วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

business model : how what who

นิทรรศการขนาดย่อม business model เริ่มวันที่ 29 กันยายน ไปจนถึง 13 ธันวาคม จัดในห้องสมุดของ TCDC เราจะต้องขอเขาเข้าไปในส่วนของห้องสมุด มีการฝากกระเป๋าขนาดเกิน A4 ไว้ด้านนอกก่อน ติดต่อพี่ๆเขาว่าขอเข้าชมนิทรรศการด้านใน จากนั้นเขาจะให้บัตรเข้าห้องสมุด เข้าไปเราจะได้ความรู้เรื่อง business model canvas เพื่อนำไปประยุกต์ใช้สำหรับทำธุรกิจได้เลยคะ อาจจะรวมถึงการนำเสนอนักลงทุนด้วย

โมเดลธุรกิจ : อย่างไร อะไร เพื่อใคร



เราต้องตอบให้ได้ว่า มีสินค้าและบริการของเราเพื่ออะไร เราจะต้องรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจเรา ที่มีต่อลูกค้าหรือผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจในปัจจุบัน การสร้างโมเดลธุรกิจมีการสร้างคุณค่า ส่งต่อคุณค่า และเก็บเกี่ยวคุณค่า เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจของเรา

การวิเคราะห์ SWOT ทำให้เราเข้าใจภาพรวมของธุรกิจที่เราจะทำได้ในระดับหนึ่ง แต่อาจจะเห็นภาพรวมธุรกิจของเรายังไม่ชัดเจนเพียงพอ ในปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยเราในการเริ่มต้นธุรกิจมากมาย เช่น

1. Strategy Wheel : พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อแสดงว่าทำอย่างไรกลยุทธ์ของเราจึงจะสำเร็จ ซึ่งตรงกลางคือจุดมุ่งหมาย คือการมีอยู่ของธุรกิจ เราควรเลือกเฉพาะสิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับธุรกิจจริงๆ


2. Business Model Canvas : เป็นโมเดลธุรกิจสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดยแบ่งองค์ประกอบเป็น 9 ช่อง พร้อมแสดงความสำคัญในการขับเคลื่อนสินค้าและบริการในทุกมิติ



3. Value proposition Canvas : พัฒนาโดย Strategyzer เน้นค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ว่าสอดคล้องกับสินค้าและบริการของเราหรือไม่ เราสามารถดาวน์โหลดเทมแพลตมาใช้ได้ http://businessmodelgeneration.com/canvas/vpc >> update จ้า กรอกอีเมลล์ลงไปก่อน แล้ว login ผ่านเว็บ ถึงจะได้ resource เน้อ



4. Business Model Block : เป็นโมเดลที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่มี revenue stream หลายเส้นทาง หรือมี partner จำนวนมาก บอกความสัมพันธ์ และจำนวนรายได้ที่เกิดขึ้น


5. Plan Cruncher : เป็นเครื่องมือออนไลน์ ที่ตอบคำถามนักลงทุนในเรื่องต่างๆ ด้วยแบบฟอร์มมาตรฐานเพียงแผ่นเดียว เราสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.plancrucher.com output ที่ได้คือ 1-page summary >> update ตอนนี้เว็บบินไปแล้วจ้าาา



6. Lean Canvas : ต่อยอดมาจาก Business Model Canvas สำหรับ startup โดยเฉพาะ ลดบางขั้นตอนและเรื่องที่ยังไม่ชัดเจนแน่ชัดลง อีกทั้งวิเคราะห์เส้นทางความเสี่ยงที่เกิดจากธุรกิจด้วย



7. Validation Board : ถูกนำมาใช้คู่กับ Lean Canvas ทดสอบแนวคิดก่อนที่จะนำไปทำธุรกิจจริง ซึ่งเป็นไปตามหลักของ Lean Startup



คำถามสำคัญ ที่นักธุรกิจควรหาคำตอบ

"If your company disappeared today, would the world be different tomorrow?""ถ้าวันนี้บริษัทของคุณเกิดหายไป พรุ่งนี้โลกจะเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนไป?"

ต้องตอบให้ได้ก่อนว่า ธุรกิจของเรามีความสัมพันธ์กับใครบ้าง ส่งผลกระทบต่อใคร มีคุณค่าอย่างไร



Business Model Canvas

ควรใช้แนวคิด lean startup ที่ไม่สามารถกรอกข้อมูลครบทุกช่องในครั้งเดียว แต่ต้องตั้งสมมุติฐาน ทบทวน และทดสอบคำตอบ ซึ่งเราสามารถตอบคำถามพื้นฐาน 4 ข้อ คือ ทำสินค้าอะไร (what?) เพื่อใคร (Who?) เกิดขึ้นอย่างไร (How?) และคุ้มค่าหรือไม่ (Money?) ที่มาของข้อมูล มาจากหนังสือ business model generator โดยนำข้อมูลที่ได้จากการชมนิทรรศการ มาผนวกกับหนังสือด้วย เพื่อทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น




1. Value Proposition การนำเสนอคุณค่าของสินค้าและบริการ

เริ่มจากปัญหาของผู้ใช้ ว่าสินค้าของเราสามารถตอบโจทย์ของลูกค้าได้หรือไม่ (need) มีความแตกต่างจากท้องตลาดอย่างไร ซึ่งจะสะท้อนถึงคุณค่าของสินค้าและบริการ ในการตัดสินใจซื้อ ถือเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ เช่น 

- mass market ตลาดทั่วไป เช่น พวกสินค้าอุปโภคบริโภค
- niche market ตลาดเฉพาะกลุ่ม เช่น เวย์โปรตีน ที่กลุ่มเป้าหมายคือคนที่ออกกำลังกาย
- segmented แบ่งกลุ่มลูกค้าเป็นหลายๆกลุ่ม เช่น บัตรเครคิต
- diversified แยกไลน์การผลิต เช่น เถ้าแก่น้อย นอกจากจะทำสาหร่ายทอดแล้ว ยังทำเกาลัค ป็อปคอร์น รวมไปถึงร้านขายขนมด้วย
- multi-sided market มี target group หลายกลุ่ม เช่น wongnai มี user ที่รีวิวอาหารแล้ว ยังมีร้านอาหาร รวมถึงสินค้าต่างๆมาโฆษณาด้วย

ตัวอย่าง :  Apple สินค้ามีประสิทธิภาพสูง มีดีไซน์โดดเด่น ใช้งานง่าย


2. Customer Segment ลูกค้าเป้าหมาย

บอกลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่จะมาซื้อสินค้าและบริการของเรา จะต้องตอบโจทย์ปัญหา หรือตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้ เช่น ใช้เทคโนโลยีใหม่ ประสิทธิภาพการใช้งาน สามารถปรับแต่งได้ตามใจ ทำให้งานของเขาเสร็จ การใช้งาน การเข้าถึงง่าย ดีไซน์ ราคา แบรนด์ CRM 

ตัวอย่าง : Airbnb มีหลากหลาย target group เช่น เจ้าของห้องพัก นักท่องเที่ยวที่หาห้องพักในราคาไม่แพงมาก


3. Channels ช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า

เป็นเส้นทางในการส่งมอบคุณค่าระหว่างธุรกิจไปสู่มือลูกค้า ทั้งการโปรโมต ช่องทางในการจัดจำหน่าย และบริการหลังการขาย มีทั้งช่องทางโดยตรง และทางอ้อม

ตัวอย่าง : Disney นอกจากจะมีภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ยังมีสวนสนุก รีสอร์ต ร้านขายสินค้าที่ระลึก ไปจนถึงช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไชต์ youtube channel


4. Customer relationship ความสัมพันธ์กับลูกค้า

มีการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้า ในการซื้อสินค้า ให้กลับมาซื้อสินค้าและบริการในครั้งหน้า ไปจนถึงการบอกต่อให้กับคนรู้จัก เช่น การซื้อขายโดยตรงกับลูกค้า การซื้อผ่านผู้ช่วย การบริการตัวเอง ซื้อสินค้าผ่านระบบการบริการ การสื่อสาร

ตัวอย่าง : starbucks มีการใส่ใจในคุณภาพในทุกๆแก้วที่ชง จะต้องมีรสชาติเหมือนเดิมทุกสาขา ลูกค้าสามารถเพิ่มลดส่วนผสมได้ ถ้าลูกค้าไม่เข้าใจเมนูจะอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น แถมยังใจดีด้วย (อันนี้ขอเติมเองคะ บริการเขาดีจริง) มีบัตรเติมเงินเพื่อสะดวกในการซื้อ อีกทั้งสามารถสะสมแต้มรับสิทธิพิเศษ และรับฟังความเห็นของลูกค้าด้วย


5. Revenue strams กระแสรายได้

กำหนดรูปแบบของช่องทางที่ทำให้เกิดรายได้หลัก และรายได้รอง ให้สอดคล้องกับธุรกิจของเรา
เช่น การขายผลิตภัณฑ์เป็นชิ้น ขายพื้นที่การใช้งาน การเสียค่ารับสมัครข้อมูล การเช่ายืม ขาย license ค่าธรรมเนียม โฆษณา

ตัวอย่าง : google นอกจากจะได้จำนวนผู้ใช้งานแล้ว ยังสามารถขายโฆษณาได้ด้วย (Google Adwords, Google Adsense, Youtube) และได้รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ เช่น ซื้อพื้นที่ใน Google Drive เพิ่ม เป็นต้น



6. Key resource ทรัพยากรหลัก

ถือว่าเป็น asset ของธุรกิจเรา ในการผลิตสินค้าและบริการขึ้นมา โดยแบ่งเป็น
- บุคลากร เช่น ทีมงาน พนักงาน
- เงินและงบประมาณ เช่น เงินสด เงินทุนหมุนเวียน เงินลงทุน
- เครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น เครื่องจักร เทคโนโลยี
- สถานที่ เช่น สำนักงาน โรงงาน ร้านค้า
- สิทธิพิเศษในการดำเนินธุรกิจ เช่น ทักษะ ฝีมือ สูตรขิงสินค้า ใบอนุญาติ ใบรับรอง ข้อมูลการค้า ทะเบียนการค้า ชื่อเสียงบริษัท

ตัวอย่าง : AirAsia ใช้เครื่องบินรุ่นเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา มีพนักงานบนเครื่องบินจะมีนักบิน air hoster ส่วนสนับสนุนอื่นๆนอกเครื่องบิน จะมีส่วนช่างซ่อม พนักงานปฎิบัติการ เป็นต้น รวมไปถึงแพลตฟอร์มระบบการซื้อตั๋วเครื่องบินและจ่ายเงินผ่าน internet เหล่านี้คือทรัพยากรหลักของบริษัท


7. Key activity กิจกรรมหลัก

กำหนดขั้นตอนของกิจกรรมหลักเพื่อสร้างความเข้าใจ และส่งเสริมให้เกิดคุณค่า เพื่อให้บรรลุ goal ขององค์กรที่ตั้งไว้ เช่น การผลิต การแก้ไขปัญหา แพลตฟอร์มหรือเครือข่าย

ต้องการ : Uber สร้างแพลตฟอร์มการสื่อสารระหว่างคนขับรถและผู้โดยสาร รวมไปถึงการจัดการเครือข่ายด้วย


8. Key partner พันธมิตรหลัก

startup มักจะเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ทำได้ด้วยตัวเองก่อน แต่ธุรกิจไม่สามารถดำเนินโดยลำพังได้ จะต้องมี partner มาช่วย ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ ลดค่าใช้จ่าย และช่วยลดความเสี่ยง อีกทั้งยังช่วยเติมเต็มความต้องการของลูกค้าด้วย บางครั้งอาจจะพิจารณารวมไปถึงคู่แข่งด้วย เพื่อพัฒนาความสามารถของธุรกิจในอนาคต

ตัวอย่าง : Amazon มี partner คือ สำนักพิมพ์ บริษัทคู่ค่าที่ช่วยจัดหาของให้อเมซอน เครือข่ายของผู้ที่มาขายของในอเมซอน


9. Cost structure โครงสร้างต้นทุน

ทุกธุรกิจมีต้นทุนเพื่อช่วยทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ แบ่งออกเป็น
- ต้นทุนคงที่ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าออฟฟิค 
- ต้นทุนผันแปร เช่น ค่านํ้า ค่าไฟ
- ต้นทุนด้านการตลาด
- ต้นทุนซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ถ้าเราควบคุมต้นทุนได้ดี จะทำให้ได้กำไรมากขึ้น แต่เราไม่ควรกังวลเรื่องต้นทุนมากเกินไป ควรใส่ใจในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด

ตัวอย่าง : Ikea มีต้นทุนในการผลิตสินค้า ค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ค่าใช้จ่ายด้านสินค้าและบริการ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายทางการตลาด


ตัวอย่างการทำ business model canvas ของฟังใจ กับ ปลูกปั่น ภาพไม่ชัดนิดนึง เพราะตั้งตรงผนังที่มืด ทางเข้าห้องนํ้าพอดี



ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ business model canvas คือ ชานมไข่มุก ที่ประเทศอินโดนีเซีย (จริงๆมองของไทยก็ได้ ต้องมีบัตรสะสมแสตมป์ ครบ 10 ดวง แลกได้แก้วนึง มีเรื่อง brand royally ด้วย)


เราก็ได้แนวคิดเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจกันไปแล้ว ซึ่งเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ โดยเฉพาะ startup ในการทำ business model สามารถเอาไปนำเสนอต่อนักลงทุนได้ เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น สามารถดาวน์โหลดไฟล์เทมแพลต business model canvas ขนาด poster ได้ที่เว็บของหนังสือคะ อีกทั้งเราสามารถซื้อ web app ของตัวนี้ได้ด้วย ราคาสูงทีเดียว >> update ไปที่เว็บเขา ได้ resource กับเรียน online ได้ฟรีนะ

ปล จากหนังสือ เขาเปรียบเทียบ business model canvas กับสมอง สมองซีกซ้ายเป็นด้านเหตุผล สมองซีกขวาเป็นด้านเหตุผล เมื่อเอาแผ่นนี้มาพับครึ่ง ครึ่งซ้ายจะเป็นประสิทธิภาพ ซีกขวาจะเป็นคุณค่า

สำหรับวันนี้คงได้ความรู้ในการทำ business model canvas กันไปมากมายทีเดียว ตอนหน้าจะเป็นอะไรติดตามชมนะคะ 



ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก