วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

ชาร์ลสและเรย์ อีมส์ สองบุคคลสุดเจ๋ง จากนิทรรศการ essential EAMES icon of 20th century design ต้นแบบงานดีไซน์แห่งศตวรรษที่ 20






วันนี้ได้มาเยี่ยมชมนิทรรศการ essential EAMES icon of 20th century design ต้นแบบงานดีไซน์แห่งศตวรรษที่ 20 ที่ TCDC ซึ่งจัดวันที่ 20 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2558 (วันที่ไปเป็นวันแรกนี่นาาา ><~) บอกเล่าถึงบุคคลสองท่าน คือ ชาร์ลส์และเรย์ อีมส์ ซึ่งหลายๆท่านอาจจะคุ้นเคยกับผลงานเฟอร์นิเจอร์ของทั้งสองท่าน สำหรับใครที่ไม่รู้จักสองท่านนี้ (เช่นเรา) จะได้รู้จักทั้งชีวประวัติ และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ เราว่าสองท่านนี้เจ๋งมากเลยนะ ทั้งเรื่องผลงาน และ lifestyle เช่น เก้าอี้ออฟฟิค อาคารเหล็กหลังแรกของโลก รูปถ่าย มาชมแล้วจะได้อะไรกลับไปเพียบเลยคะ :) ซึ่งนิทรรศการนี้ สร้างจากหนังสือ An Eames Primer แต่งโดยอีมส์ ดีมีเทรียส หลานชายของชาร์ลส์และเรย์ อีมส์ ได้บอกเรื่องราวของทั้งสองท่านดังนี้



- ชาร์ลส์และเรย์ Charles & Ray
ประวัติของชาร์ลส์และเรย์ อีมส์ ชาร์ลส์ อีมส์ เป็นคนที่เก่งและมีพรสวรรค์ เพื่อนๆในรุ่นคิดว่าเขาไปได้ไกที่สุด ตอนที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัย มีเหตุดราม่ากับมหาวิทยาลัยจนเกือบไม่ได้เรียนต่อ แต่สุดท้ายก็ได้รัทุนการศึกษาจนศึกษาจบ ส่วน เรย์ อีมส์ เป็นศิลปินมากความสามารถ วาดรูปเก่ง แต่ไปเรียนด้านสถาปัตย์ มีคนสงสัยว่าทำไมไม่ไปเรียนด้านศิปะ เรย์ตอบว่าก็เป็นแค่เปี่ยนจานสีเท่านั้นแหละ (คือคนเขาชอบแบบนี้อ่ะ) ทั้งสองได้พบกันครั้งแรกที่วิทยาลัยศิลปะแครนบรู๊ก ในฐานอาจารย์และลูกศิษย์ และได้เริ่มต้นชีวิตที่แคริฟอร์เนีย ท่านทั้งสองได้สร้างผลงานมากมาย ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะและวิทยาศาสตร์ และการใช้งาน

ตรงหน้าทางเข้าเลยคะ ฝั่งซ้ายเป็นประวัติของชาร์ลส์ ฝั่งขวาเป็นประวัติของคนทั้งคู่
พูดถึงชาร์ส์และเรย์คะ มีแสตมป์พร้อมกรอบรูป ราคาแพงอยู่ แต่เอค่ามากบอกเลย
เราจะเรียกว่าคู่รักขวัญใจฮิปสเปอร์ได้ไหมคะ ><
ฝั่งขวา คือ ถ่ายรูปประกอบการ์ดวันคริสมาตคะ
ผลงานการวาดภาพของเรย์ รูปถ่ายหน้าแมวด้านบนแสดงถึงความไม่เหมือนใครของเรย์
- ไทมไลน์ Timeline
ลำดับเหตุการณ์ระหว่างเหตุการณ์สำคัญของโลก และลำดับผลงานของชาร์ลส์และเรย์ อีมส์

เปรียบเทียบประวัติศาสตร์
- เงื่อนไขและข้อจำกัด Constraints
การทำงานใต้เงื่อนไขและข้อจำกัด ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการออกแบบของชาร์ลส์และเรย์ ในส่วนนี้เขาจะแยกส่วนเก้าอี้ดำตัวนี้ (ซึ่งเราจะเห็นอีกหลายที่ของนิทรรศการเลย) วัสดุตั้งต้นจะเป็นไม้อัดที่โค้งเข้ารูปกันกับก้น มีเบาะหนังสีดำ มีส่วนของเก้าอี้แะที่วางเท้า แต่กว่าจะได้แบบนี้ต้องผ่านกระบวนการคิดค้นวิจัยก่อนคะ นอกจากจะเรื่องวัสดุ ความแข็งแรง ขนาด ราคา รูปทรงแล้ว ยังมีเรื่องของสุขภาพของผู้ใช้มาเกี่ยวข้องด้วย
Q&A
DESIGN Q &A (1972)
(ที่งานมีซับไทยด้วย)

แยกส่วนกันให้เห็น
เห็นถึงกระบวนการและการใช้งานเลยทีเดียว
- แขกกับเจ้าของบ้าน Guest Host
การออกแบบที่นึกถึงประโยชน์การใช้งานเป็นหลัก มองว่าผู้ใช้เป็นแขกของบ้าน เช่น ราวแขวนของ ที่นอกจากจะแขวนของได้แล้ว สวยงามปลอดภัยแล้ว เด็กๆชอบและเล่นได้ด้วย

อีมส์เห็นถึงความต้องการของหลานๆ และการใช้งานด้วย
- สตูดิโอ 901 Studio 901
สตูดิโอของชาร์ลส์และเรย์ ตั้งอยู่ที่ 901 วอชิงตันบูเลอวาร์ด ครบครันไปด้วยห้องล้างและอัดรูป ฉากถ่ายหนัง ห้องฉายหนัง ห้องสุด ห้องครัว และพื้นที่ปิกนิค อันเป็นพื้นที่การสร้างสรรค์ผลงานของทั้งสองอย่างครบวงจร นอกจากนั้นยังเห็นบรรยากาศการทำงาน ความรักใคร่สามัคคีในทีม อีกด้วย

work hard, play hard เนอะ ต้องขยัน ฮึบๆ
- สถาปัตยกรรม Architecture
Case Study House #8 เป็นอาคารที่สร้างด้วยโครงเหล็กสำเร็จรูป ถือเป็นบ้านหลังสำคัญ สร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่นอกจากจะตอบโจทย์ถึงความต้องการในเรื่องที่อยู่อาศัยในช่วงหลังสงครามโลกแล้ว ยังเป็นต้นแบบของบ้านในปัจจุบันที่สร้างด้วยโครงเหล็กสำเร็จรูป ซึ่งเป็นบ้านที่ชาร์ลส์และเรย์ อีมส์ อาศัยอยู่จนวาระสุดท้ายของชีวิต มีการพัฒนาไปเป็น Case Study House #9 ด้วย

เรย์พูดถึง Case Study House #8
ตู้และโต๊ะ ตู้เป็นตู้ใส่ของของเรย์คะ
ตัวโต๊ะออกแบบได้แปลกแต่เรียบง่าย ราคาเป็นแสนเชียวนะคุณ
Case Study House #8

- รูปถ่าย 100photo
รูปถ่ายของชาร์ส์และเรย์ ทางงานจัดแสดงโดยการฉายภาพ projector 4 จอ มีที่นั่งดูภาพสวยๆ และจัดแสดงภาพทั้ง 100 ภาพให้เห็นของจริงอีกด้วย ภาพขาวดำสวยมากจริงๆคะ ถือเป็นแบบอย่างที่ดีในการถ่ายรูปเลยนะเนี่ย

การถ่ายภาพเป็นสิ่งที่สร้างความจดจำต่อเหตุการณ์นั้นๆได้
รูปขาวดำสวยมากจริงๆคะ ขลังและมีพลัง
นั่งดูเพลินเลยคะ รูปภาพสวยๆแบบนี้
รูปภาพอื่นๆ ที่เวียนมาฉายในโปรเจกไทล์ เอ้ยย โปรเจกเตอร์
ของจริงภาพก็สวยคมชัด บ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ด้วยคะ
- นิทรรศการ Exhibition
ทั้งคู่มองเห็นการให้การศึกษาผ่านนิทรรศการ จึงมีนิทรรศการให้ความรู้ที่จัดโดยทั้งคู่ เช่น กลิมพ์ซิส ออฟ เดอะ ยูเอสเอ พรีเซนต์เทชั่น 7 จอที่ทำขึ้นเพื่อแสดงถึงความเป็นอยู่ของคนในสหรัฐอเมริกา, นิทรรศการ Mathematica: A wolrd of number ... and beyond หัวข้อถัดไป

กลิมพ์ซิส ออฟ เดอะ ยูเอสเอ
- แมทแมติกา Mathematica
ทั้งคู่ได้ร่วมกันออกแบบนิทรรศการ Mathematica: A wolrd of number ... and beyond ซึ่งอธิบายเรื่องคณิตศาสตร์ให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายขึ้น และเราสามารถเรียนรู้ได้ผ่าน App store สำหรับ iPad ชื่อแอป Minds of Modern-Mathematics คะ ซึ่งมีข่าวในเว็บ ibm ด้วยนะ

TOPOLOGY

มีการอธิบายด้วยว่า ทำให้ง่ายขึ้นอย่างไร
มีแอป Mind of Modern-Math ให้เล่นด้วยนะ
มีให้เลือกศึกษานักคณิตศาสตร์แต่ละท่านด้วย เช่น Fibomacci คะ
- ของเล่น Toys
"จงจริงจังกับเรื่องเล่น" เพราะอะไร เพราะว่าการเล่นนอกจากจะเป็นการผ่อนคลายสมองแล้ว ยังคิดไอเดียใหม่ๆ มาสร้างสรรค์ผลงานเอาใจเด็กๆ อย่างหลานๆของอีมส์ เช่น เก้าอี้ช้างตัวน้อยๆ ที่ดูน่ารักน่าเอ็นดู สีสันสดใส และยังนั่งได้ด้วย เป็นผลงานที่เด็กๆชอบใจด้วย ชิ้นที่เด็ดที่สุด คือ House of Card เป็นการ์ดเหมือนเท่าไพ่ที่เราเล่นกัน แต่มีการเจาะช่องไว้เพื่อประกอบร่างเป็นรูปต่างๆ ทำเพื่อเอาใจหานเช่นกัน ด้วยความสวยงาม ประกอบได้ เช่น สะพานโค้ง ตึก ไม่มีพิษภัย ทำให้ House of Card สามารถขายได้ ถือเป็นของเล่นสร้างชื่อเลยก็ว่าได้ ซึ่งราคาชุดการ์ดนี้จาก MoMA store อยู่ที่ 25.00$ คะ ส่วน Amazon แพงกว่านิดนึงคะ อยู่ที่ประมาณ 30.00$ คะ เงินไทยประมาณพันนึงคะ (แบบปัดเศษขึ้นเต็มที่คะ)

ในส่วนนี้ นอกจากจะดูของเล่นแล้ว เราสามารถนั่งเก้าอี้รูปชช้างส่องกล้องรูปภาพสามมิติได้ด้วย มีสามตัว แต่ละตัวมีหกภาพ ถือว่าย้อนกับไปเป็นวัยเด็กได้อย่างดีเลยหล่ะ

เก้าอี้น้องช้าง
บรรดาน้อง ช ช้าง และ การประกอบร่างของการ์ด
มีกล้องสามมิติให้เล่นด้วย ภาพด้านในมีเก้าอี้ของอีมส์ และอื่นๆ
สะพานโค้งสุดยอด
การ์ดลายสวยจุง
- เรื่องเล่าผ่านภาพยนตร์ Flim as easay
อีมส์สนใจการสื่อสารผ่านภาพยนตร์ มีผลงานหนังสั้น 125 เรื่อง ใน 28 ปี เรื่องเด่นๆ มี Power of Ten, SOLAR DO-NOTHING MACHINE, Toccata for Toy Trains, Toy และ Stills from Blacktop ในงานมีการฉายหนังห้าเรื่องพวกนี้ให้ดูด้วยหล่ะ (มีแปะไว้ที่พนังคะ อ่านดูเพื่อความแน่ใจเนอะ) แต่หากใครไม่มีเวลาชม สามารถหาได้ที่เว็บหลัก และสับตะไคร้ เอ้ยยย subscript ที่ youtube channel ได้คะ เป็น official เลยคะ

Powers of Ten™ (1977) ขยายโลกสิบเท่าๆ

SOLAR DO-NOTHING MACHINE หนังชิวๆ

ข้อมูลหนังของสำนักงานอีสม์
ห้องฉายหนัง อยู่หลังฉาก ถ้าไม่ได้ตั้งใจหาก็ไม่เจอ ไม่มีคนด้วย

- ความคิดแวบเดียวที่กินเวลา 30 ปี ตอน 1 30 years flash part 1
ชาร์ส์ได้คิดค้นและพัฒนาเก้าอี้แบบซิงเกิ้ลเซลส์ (เก้าอี้ที่ผลิตจากวัสดุเดียวกัน ทั้งพนักพิง ที่วางแขน) โดยตั้งต้นจากไม้อัด พัฒนาเรื่องการดีไซน์ และการใช้งานเป็นหลัก ในเมื่อการผลิตเก้าอี้เป็นจำนวนมากทำได้ไม่สำเร็จ แต่ตัวไม้อัดเองก็ถูกนำไปทำอย่างอื่น เช่น เครื่องบิน เปลคนไข้ (ซึ่งอันนี้ไม่รอด) และเฝือก (ซึ่งใช้งานได้ดี) ชาร์ลส์เคยไปเอาไฟฟ้าจากสายไฟแถบนั้นมาทำเป็นเครื่องผลิตไม้อัดรูปทรงแปลกๆ ตัวเขาเองก็กลัวโดนซ็อคตายแหละ แต่การทำนี่ถือว่าทำตัวขึ้นรูปไม้อัดด้วยไฟฟ้าสำเร็จ (อ่านแล้วเสียวแทน หนูๆอย่าเลียนแบบนะ)

ความเป็นมา
ละลานตาด้วยเก้าอี้มากมาย
รูปทรงที่นั่งได้สบาย ไม่เจ็บก้น
- ความคิดแวบเดียวที่กินเวลา 30 ปี ตอน 2 30 years flash part 2
จริงๆส่วนนี้ก็อยู่ที่เดียวกับ part 1 นี่แหละ แต่เป็นวิวัฒนาการที่เพิ่มขึ้น

ผลิตมากขึ้น ให้ต้นทุนน้อยลง ได้จำนวนเยอะ แถมของคุณภาพดีด้วย
เมื่อไม้อัดมีข้อจำกัด จึงทดลองเปลี่ยนเป็นวัสดุอื่นๆ เช่นพลาสติก โลหะ ซึ่งตัวพลาสติกสามารถตอบโจทย์การผลิตเป็นจำนวนมากๆได้ มีคนช่วยทำเก้าอี้ด้วย เป็นตัวละครลับเลย เป็นช่างที่ช่วยทำเก้าอี้ แล้วก็มีคนช่วยออกทุน และให้อีมส์ตอบแทนประมาณนี้ สุดท้ายเขาให้ทำเก้าอี้ที่บุหนังรองนั่งนี่แหละ ซึ่งนั่นคือเก้าอี้ผู้บริหารนี่เอง

เก้าอี้ที่ฉีกกรอบจากวัสดุไม้อัด มาเป็นเก้าอี้ที่เราพบเห็นได้ทั่วไป
จากเฝือกไม้อัด สู่โลหะ และมาลงตัวที่พลาสติก
แต่อันที่เป็นลวดน่าสนใจสุด สืบทราบราคาน่าจะห้าหมื่นฝ่าๆ
เก้าอี้โซฟา
- ความสัมพันธ์ Connection
บอกถึงการพัฒนาผลงานเก้าอี้ของอีสม์ ที่เฮอร์แมน มิลเลอร์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ยึดถือเป็นแนวทาง จากตอนแรกที่เป็นเฝือกไม้อัดธรรมดาๆ ปรับปรุงการออกแบบให้สอดคล้องกับกายภาพของมนุษย์มากขึ้น (เพราะแบบเดิมมีผลต่อสุขภาพ เลือดไหวเดินได้ไม่ดีงี้) และได้บอกเล่าถึงแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเป็นอย่างดี และเก้าอี้หลังๆนี่ เหมือนที่พบเห็นตามห้าง ในละคร ในออฟฟิคด้วยหล่ะ สังเกตุได้ว่า ตรงก้น จะถูกยกสูงเพื่อสอดรับกับสรีระร่างกายคน

วิวัฒนาการของเก้าอี้

โปสเตอร์โฆษณาเก้าอี้ เหมาะกับคนออฟฟิคเป็นอย่างดี

- ใบตองและโลตา Banana left & Lota
เล่าถึงปรัชญาการออกแบบของอีมส์ ที่พูดถึงใบตองใส่อาหารของชนชั้นวรรณะตํ่าสุดของอินเดีย  เมื่อมีความรู้ความเข้าใจ และก้าวข้ามขีดจำกัดของเรื่องสังคมได้ ตัวใบตองสามารถใส่อาหารได้โดยไม่มีหกหล่นเฟมือนจานชามปกติ และตัวโลต้า (ภาชนะใส่นํ้าของที่นั่น) ได้ผ่านการออกแบบจากรุ่นสู่รุ่น อีมส์มองว่าทั้งสองแบบนั้น เป็นการออกแบบโดยไม่ได้ตั้งใจตามธรรมชาติ

ใบตองของชนชั้นวรรณะตํ่าสุด และภาชนะเซรามิกและโลหะของชนชั้นสูง
โลต้า
เมื่อชนนิทรรศการเสร็จแล้ว ควรจะหยิบสูจิบัตรของนิทรรศการ และนิตยสารฟรีมาด้วย เล่มที่คนหันหลังนั่งเก้าอี้ ซึ่งจะกล่าวถึงชาร์ลส์และเรย์ อีมส์ รวมถึงบอกราคาของผลงานของทั้งคู่ให้ได้เลือกซื้อกันด้วยคะ


และอีกอย่างนึง มีเก้าอี้ขายที่ร้านของ TCDC ด้วยนะ ราคาก็สองหมื่นห้าขึ้นไป แล้วก็หนังสือตัวตั้งต้นของนิทรรศการนี้ หนังสือเกี่ยวกับอีมส์ มีหมดยกเว้นการ์ดคะ

เห็นงี้ เป็นหมื่นก่าๆนะจ๊ะ ดีไซน์ดี เบา สวย
ตัวนี้ประมาณสักสามหมื่นสองพันห้าร้อยบาทคะ
ปิดท้ายกันที่ 2015 TCDC Social club และ DEBUT by TCDCCONNECT คะ  

ในส่วน 2015 TCDC Social club เช่น Drivebot application และ hardware เพื่อช่วยในการตรวจสอบสภาพรถ (มีที่ debut wall ด้วยนะ), Fabcafe, Hubba co-workspace

2015 TCDC Social club
Fabcafe
ส่วน DEBUT by TCDCCONNECT มีหมุนเวียนจัดแสดงตลอด เปลี่ยนทุกสองเดือนคะ มีของน่าสนใจของผู้ประกอบการรายใหม่ๆ และนักคิดนักออกแบบคะ นอกจากจะมี Drivebot แล้ว มี paper story backdrop ดอกไม้กระดาษสวยๆในงานแต่ง ZIEGHT project การจัดแสงทางด้านภาพโดยใช้พวกหลอดไฟเป็นหลัก และอีกที่เหลือ ติดตามได้ที่นี่คะ เราสามารถส่งผลงานเราไปให้ทาง TCDCCONNECT พิจารณาได้ด้วยนะ เผื่อจะมีของเราติด debut wall บ้างคะ ><

debut wall
TED on เชียงใหม่
Drivebot 
Drivebot 
ZIEGHT




ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก