ทำความคิดสร้างสรรค์เอาไปขาย ซึ่งอาจจะเป็นการทำตาม requirement ของลูกค้า หรือทำแล้วจะมีลูกค้ามาซื้อ เป็นการทำโดยงาน
2. มีความสุขเพราะทำด้วยใจรัก (อันนี้อาจจะหายากสำหรับบางคนนะ)
- ในอุตสาหกรรมการผลิต เราต้องหาโจทย์ก่อน โดยผู้ประกอบการต้องการทำให้ขายได้ผลกำไรสู่บริษัท ในตอนนี้ต่างจากเดิมมาก เพราะเดิมทีจะเป็นนวัตกรรมที่จับต้องได้ แต่ตอนนี้เป็นนวัตกรรมที่จับต้องไม่ได้ และนวัตกรรมที่จับต้องไม่ได้จะอยู่ในนวัตกรรมที่จับต้องได้ เช่น โทรศัพท์มือถือของพวกเราๆนี่แหละ ดังนั้นจึงทำแบบเดิมไม่ได้ (ดูทาง apple, google และ samsung เป็นตัวอย่างได้เลยในจุดๆนี้)
- Schumpeter Innovation & Corporate มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ส่วนภายในบริษัท : มี product ใหม่ และการสร้างนวัตกรรม process ใหม่ โดยใช้เทคโนโลยี และการจัดการองค์กร
2. ส่วนภายนอกบริษัท : supply ของตลาด มี product และ process เหมือนกัน
3. ส่วนภายนอกบริษัทอีกเช่นกัน แต่พบน้อยมากๆ คือ การสร้างตลาดใหม่ เช่น low cost airline เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงตลาด และวิธีการบริหารจัดการใหม่ อันนี้แทบไม่ค่อยพบเห็น
- timeline ของการสร้มงนวัตกรรมในแต่ละยุคสมัย ค่อนข้างต่างกันด้วยเวลาและสภาพสังคม
•ในศตวรรษที่ 19 ยุคเครื่องจักรไอนํ้า เป็นนักประดิษฐ์ที่ทำงานคนเดียว บ้านค่อนข้างมีฐานะ ทำเพราะชอบและอยากทำจริงๆ ได้ prototype ซึ่งยุคต่อๆมานำมาต่อยอดและขายออกสู่ตลาด
•ศตวรรษที่ 20 เป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีกระบวนการสร้างนวัตกรรม
•ศตวรรษที่ 21 เป็นนวัตกรที่มีความหลากหลายอาชีพ หลากหลายสาขามารวมกัน มีระบบเกิดขึ้น บางทีเป็น user สร้างนวัตกรรมเองด้วย
- คุณภาพชีวิตของสังคมเมือง ก็เป็นการจัดการเชิงนวัตกรรมอีกอย่างอื่น โดยมีหลายๆประเด็นที่จับต้องได้ เช่น การขนส่ง สุขภาวะ เศรษฐกิจ ชุมชน รวมไปถึงสิ่งที่จับต้องยาก คือ ปัจเจกและอัตลักษณ์ (กลุ่มคน) มีประเด็นในการทำนวัตกรรม เช่น ลดความเหลื่อมลํ้า เข้าถึงง่าย คนจนสามารถเข้ามาใช้ได้ เป็นต้น
- ตัวอย่างงานวิจัยที่อาจารย์พันธุ์อาจได้ทำไว้ คือ โครงการลำพูน2027 ซึ่งแก้ปัญหาให้เมืองลำพูนน่าอยู่มากขึ้น, โครงการ 18 นวัตกรรมเมือง เปลี่ยนกรุงเทพ 2573 ซึ่งมองไปยัง 3 ประเด็นใหญ่ คือ เมืองสีเขียว เมืองแห่งกูเกิ้ล (ข้อนี้ขออธิบายชื่อแบบนี้คะ เป็นการใช้ internet เพื่อจัดการชีวิตให้ง่ายขึ้น) และเมืองแห่งผู้สูงอายุ (จำนวนมากขึ้น แต่คนหนุ่มสาวน้อยลง) ในโครงการนี้คิดเผื่อไปในอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็มีปรับเปลี่ยนบ้าง แต่ละข้อย่อยจะเป็นการดูว่าควรเน้นไปด้านไหนบ้าง, และโครงการ 10 เทรนด์สำหรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
Key note : สร้างแนวคิดตอบโจทย์ต่อสุขภาพ
เมื่อจบการอบรมเรื่องแรก มีการถ่ายรูปมอบของแก่วิทยากร ต่อด้วยการบรรยายเรื่องที่สอง "ปัญหาและความท้าทายต่อวงการแพทย์และสุขภาพ" โดย ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิยาลัยมหิดล ท่านเป็นอาจารย์หมอด้านออโธปิดิก ของศิริราชด้วย ในเวลา 9:50-10.30 เวลา 40 นาทีเช่นกัน (อาจารย์หมอบอกว่าท่านไม่ได้นอนมาหลายคืน เพราะทำสไลด์งานนี้ให้ทุกๆคนที่ไม่ใช่สายแพทย์ได้เข้าใจได้มากขึ้น หนูขอบคุณความทุ่มเทของอาจารย์หมอคะ)
- อาจารย์หมอบอกว่าบางเคสพบเห็นในช่วงวันที่หมอหยุด (ฮา)
- progress of health care ตามปกติของคุณหมอ : prevention -> diagnosis -> treatment -> post treatment
- ปัญหาทางการแพทย์ที่อาจารย์หมออธิบาย มี congenital การจัดการให้ดีขึ้น ในตอนนี้มีโรคพวก NCD คือกลุ่มโรคหาเรื่องใส่ตัว (หมอไม่ได้อยากให้คนไข้เป็น แต่คนไข้ดันทำให้เป็นเอง) เช่นโรคถุงลมโป่งพอง (สูบบุหรี่) โรคตับ (กินเหล้า)
- ตอนนี้เริ่มใช้เทคโนโลยีในการรักษามากขึ้น, biointelligence age กราฟกำลังขึ้น
Key note : นวัตกรรม มีแบบ physical และ social เช่น การรัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นนวัตกรรมใหม่เหมือนกัน เพราะถ้าใช้มุขเดิมคงไม่ได้ผล (จริงแหะ ฮา)
- อธิบาย progress of health care อย่างละเอียดในแต่ละข้อ
•prevention การป้องกันโรค นำไปสู่การเฉพาะเจาะจง หรือ detect, การผ่าตัดระดับเซลล์จะมาในอนาคต อาจารย์ยกเคสของโรคติดต่อทางพันธุกรรมมา ป้องกันขึ้นแรก คือการจัดการตัวต้นเหตุตั้งแต่ต้น การปฏิสนธินั่นเอง (diagnosis), antibiotics (immunization, protection)
•diagnosis มีหลายระดับด้วยกัน เช่น physical exam ในระดับ physical, chemistry (เช่น การตรวจเลือด) ในระดับ micro, marker และ gene study ในระดับ molecular ตอนนี้ถึงอนาคตจะมี remote diagnosis (mobile) เช่น การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ, การใช้ image processing ทำภาพ 3D ขึ้นมา, การ skype หาคุณหมอ เป็นต้น
Key note : อาจารย์หมอเล่าว่า เมื่อก่อนลูกชายอาจารย์หมอซึ่งเป็นหมอเหมือนกัน นำผลx-rayออกมาไม่ได้ เพราะเป็นกฏของโรงพยาบาล ห้ามนำออก ตอนนี้ลูกชายอาจารย์หมอส่งเคสหาอาจารย์หมอผ่านไลน์ได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
Key note : ระบบ online, เป็นเบอร์ 1 ในสายนั้นๆให้ได้ เพราะมีโอหาสถูกใช้งานหรือซื้อบริการสูง, การเดินทางทางสายไฟ เช่น ส่งผลในแต่ละเคสไปตรวจที่ต่างประเทศ เราสามารถส่งได้รวดเร็วและรับได้รวดเร็วเช่นกัน ประหยัดเวลา ไม่ต้องมีการขนส่งด้วย
•treatment มี 2 แบบ คือ
1. ไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่ การรักษาทางเคมี เช่นรับยากลับไปทานที่บ้าน, การรักษาผ่านคลื่น และการรักษาแบบ physical เช่น assistive devices สำหรับคนอัมพาต
2. ผ่าตัด ได้แก่ logistic คือการขนส่งคนไข้ และ mobile OR การสั่งงานนอกสถานที่, training มีแบบ virtual สำหรับการรักษาที่มีเคสน้อย และไม่มีอาจารย์หมอที่เชี่ยวชาญ และแบบ navigation การนำเส้นทางในการผ่าตัดภายใน, setting ใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย และ devices เช่น การเปลี่ยนอวัยวะเทียมให้ผู้สูงอายุ
Key note : setting และ device สำคัญมากๆในตอนนี้
Key note : อาจารย์หมอแซวว่า ถ้าเล่นเกมส์เป็น ก็สามารถฝึกผ่าตัดผ่านเครื่องมือได้555
- เคสตัวอย่าง ที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์หรือนวัตกรรมทางการแพทย์ในอนาคต
•การผ่าตัดมดลูก โดยใช้ภาพเสมือน 3D
•Operating Room (OR) ห้องที่พร้อมผ่าตัดได้เลย
•navigation การนำทางของหุ่นยนต์ ทำให้การผ่าตัดแม่นยำขึ้น ทดแทนการ x-ray ในบางช่วง เช่น การผ่าตัดสมอง ถ้าโดนผิดจุด จะทำให้เซลล์สมองตายได้
•daVinci robotic system หุ่นยนต์ที่มีต้นแบบมาจากดาวินซี นักวาดชื่อก้องโลกที่มีความสามารถหล่กหลาย รวมทั้งด้านอนาโตมีด้วย เป็นการนำ robot มารวมกับ ความแม่นยำ นำไปผ่าตัดต่อมลูกหมาก ซึ่งมีเส้นประสาทมากมาย ................... เป็นบริการการผ่าตัดที่จับต้องไม่ได้ จ่ายราคาแพงแต่ตอบโจทย์คนไข้อย่างดี (บางเรื่องก็พูดไม่ได้เต็มปากเต็มคำอะนะ)
•tele-surgery การผ่าตัดทางไกล
•fracture fixation ที่ยึดกระดูกที่หัก โดยผ่าตัดและดามเข้าไปข้างในกระดูก เช่น plate & nail ที่คิดค้นโดย หมอ 4 คน และวิศวกร 1 คน
•ข้อเทียม สำหรับผู้สูงอายุที่ข้อเสื่อม ซึ่งออกแบบเฉพาะ ให้ใช้งานได้ตามปกติ วัสดุเป็นโลหะ
•artificial retina สำหรับคนตาบอด
Key note : อาจารย์หมอฝากเรื่อง material
หลังจากจบครึ่งแรกของการอบรมนั้น ก็ได้เวลาอาหารว่าง ที่ทางเดินมีการจัดแสดงผลงาน มีทั้งน้องดินสอ ผลงานจาก bartlab ของภาคไบโอ (ชมรมหนึ่งของภาควิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ทั้งหุ่นยนต์ผ่าตัด (ที่ออกหน้าออกตาหลายๆงานจนเราไม่ตื่นเต้นกับมันเท่าไหร่) และงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง คือนำผู้ป่วยจริง มาใส่เครื่องสื่อประสาท เพื่อสั่งการให้ทำงานตามต้องการได้ อาหารว่างตอนเช้านั้น มีแซนด์วิชของ UFM และชาลิปตัน เนสกาแฟ โอวันติน ให้เลือกทานตามสะดวก เมื่อทานของว่างเสร็จ ก็ได้แวะดูผลงานที่จัดแสดงไว้ ระหว่างนั้น ณ ห้องกลมๆ มีการถ่ายทำวิดีโออะไรสักอย่าง มีคนสาวแต่งตัวแก่ๆ มาแนะนำการใช้น้องดินสอ กต่เราไม่ได้ถ่ายรูปไว้ เกรงใจพี่สาวสุดสวยในนั้น แหะๆ (พบว่าในคืนนั้นออกอากาศช่อง 7 ในดินฟ้าอากาศ แบบตื่นเต้นตกใจในหน้าทีวี 55)
เมื่อพักผ่อนอิริยาบทตามสมควร ก็กลับไปฟังบรรยายเรื่องต่อไป แต่มีการสลับคิวกันนิดหน่อย เป็นเรื่อง "ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดด้านการแพทย์และสุขภาพ" โดย คุณกำธร กาญจนวตี กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุพรีม โพรดักส์ จำกัด ในเวลา 10:50-11:30 ใช้เวลา 40 นาทีเช่นกัน
Key note : R&D ด้านการแพทย์
- ทำไมต้อง medical robotics เพราะไทยสามารถเป็น medical hub มีโรงพยาบาลเครือข่ายติดอันดับโลก, โรงพยาบาลในเครือข่ายกระจ่ายทั่วถึง, มีโรงพยาบาลหรือศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัย 120 แห่ง, โรงพยาบาลชุมชนของรัฐ 700 กว่าแห่งและของเอกชน 200 แห่ง, มีคลีนิคชุมชนกว่า 12,000 แห่ง, มี อสม. มากกว่าล้านคน, อากาศที่พอดีกับการบริการ medical tourism ( เช่น สปา ) และ long stay, ตลาดในประเทศมีศักยภาพเพียงพอในบางพื้นที่
- ปัญหาสำคัญ คือ ขาดบุคลากรทางการแพทย์ (หมอ พยาบาล เภสัชกร ในพื้นที่ห่างไกล), การนำด้าน IT เข้าช่วยในการ connect network
- ระบบ health logistics ที่ดี สามารถกระจายทั่วถึงในที่ที่ห่างไกล เช่น รถขนยา รถขนคนไข้ส่งโรงพยาบาล
- ตัวช่วย คือ medical robotic เช่น หุ่นยนต์ดาวินซี การผ่าตัดต่อมลูกหมาก เครื่องจ่ายยา น้องดินสอ และ M-Health กำลังรอส่วนนี้อยู่ ทำหน้าที่ประสาน tran-service
Key note : ไทยใช้ application มือถือติดอันดับโลก, บุคลากรด้านหุ่นยนต์มีคุณภาพโรงงานชิ้นส่วนใกล้เคียงรถยนต์
Key note : จริงๆแล้วน้องดินสอเป็นนวัตกรรมที่ไม่ใหม่และลํ้ามากๆเท่าไหร่ ทางญี่ปุ่นมีนวัตกรรมที่เจริญกว่าอยู่แล้ว แต่ยังต้องการแบบง่ายๆและตอบโจทย์อย่างน้องดินสออยู่ จึงทำตลาดในญี่ปุ่นได้
- robot ช่วยแบ่งเบาภาระงานในโรงพยาบาลได้
- เมืองจีนทำ telemed หรือ robot kiosk กันเยอะ ซึ่งยังไม่เป็น robotic (คือหุ่นยนต์ต้อนรับคนไข้นี่แหละ เป็นตัวหุ่นแล้วมีหน้าจอเป็นหน้าคน)
- ห้องยา มีค่าใช้จ่ายเป็น 50% ของโรงพยาบาล ใช้ทั้ง OPD และ IPD (ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน) ใช้ robot และ telepharmacy ในการแก้ปัญหา (ระบบห้องจ่ายยา)
- ห้องผ่าตัด (อ้างอิงจากที่อาจารย์หมออธิบาย) มีหุ่นยนต์ดาวินซี เครื่องละ 100 กว่าล้าน ในไทยมีเพียง 3-4 เครื่องเท่านั้น, intraoperstive CT/MRI ซึ่ง intraoperstive มาจาก intra + operstive โดย intraoperstive CT เป็นการผ่าตัดนำวิถี อยู่ในห้องผ่าตัด ใช้ได้หลายคน เป็นห้อง 3D neuro ในอนาคตจะมีหุ่นยนต์ในการผ่าตัดจะมีมากขึ้น
Key note : หุ่นยนต์ด้านการแพทย์บางตัว เป็น open source สามารถนำไปศึกษาและต่อยอดได้
- การผ่าตัดกระดูก ใช้สามมิติ มีความแม่นยำ, ใช้ 3D printing พิมพ์จากโลหะ เช่นไทเทเนียม ทำชิ้นส่วน
- scrub nurse คือ พยาบาลที่ส่งเครื่องมือให้หมอ หรือผู้ช่วยหมอ ขาดแคลนบุคลากร เพราะหมอทำงานหนัก เลยโอนงานไปให้พยาบาล ทำให้พยาบาลงานหนักขึ้น ทำ OT เยอะ ทำให้พยาบาลขาด จึงใช้ robot แก้ปัญหา ช่วยลดงานหนักของพยาบาล ลดความล้า ประหยัดพื้นที่ ไม่ลืมเครื่องมือผ่าตัดหรือผ้าก๊อซในตัวคนไข้
- ใช้ sliver nano ในการฆ่าเชื้อโรค
- หุ่ยนต์กายภาพบำบัดมีจำนวนน้อย ขาดแคลนในท้องตลาด
- เตียงอัจฉริยะ และ wheelchair อัจฉริยะ ในหัวข้อนี้ มีวิดีโอให้ดูด้วย คนไข้ไม่อยากนอน ไม่อยากนั่ง wheelchair ตลอดชีวิต อยากออกไปเดินเหมือนคนอื่นๆบ้าง, ควรจะมีโปรแกรมบอกว่ากำลังตกเตียง หรือรถถูกเข็นไปไหน
- การตรวจสุขภาพป้องกันโรค การมี telemedicine + robot + telepharma เป็น kiosk แบบเครื่องที่หรือ fixed, M-Health
Key note : home care
จากนั้น เป็นการบรรยายเรื่องสุดท้าย สไลด์มาใหม่ๆร้อนๆเลยทีเดียว (เนื่องจากตอนมา มีแค่ 3 เรื่องแรก) "เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อการพัฒนา" โดย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในเวลา 11:30-12:10 ใช้เวลาเท่ากัน คือ 40 นาที แต่สไลด์ค่อนข้างหนากว่าท่านอืื่นๆ ในช่วงแรกอาจารย์ประสบการณ์ หรือแนะนำตัวว่าเรียนจบอะไรมา เคยทำงานที่ไหน ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาบรรยาย
- คำว่า robot มาจากละครเวทีเรื่องหนึ่ง
- ประเภทของหุ่นยนต์ คือ service robot หุ่นยนต์บริการ, mobile robot หุ่นยนต์มือถือ, modular robot หุ่นยนต์ประกอบร่างหรือเปลี่ยนรูปร่าง มีพัฒนาการ, collaborative robots หุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับคน, industrial robots หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
- ตัวอย่างหุ่นยนต์ที่รู้จัก เช่น หุ่ยนต์อาชิโม หุ่นยนต์เล่นไวโอลีนของโตโยต้า หุ่นยนต์ดูดฝุ่นของ iRobot
- ทฤษฎีหุ่นยนต์เบื้องต้น คำนึงถึงตำแหน่งและทิศทาง
- ส่วนประกอบหุ่นยนต์เบื้องต้น ประกอบด้วย joint ข้อต่อ, link กระดูก, sensor เช่น กล้อง ตัวเข้ารหัส โดยมีตัวควบคุมหุ่นยนต์ ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ตอกตะปู
Key note : นอกจากจะตอบโจทย์ได้แล้ว ต้อง certified ได้ด้วย ว่าใช้กับคนได้ มีมาตรฐาน CE, UL ว่าปลอดภัย
Key note : material ต้องได้รับ ISO
- medical protocols (ในส่วนนี้จะคล้ายๆของอาจารย์หมอ) มี prevention ป้องกัน, diagnosis แก้ไข, treatment การรักษา, และ rehabilitation การฟื้นฟู โดยมีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการผ่าตัด ซึ่งเป็นองค์ประกอบ
- การผ่าตัดสมัยนี้ ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ มีระบบที่ซับซ้อนกว่า และกลับบ้านได้เร็ว
- ระบบหุ่นยนต์ดาวินซี เป็น tele surgery
- การฟื้นฟู เช่นการกายภาพบำบัด มีปัญหาคือผู้ป่วยไม่มีนักกายภาพบำบัดดูแลตลอดเวลา จึงใช้หลักการ robotic มาทำอุปกรณ์ช่วย เช่น ReWalk ทำให้ผู้ที่เดินไม่ได้ สามารถเดินได้เอง
- มีเครือข่ายงายวิจัยหุ่นยนต์ทางการแพทย์ทั่วโลก
หลังจากบรรยายในช่วงเช้าเสร็จสิ้น ก็ได้เวลาข้าวเที่ยง แต่เดี๋ยวก่อนคะ พี่พิธีกรให้ทุกคนผู้ร่วมงานทุกท่านมาถ่ายรูปร่วมกัน และได้บอกว่าเหลือที่นั่ง workshop รอบบ่าย 5 ที่นั่งสุดท้าย จากนั้นจึงจะแยกย้ายไปกินข้าวเที่ยง ซึ่งบัตรเงินสดที่ให้มาตอนเช้านั้น มีเงินในนั้น 150 บาท และบอกว่าจะกันที่ไว้ให้พวกเราด้วย เย้ ^_^
ขอบคุณรูปจากเพจ TCELS
นี่แค่ช่วงเช้าเท่านั้น ช่วงบ่ายต่อตอนหน้าจ้า สนุกไม่แพ้กันเลยเนอะ
- ประเภทของหุ่นยนต์ คือ service robot หุ่นยนต์บริการ, mobile robot หุ่นยนต์มือถือ, modular robot หุ่นยนต์ประกอบร่างหรือเปลี่ยนรูปร่าง มีพัฒนาการ, collaborative robots หุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับคน, industrial robots หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
- ตัวอย่างหุ่นยนต์ที่รู้จัก เช่น หุ่ยนต์อาชิโม หุ่นยนต์เล่นไวโอลีนของโตโยต้า หุ่นยนต์ดูดฝุ่นของ iRobot
- ทฤษฎีหุ่นยนต์เบื้องต้น คำนึงถึงตำแหน่งและทิศทาง
- ส่วนประกอบหุ่นยนต์เบื้องต้น ประกอบด้วย joint ข้อต่อ, link กระดูก, sensor เช่น กล้อง ตัวเข้ารหัส โดยมีตัวควบคุมหุ่นยนต์ ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ตอกตะปู
Key note : นอกจากจะตอบโจทย์ได้แล้ว ต้อง certified ได้ด้วย ว่าใช้กับคนได้ มีมาตรฐาน CE, UL ว่าปลอดภัย
Key note : material ต้องได้รับ ISO
- medical protocols (ในส่วนนี้จะคล้ายๆของอาจารย์หมอ) มี prevention ป้องกัน, diagnosis แก้ไข, treatment การรักษา, และ rehabilitation การฟื้นฟู โดยมีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการผ่าตัด ซึ่งเป็นองค์ประกอบ
- การผ่าตัดสมัยนี้ ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ มีระบบที่ซับซ้อนกว่า และกลับบ้านได้เร็ว
- ระบบหุ่นยนต์ดาวินซี เป็น tele surgery
- การฟื้นฟู เช่นการกายภาพบำบัด มีปัญหาคือผู้ป่วยไม่มีนักกายภาพบำบัดดูแลตลอดเวลา จึงใช้หลักการ robotic มาทำอุปกรณ์ช่วย เช่น ReWalk ทำให้ผู้ที่เดินไม่ได้ สามารถเดินได้เอง
- มีเครือข่ายงายวิจัยหุ่นยนต์ทางการแพทย์ทั่วโลก
หลังจากบรรยายในช่วงเช้าเสร็จสิ้น ก็ได้เวลาข้าวเที่ยง แต่เดี๋ยวก่อนคะ พี่พิธีกรให้ทุกคนผู้ร่วมงานทุกท่านมาถ่ายรูปร่วมกัน และได้บอกว่าเหลือที่นั่ง workshop รอบบ่าย 5 ที่นั่งสุดท้าย จากนั้นจึงจะแยกย้ายไปกินข้าวเที่ยง ซึ่งบัตรเงินสดที่ให้มาตอนเช้านั้น มีเงินในนั้น 150 บาท และบอกว่าจะกันที่ไว้ให้พวกเราด้วย เย้ ^_^
ขอบคุณรูปจากเพจ TCELS
นี่แค่ช่วงเช้าเท่านั้น ช่วงบ่ายต่อตอนหน้าจ้า สนุกไม่แพ้กันเลยเนอะ
ป้ายกำกับ: course & workshop
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก