วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

สะท้อนมุมมองอนาคต กับผู้สูงวัย ในนิทรรศการ "ชนชราแห่งอนาคต" #TCDC

หาคำตอบแห่งอนาคต ในวัยชราของเรา ในงาน นิทรรศการ "ชนชราแห่งอนาคต: นิยาม โอกาส และความท้าทายใหม่" ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ไปจนถึง 1 พฤษภาคม 2559 ที่แกลอรี่ 2 TCDC กรุงเทพ



นิทรรศการมี 5 ส่วน คือ


1. อายุเป็นเพียงตัวเลข : แบบสอบถาม 6 ข้อ ที่ถามเราเกี่ยวกับอนาคตความสูงวัยของเรา เขาจะมีสติ๊เกอร์ให้เราแปะตอบคำถามที่กำแพง คำถามเท่าที่จำได้ คือ คุณรู้สึกว่า อายุของคุณในปัจจุบัน อ่อนกว่า แก่กว่า หรือเท่ากับ เราจะมีอายุอยู่ไปถึงอายุเท่าไหร่ ปัญหาของผู้สูงวัยที่เผชิญ ที่สำคัญที่สุดคืออะไร เมื่อเราสูงวัย จะพึ่งพาใคร



อีกส่วนนึง คือ สื่ออินเทอร์แอ็คทีฟ ที่บอกว่ามีจำนวนประชากรโลก หรือแต่ละประเทศ เทียบกับไทยแล้ว มีสัดส่วนเท่าไหร่ ซึ่งเราสามารถหมุน หรือกดเลื่อนเพื่อเปรียบเทียบได้ เขาฉายภาพกับโปรเจกเตอร์ และน่าจะมีเซนเซอรด้วย



ส่วนตรงกลาง มีที่ฉายหนัง กับจอแสดงภาพคนกับอายุ ต้องติดตามว่าคืออะไรมากจากไหนเนอะ



2. แก่ช้าลง พึงพาตนได้มากขึ้น : ในโลกเรานี้มีวิทยาการใหม่ๆเยอะแยะมากมาย เช่น เครื่องพิมพ์สามมิติ ที่พิมพ์อวัยวะได้ เอาไว้ใช้ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะได้ wearable ที่นอกจากคนทั่วไปใส่แล้ว ยังพัฒนาให้ผู้สูงวัยใช้ได้ด้วย ด้วยการส่งข้อมูลทางสุขภาพเข้า cloud และเชื่อมต่อไปยังโรงพยาบาลได้




เขาบอกว่าสมองของคนเราเริ่มเสื่อมในวัย 30 ปี ดังนั้นเราก็ต้องฝึกสมองด้วยการเล่นเกมส์ อาจจะเป็นเกมส์แนวซุโดกุ หรือเกมส์นินเทนโด้ก็ได้นะ และเขาบอกว่า ข้อมือของเราเริ่มเสื่อมในวัย 30 ปีเช่นกัน ดังนั้นเขาจะต้องทำให้ใช้งานได้ง่าย ใช้แรงน้อยๆในการดึงพวกประตู บานเลื่อน


การดีไซน์ก็สำคัญนะ นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังตอบโจทย์คนใช้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นไม้เท้า ที่ที่จับโค้งมน จับง่าย ฐานแข็งแรง รถเข็น ที่คนนั่งสามารถบังคับไปไหนก็ได้ได้สะดวก



3. มีส่วนร่วมในส่วนรวม : มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่ว่าวัยใดๆก็ต้องมีปติสัมพันธ์กับคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่บรรดาลูกๆไปทำงาน หลานไปโรงเรียน เหงาอยู่คนเดียว เปล่าเปลี่ยวหัวใจ จึงมีสังคมของผู้สูงอายุด้วยกันเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องต่างๆ เช่น การเล่นหมากรุก การออกกำลังกาย



เดี๋ยวนี้มีโครงการ เมืองเดินได้ เศรษฐกิจเดินดี ที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสุขภาพดีขึ้น ลดการใช้รถยนต์ (แล้วใช้ระบบขนส่งมวลชนหรือเปล่า?) เช่น ขี่จักรยานงี้ (ถ้าทางจักรยานยังอยู่ดี) ทำให้ผู้สูงอายุออกไปเที่ยว เอ้ยยย ออกไปข้างนอกได้สะดวกขึ้น


รถแท็กซี่ หรือรถขนส่งมวชนเดี๋ยวนี้รองรับผู้สูงอายุมากขึ้น เช่น รถเมล์บางสายเขามีบันไดเตี้ยๆให้ผู้สูงอายุสามารถขึ้นได้ (ผู้สูงวัยมีปัญหาเรื่องปวดเข่า เป็นปัญหาระดับโลกเลยทีเดียว)


เดี๋ยวนี้คนออกมาวิ่งเยอะ โดยเฉพาะอีเวนท์วิ่งทั้งหลายที่ออกมาให้เลือกสรรเพียบ อีกทั้งมีอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็น application บนมือถือ smartwatch เครื่องแต่งกาย ซึ่งตลาดยังรองรับได้อยู่


4. ผู้บุกเบิกบทบาทใหม่ : พบกับวิถีชีวิตของบุคคลทั้ง 5 ท่าน ต่างสาขาอาชีพ ว่ามีไลฟ์สไตล์ และพบปัญหาอะไรบ้าง มีการแนะนำประวัติแต่ละท่าน สิ่งของที่แต่ละท่านใช้ดำเนินชีวิต รวมไปถึงสารคดีของแต่ละท่านด้วย



5. ออกแบบอย่างเข้าใจ : เราไม่ได้เป็นคนแก่ เราไม่เข้าใจหรอก ด้วยแนวคิดนี้ จึงเกิดผลิตภัณฑ์ตัวนึง ที่จำลองการทำงานของร่างกายผู้สูงอายุ เพื่อให้เราตะหนักถึงปัญหาทางสุขภาพที่พวกท่านๆได้เผชิญ ในชุดนี้ มีแบบจำลองการมองเห็นของผู้สูงอายุที่เป็นโรคต่างๆ เช่น เบาหวานขึ้นตา ต้อหิน ต้อกระจก กระจกตาลอก นอกจากเรามองไม่เห็นชัดเจนเหมือนเดิมแล้ว ยังเห็นได้ด้วยว่า พวกท่านๆต้องทรมานกับอาการแบบนี้ ถ้ามองเห็นแบบนี้ทุกวันคงจะปวดหัวน่าดู มีแบบจำลองการฟังของผู้สูงอายุที่มีเสียงในหูตลอดเวลา ถ้าเราเป็นทั้งวันคงจะรำคาญมาก และถุงมือจำลอง ใส่แล้วเราไม่สามารถจับของได้แบบปกติ เพราะตรงฝ่ามือมันจะแข็ง พับฝ่ามือไม่ได้




ส้วมถือเป็นอีกปัญหาของผู้สูงวัย ส้วมซึมก็ขึ้นไม่ได้ ชักโครกนั่งสบายหน่อย แต่ก็ต้องย่อ เลยมีนักออกแบบคอนโดมาช่วยออกแบบสำหรับผู้สูงอายุ ให้ตัวที่นั่งสูงขึ้นกว่าปกติ เพื่อให้ใช้เข่าย่อน้อยลง


ชุดอุปกรณ์ช่วยยกของจากญี่ปุ่น


โซนระบายความในใจ เอ้ยยยย หลังจากที่เราชมนิทรรศการ เรามีอะไรฝากถึงตัวเราและโลกอีก 34 ปีข้างหน้าไหม เขียนบนกระดาษ ปิดสติ๊กเกอร์ และยัดลงขวด





ส่วนสุดท้าย คือ ส่วนที่เราถ่ายรูปทำแบบสำรวจอีกหนึ่งชุด ถามว่าเราจะทำงานจนถึงอายุเท่าไหร่ กรอกตัวเลขไปเสร็จตัวโปรแกรมจะถ่ายรูปเรา และเอาขึ้นโชว์ด้านหน้านิทรรศการเลย


นิทรรศการนี้ เราจะได้เห็นปัญหาของผู้สูงอายุ กระตุ้นให้เราคิดว่า เมื่อเราถึงวัยนั้น จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ผลิตภัณฑ์ต่างๆตอบโจทย์คนกลุ่มนี้หรือยัง เราควรใช้ชีวิตอย่างมีสติและเต็มที่ที่สุด เพราะอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นเราไม่ทราบได้ แต่ทำให้ดีที่สุดก็พอคะ :)

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก