วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนะนำหลักสูตรการจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ และวิธีการสมัคร

หลังจากที่เราอัพบล็อกเขียนแอปของตัวเองโดยการเรียนคอร์สออนไลน์ของพี่เนยแล้ว เรายังเรียนอีกอย่างนึง คือ หลักสูตรการศึกษาทางไกล การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ (Innovation Management for Execution : IMEs) เป็นหลักสูตรความร่วมมือของสถาบันการศึกษาทางไกล และสถาบันนวัตกรรมกรรมแห่งชาติ เราเรียนเพื่อต่อยอดความรู้จากการไปแข่งขันเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีปี 4 มาสร้างธุรกิจนวัตกรรมของตัวเอง ซึ่งเราเองตั้งใจเขียนตอนเรียนจบหลักสูตร แต่ด้วยว่ามีกิจกรรมอื่นๆที่จะต้องพบปะกัน และมีผู้สนใจเรียนหลักสูตรนี้ จึงเขียนบันทึกไว้ก่อน ไม่งั้นมีลืมคะ แหะๆ ^^

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร
คนที่มีธุรกิจของตัวเอง (ภาษาทางการคือผู้ประกอบการ) และอยากได้ความรู้เพิ่มเติม
คนธรรมดาที่สนใจในการสร้างธุรกิจนวัตกรรม หรือนำไปพัฒนาองค์กร (ภาษาทางการคือผู้สนใจ)

อยากเรียน สมัครยังไง
ก่อนอื่น ติดตามข่าวสารที่เพจสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ มีรับสมัครปีละสองรอบ (ปีละ 2 รุ่นนั่นแหละ) คือช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งสามารถเข้าไปสมัครได้ที่ www.nia.or.th/ims/dei เพื่อเข้าไปกรอกข้อมูลการสมัครให้เรียบร้อยคะ



จากนั้นไปติดต่อสถาบันการศึกษาทางไกลผ่านอีเมลล์ dei_condised@nfe.go.th โดยแนบไฟล์ดังต่อไปนี้
1. หลักฐานการชำระค่าเรียน จำนวน 2,500 บาท ซึ่งเขาจะมีแบบฟอร์มให้จ่ายที่ธนาคารกรุงไทย โดยเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 10 บาท (หาที่เว็บสถาบันการศึกษาทางไกลได้เลยคะ) หรือถ้าจ่ายทางธนาณัติให้ส่งตัวจริงมาที่สถาบันทางไกลคะ
2. สำเนาบัตรประชาชน
3. ไฟล์รูปถ่าย เพื่อนำไปทำบัตรนักศึกษา
เมื่อเราส่งเมลล์แนบไฟล์พวกนี้เรียบร้อยแล้ว เขาจะส่งเอกสารการเรียนมาให้ที่บ้าน และหลังรับวันสมัคร จะมีอีเมลล์แจ้งปฎิทินการเรียน อาจารย์ที่ปรึกษา และส่งมาที่บ้านด้วย พร้อมบัตรนักศึกษา

เอกสารการเรียนมาแล้ว ตื่นเต้นๆ
เปิดกล่องออกมา ชะแว๊บบ
 


เรามารีวิวในกล่องพัสดุที่ส่งเอกสารการเรียนมา เราต้องตรวจสอบตามเอกสารที่ให้มาให้ครบ ดังนี้ 
1. ใบเสร็จรับเงิน ที่เราจ่ายเงินค่าเรียนนั่นแหละ
2. ถุงผ้า แต่ละคนได้สีไม่เหมือนกันนะ (มีคนได้สีเขียว เราได้สีส้ม)
3. ซีดีปฐมนิเทศหลักสูตร เราเป็นนักศึกษาอีกครั้งนะตัวเธอ
4. ซีดีพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย พร้อมแผ่นพับ เป็นเอกสารเสริมการเรียนรู้
5. หนังสือสุดยอดนวัตกรรมไทยเล่มที่ 9 เป็นเอกสารเสริมการเรียนรู้
6. หนังสือนวัตกรรม...คนไทยทำได้
7. ใบปลิวโครงการคูปองนวัตกรรม
8. สมุดคู่มือเพื่อสร้างธุรกิจนวัตกรรม เป็นเอกสารเสริมการเรียนรู้
9. หนังสือการจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ เป็นหนังสือที่มีบทเรียนทั้งหมด 8 บทด้วยกัน
10. คู่มือการเรียนทางไกล และแบบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ เหมือนเป็นทั้งการบ้าน ทั้ง short-note ด้วย ซึ่งเล่มนี้ต้องส่งก่อนจบหลักสูตร ไม่งั้นไม่ผ่านนะ

เราเรียนอะไรกันบ้าง เรียงตามบทเลยเนอะ
1. นวัตกรรมและการจัดการนวัตกรรม
2. นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
3. แนวทางการพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
4. นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์
5. ทรัพย์สินทางปัญญาและการอนุญาติใช้สิทธิทางเทคโนโลยี
6. การลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม
7. การจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์กรนวัตกรรม
8. การบริหารจัดการระบบนวัตกรรมในประเทศไทย

การประเมินเพื่อผ่านหลักสูตร หลักๆมี 3 ส่วน ซึ่งต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป และอีกหนึ่งส่วนคือการร่วมกิจกรรมคะ
1. สอบวัดความรู้ เป็นปรนัย ใช้เวลา 60 นาที คิดเป็น 30 คะแนน
2. แบบบันทึกกิจกรรม (เล่มในข้อ 10 นั่นแหละ) คิดเป็น 40 คะแนน
3. ข้อเสนอโครงการ หรือ proposal คิดเป็น 30 คะแนน
การเข้าสอบและเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา ถ้าใครไม่สะดวกเลื่อนได้ครั้งเดียวคะ แต่อย่าเลื่อนเลยเนอะ ^^"
การรักษาสภาพนักศึกษา ในกรณีที่ไม่สะดวกมาสอบ คือส่งงานให้ครบตามกำหนด และมาสัมมนาพร้อมกับรุ่นน้อง

ถ้าผ่านหลักสูตรแล้วได้อะไร
- ได้วุฒิบัตรรับรองความรู้
- ได้รู้จักเพื่อนร่วมรุ่นและรุ่นพี่ สร้าง connection ซึ่งในรุ่น 14 นี้ โครงการมีการปรับเปลี่ยนการสื่อสารโดยใช้ social network มากขึ้น คือมีกรุ๊ปไลน์สำหรับรวมรุ่นนั่นเอง (กรุ๊ป facebook มีในรุ่น 13 คะ)
- และอื่นๆ เดี๋ยวจะมาบอกหลังจบเนอะ

คำเตือน เนื่องจากเป็นการเรียนทางไกล สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการบริหารจัดการเวลาของตัวเอง บางท่านที่ทำธุรกิจส่วนตัวอาจจะมีเวลามากหน่อย เราทำงานประจำ ถึงจะเข้าออกงานเป็น flexible time แต่ถึงบ้านก็ดึกเหมือนกัน (บ้านไกลที่ทำงานคะ) และยังเรียนเขียน Android development ทางออนไลน์ด้วย ถึงเขาจะไม่ fix เวลาให้เรียนเหมือนสมัยเรียน แค่เรื่องเวลาเขาลงตารางให้เรา และเราต้องทยอยเรียนตามนั้น อย่าไปเร่งตอนท้ายเพราะอาจจะทำการบ้านไม่ทัน

ปล. ด้วยความที่ต้องส่ง proposal เลยไป workshop ของ NIA ซะเลย มีคนเรียนรุ่นเดียวกันมาด้วยนะเออ

อ่านอันนี้จบ อ่านอะไรต่อ ตามนี้เลยยยยยยย
- บันทึกการเรียน IMEs รุ่น 14 : กิจกรรมเสริมหลักสูตรและรับน้อง
- บันทึกการเรียน IMEs รุ่น 14 : เนื้อหาการเรียนรู้ และการส่งงาน [Coming Soon]
- บันทึกการเรียน IMEs รุ่น 14 : สัมมนาก่อนจบหลักสูตร

ป้ายกำกับ:

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มาลองทำแอปบล็อกของตัวเองกันดีกว่า ตอนที่ 3 : การดึง content มาแสดงใน custom chrome tab

หลังจากที่เราได้ blogger json api มาใช้ร่วมกับ Retrofit กับ Gilde กันไปแล้ว
ต่อมาเราก็จะมาใช้ custom chrome tab เพื่อมาอ่านบทความที่เราเขียนกัน
โดยกดที่ listview แล้วเข้ามาที่หน้า custom chrome tab
ในที่นี้เราจะลองทำสองแบบ คือ แบบเปิดหน้าเว็บขึ้นมา กับการใช้ getContent() ที่เป็น html ขึ้นมาแสดง



แต่ละแอปที่เราใช้กัน เช่น facebook google แม้กระทั่ง line เอง ก็ใช้ custom chrome tab ซึ่งมันโหลดหน้าเว็บไวมาก แถมยังใช้ feature จากใน chrome เช่น save password หรือการแชร์เว็บไปยังแอปอื่น


 


แหล่งข้อมูล
- Chrome Custom Tabs
- Android Chrome Custom Tabs Android Tutorial with Example
Exploring Chrome Customs Tabs on Android
- [Android Code] Chrome Custom Tabs ของเล่นใหม่สำหรับ In-app Browser

ก่อนอื่นเลย add dependencies ก่อนเลยจ้า
dependencies {
compile 'com.android.support:customtabs:23.3.0'
}
จากนั้นปรับ minSdkVersion เป็น 15 และเครื่องที่ใช้ จะต้องมี chrome version 45 ด้วยนะจ๊ะ

เรามาเริ่มในส่วน UI กันก่อนเลยจ้า
เอ๊ะ เดี๋ยวนะ
เท่าที่อ่านก็ไม่ได้ใช้อะไรกับหน้า UI เลยนี่นา
มีแต่ส่วน implement code

เรามาลองการ implement custom chrome tab กันดีกว่า ไปที่ MainActivity.java ซึ่งเราได้ทำ onListItemClick ไว้ก่อนแล้ว เพราะเราใช้ fragment ในการทำแอปนี้ด้วย ดังนั้น เราลองใส่เปิด chrome tab ไปดังนี้


ผลเป็นดังนี้


ต่อมาเราก็ปรับเปลี่ยนแถบด้านบนให้สวยงาม โดยเพิ่ม เข้าไปดังนี้
- setToolbarColor : set สีแถบ toolbar ด้านบน โดยสีที่ใส่ เป็นค่า int นะ อาจจะดูงงๆว่า เฮ้ย ใส่ไปยังไงหว่า เอาง่ายๆ เราใส่ getTitleColor() คือใส่สี tab ตามหน้าเว็บจริง หรือ getResources().getColor(R.color.xxx); ใส่สีที่เราต้องการลงไปได้
- setShowTitle : ถ้าเราต้องการให้หัวข้อขึ้นมา ใส่ true (default เป็น false)
- setCloseButtonIcon : เปลี่ยนภาพปุ่มปิดของ custom chrome tab เป็นภาพที่เราต้องการ ใส่เป็น bitmap [แต่อันนี้ไม่เปลี่ยนให้เราแหะ ไม่รู้ทำไม]
- setActionButton : เพิ่มเมนูตรงจุดสามจุดด้านข้าง เช่น เราเมนู shared ลงไป (แก้ด้วย)
- addMenuItem : เพิ่มปุ่ม ที่ action bar เข้าไป แต่อันนี้เราไม่ได้ใส่ไป


และเราสามารถใส่ animation เพิ่มได้ด้วยนะเออ แต่ R.anim.silde_in_right กับ R.anim.silde_out_left เราต้องใส่ resource เพิ่มเองนะ


ถ้าเราต้องการให้ chrome custom tab ของเราโหลดเร็วขึ้น ต้องใส่ warmup ไปด้วย แต่ใส่ลงไปเปล่าๆปลี้ๆไม่ได้ ต้องเปิด browser service ของ chrome custom tab ขึ้นมาก่อน แล้วใส่ลงไปข้างใน


และเราสามารถ track traffic ว่าบล็อกตอนนี้เปิดจากแอปนี้นะ แต่รองรับ API 17 ขึ้นไปนะเออ

intent.putExtra(Intent.EXTRA_REFERRER, Uri.parse(Intent.URI_ANDROID_APP_SCHEME + "//" + context.getPackageName()));

ดังนั้น ผลที่ออกมา จะเป็นประมาณนี้


ถ้าเครื่องที่ API ถึง แต่ไม่มี Chrome จะออกมาเป็นประมาณนี้ คือถ้าเราไม่ได้ implement ในกรณีที่ไม่มี Chrome ดังนั้นหน้าเว็บจะไปเปิดที่ default browser แทน


ในเมื่อจบกรณีแรกแล้ว กรณีถัดมา นำส่วน content มาแสดง
พบว่า มันไม่รองรับเลยแหะ จะทำยังไงดีน๊ออ


ถ้าจะดึง content เรามาใส่เหมือน loaddata ใน webview พบว่า custom chrome tab ยังไม่รองรับนะ
อาจจะต้องใช้ webview เพื่อเอาส่วน content มาใส่เพื่อแสดงผลแทน
แต่มันใช่เหรอะ!!

อีกวิธีนึงที่สามารถทำได้ คือ เรียกอ่านจากไฟล์ html ที่มีอยู่นั่นเอง
แต่ที่เรามีคือ ส่วน content ที่ดึงมาจาก json นั่นเอง เอาไปบันทึกลงไฟล์ html ในโฟลเดอร์ภายในแอปของเรา ในส่วนของ internal storage


แล้วตอน lunch url เปลี่ยนเป็น customTabsIntent.launchUrl(this, Uri.fromFile(file)); แทน
ผลที่ได้ เนื่องจากอ่านจากไฟล์ แถบด้านบนเหมือนอ่านไฟล์เลย แล้วก็เด้ง เข้าใจว่า เราเขียนโค้ดส่วน custom chrome tab ไป


ดังนั้นถ้าจะแสดง content เพียวๆ น่าจะเป็น webview นะที่สามารถทำได้

เนื้อหาทั้งหมด
ตอนที่ 1 : blogger json api
ตอนที่ 2 : มาทำ push to refresh กันเถอะ
ตอนที่ 4 : ทำ push notification เมื่อบล็อกเรามีการอัพเดตบทความใหม่
ตอนที่ 5 : การ publish application ของเรา ลง play store

ป้ายกำกับ:

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มาฝึกเขียน proposal ที่งาน “Workshop: What is innovation & How to write a proposal”

จากที่เราได้ลงเรียนหลักสูตรทางไกลการจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ และมีการส่ง proposal ให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ เพื่อจบหลักสูตร เราได้เห็นโพสนึงที่น่าสนใจ ในเพจสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าจะมี workshop การเขียน proposal ซึ่งการเขียน proposal แม้มี template มาให้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เขียนแล้วจะออกมาดี และนำเสนอแล้วได้รับทุนสนับสนุน  เราจึงสนใจเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ไม่สิเรากดลิ้งค์สมัครเลย เขาพิจารณาคนเข้าร่วมกิจกรรมนี้ จากคำถามที่ว่า "ทำไมถึงสนใจมาร่วมกิจกรรมนี้" แต่ด้วยความที่งานนนี้รับได้ 30 ท่านเท่านั้น และคนสมัครล้มหลามมาก ทางทีมงานเลยส่งอีเมลล์มาถามเพิ่มเติมสองคำถาม คือ "นวัตกรรมในความหมายของเราคืออะไร" และ "มีนวัตกรรมอันไหนที่เราจะส่ง proposal ไปเสนอ" จากนั้นรอประกาศผลวันที่ 23 มิถุนายน ด้วยความที่ช่วงนี้งานเยอะ เลยเห็นเมลล์ระหว่างทางกลับบ้าน และแล้ว ได้รับข่าวดีว่า เราได้รับเลือกเข้าร่วม workshop และให้ตอบกลับอีเมลล์มา เราไม่รอช้า รีบ confirm กลับไป พร้อมโหลดเอกสารลงมือถือ จะได้เตรียมพร้อมก่อนเข้า workshop

ขออนุญาติก็อปปี้ข้อมูลที่เกี่ยวกับงานนี้นะคะ เพราะเขาบอกว่าจะจัดทุกวันที่ 1 เผื่อคราวนี้ใครไม่ทันจะได้เตรียมตัวสมัครคราวหน้า ;)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อัพเดตรูปเพิ่มเติมคะ พี่ๆที่ สนช บอกว่า รูปหลอดไฟมันเชยแล้วคะ
“What is innovation & How to write a innovation proposal”
Workshop ที่จะทำให้คุณเข้าใจว่า และได้ทดลองว่า นวัตกรรมคืออะไร?

กิจกรรมนี้เหมาะสม สำหรับ
  • ผู้ประกอบการ / เจ้าของธุรกิจ ที่มีไอเดียพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมและมีความประสงค์จะขอทุนสนับสนุนจาก สนช.
    สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จัดกิจกรรม Workshop “What is innovation & How to write a innovation proposal”เพื่อเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาการเขียน proposal สำหรับขอทุนสนับสนุนในการทำต้นแบบนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการไทย โดยท่านจะได้ทราบถึง
- นวัตกรรม คืออะไร?
- กลไกการสนับสนุนของ สนช.
- ตัวอย่าง นวัตกรรมทั้งในและ ต่างประเทศ
- แนวทางสู่ความสำเร็จในการเขียนPROPOSAL

วันศุกร์ที่ กรกฎาคม 2559 เวลา 8.30 - 12.30 น.
ณ Ideation Space ห้อง 301 ชั้น อาคารอุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
โทร. 02 017 5555 ต่อ 641
โทรสาร 02 017 5566
อีเมล์ varasri.innopark@nia.or.th 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปล. ในเนื้อความนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ = สนช. = NIA บางทีเราอาจจะเขียนตัวย่อคนละตัวไปบ้าง ซึ่งมันมีความหมายเหมือนกันนั่นแหละ

การเดินทาง มาไม่ยากเลย ลงรถเมล์หรือ bts และต่อวินมอเตอร์ไชค์ ช่วงเช้าพี่วินทุกวินในซอยช่วยกันรับผู้โดยสารจากปากซอยโยธีที่ยาวจากหน้าวินยันสะพานลอย ในอัตราราคา 10 บาท ซึ่งเดินเองเหนื่อยและไกล นั่งวินเถอะคะ บอกพี่วินว่า มา NIA ส่วนขากลับก็เรียกวินหน้าหระทรวงวิทย์ หรือถัดขึ้นไปอีกวินนึงก็ได้คะ

ที่งานเขาให้ลงทะเบียน 8:30 น. และก็ขึ้นลิฟต์ไปที่ชั้น 3 อันเป็นห้องจัดงาน workshopเนื่องจากพวกเราเป็นคลาสแรก ดังนั้น ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สนช. เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวเปิดงาน ภาพจากเพจ NIA
สรุปใจความสั้นๆคือ ที่ๆเรามา workshop วันนี้ ตั้งใจให้เป็นพื้นที่ co-working space ให้พวกเรามานั่งทำงานได้ และ workshop นี้ เน้นคนมาจากหลากหลายที่ หลากหลายแนว มานั่งทำความรู้จักกัน และท่านมีคำถามมาฝาก 3 ข้อ คือ
(1) product/service ของเรา เป็นนวัตกรรมหรือไม่
(2) product/service ของเรา เป็นนวัตกรรมอย่างไร
(3) product/service ของเรา อยู่ใน section ไหน
ทั้งสามข้อนี้ เวลาเราส่ง proposal หรือ present ที่ NIA แม้แต่สอบปริญญาเอก ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้

จากนั้นชักภาพทุกท่านร่วมกัน

ผู้อำนวยการ สนช. ท่านวิทยากร และผู้เข้าร่วม workshop มาถ่ายภาพร่วมกัน
ภาพจากพี่ๆของ สนช. ในกรุ๊ปไลน์คะ
จากนั้นจะมีวิทยากรมาบรรยายเรื่องนวัตกรรม โดยคุณรัฐภูมิ วุฒิจำนงค์, CEO Gravity Innovation ซึ่งหลายๆท่านคงคุ้นหน้าวิทยากรท่านนี้ เราเองก็ยังคุ้นเลย แถมยังซื้อหนังสือที่เขาเขียนด้วย (ถ้าทราบล่วงหน้าจะได้เอาหนังสือมาขอลายเซ็นต์ เหมือนได้เจอปรมาจารย์อยู่ตรงหน้า) นั่นคือหนังสือ The Design of Magic นั่นเอง หนังสือเล่มนี้เล่าถึงประสบการณ์ที่เขาได้ทำงานบริษัทใหญ่ระดับโลกอย่าง Apple ว่าเขามีการทำงานกันยังไง มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมออกสู่ตลาดอย่างไร ซึ่งก็เป็นเนื้อหาส่วนนึงในการบรรยายครั้งนี้ด้วย...

คุณรัฐภูมิ วุฒิจำนงค์ กำลังเริ่มต้นการบรรยาย
- ธุรกิจในไทยเรา ขาด partnership คือต่างคนต่างทำนั่นแหละ
- ผู้ประกอบการ/ผู้บริหาร ต้อง work smart ควมคุมความเสี่ยง ดังนั้นเราต้องจัดการออก product/service ทีละ phase และตรวจว่า สิ่งที่เราจะทำออกสู่ตลาด เขาจดลิขสิทธิ์ไว้หรือยัง


- องค์ประกอบที่จะสร้างนวัตกรรม หลักๆคือ team work, องค์กร และ industry
- Apple ที่มีนวัตกรรมสินค้าลํ้าๆยิ่งกว่าโฮโลแกรมสามมิติ หลังฉากเขามีอะไรบ้าง เขามีการประสานงานกันทั่วโลก ภายในมี team work ที่ STRONG มาก


- ซึ่งเขามี core value ร่วมกัน เน้นไปที่ user (น่าจะไปทาง UX ตามความเข้าใจของเรา) มี disrupture idea คลิกกับ customer ถึงแม้ว่าการสร้าง product มาชิ้นนึงต้องเก็บเป็นความลับสุดยอด แต่เขาก็เป็น open innovation นะ เพราะมีการประสานงานกับส่วนอื่น เช่น supplier ด้วย
- มีการวาง road map คิด concept ทำ prototype ร่วมกัน 
- และมีการวาง framework ซึ่งได้แก่ road map (success หรือ failure ไปต่อยังไง), team และ management

ดังนั้น agenda ของท่านวิทยากร มี 4 ส่วนด้วยกัน

(1) ความสำคัญของนวัตกรรม
- ไม่ใช่แค่ความแปลกใหม่ของสิ่งที่เราจะทำเท่านั้น แต่หมายถึงเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ และการอยู่รอดของเรา
- Performance Engine : ทำเงินได้แน่นอน เป็น operation ที่มีสเกลใหญ่ มาแบบนิ่งๆเรื่อยๆ มีการ maintain ลูกค้า และมี risk management
  Innovation Engine : ค่อยๆโตขึ้นมา มีความเสี่ยง challenge มาก เช่นในเรื่องของ digital economy มีการยืมตัวจากทีมอื่น(ที่มีภาระงานในส่วนอื่นๆ)มา support ทีมที่ทำ innovation ซึ่งตัวนี้เร่งให้โตขึ้น เพื่อทำให้ธุรกิจเดินไปได้
ซึ่งเราจะต้องมีทั้งคู่นะ เพราะมันเกื้อหนุนกันอยู่ อาจจะเป็นตัวกลางระหว่าง outsource supplier เจ้าของผลิตภัณฑ์มารวมกัน เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งก็ได้ 


(2) ความหมายของนวัตกรรม
- innovation = A new & useful solution for the problem in focus
ตัวอย่าง คือ ไฟจราจรแดงหยุดข้ามถนนเต้นได้


- วงจรการสร้างนวัตกรรม creation new idea -> iteration development -> deployment & value capture และกลับมาที่ new idea ใหม่

2.1 creation new idea
Opportunity : หา idea ใหม่ แหล่งที่มา คือ customer pain point (เช่น ทดสอบ UX สำรวจตลาด), hidden need (ความต้องการแฝงที่คนต้องการก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แบบอธิบายได้ยาก) และ under-utilized capabilities (ดึงควาามเชี่ยวชาญในองค์กร ออกมาเป็นศักยภาพที่เอาไปใช้งานได้อย่างเต็มที่) และเราเอาทั้งหมดมานี้ มาทำการจัดกลุ่ม แยกประเภท ออกมาเป็น focus ต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง ตอบได้หลายๆไอเดีย
Idea : ยิงไปที่เป้า ซึ่งเป้าคือ Opportunity นั่นเอง
เราไม่ควรแก้ปัญหา 1:1 นั่นคือ ควรมี solution หลายอัน ในการแก้ปัญหา และต้องคิดให้รอบด้าน ว่าจะ launch product ออกมายังไง

2.2 iteration development
- แบบ waterfall ที่เป็นเส้นตรง ใช้กับโปรเจกที่มีความเสี่ยงน้อย
- ของนวัตกรรมเป็นแบบ iteration เพราะมีการทำซํ้าๆกัน มีการทำ alpha test เอย beta test เอย มีการ deploy ในกลุ่มที่จำกัดมากๆ เพื่อนำไปใช้กับของจริง

iteration development มีการสลับไปสลับมาเรื่อยๆ ซึ่งการทำนวัตกรรมใช้ตัวนี้
2.3 deployment & value capture
อยู่ในรูปแบบ revenue มีสองแบบหลักๆ คือ increase revenue ได้ของใหม่ออกมา และ no revenue ออกมาทางแก้ไข process ให้ดีขึ้น

(3) ประเภทต่างๆของนวัตกรรม
แบบแรก :
push : technology-driven innovation เริ่มต้นจากตัวเรา ซึ่งศักยภาพเราถึง ซึ่งเป็นจุดแข็ง แต่จุดอ่อนคือทำมา อาจจะขายไม่ออกก็ได้
pull : need-driven innovation เริ่มต้นจากความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นจุดแข็ง จุดอ่อนคือเราอาจจะมีศักยภาพไม่เพียงพอ หรือไม่ตรงศักยภาพที่เรามีอยู่


แบบที่สอง : breakthrough innovation มีการสะสมนวัตกรรมย่อยๆ มารวมกันเป็นอันใหญ่ แบบที่ Apple เป็นอยู่นั่นแหละ หรือาจจะเป็นแบบ incremental innovation เป็นทีมที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ เช่น supplier ของ Apple เป็นต้น

แบบที่สาม : innovation อาจจะแตกย่อยเป็น product เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ต้องเติมยาง process เช่น Amazon ใช้โดรนส่งของ service เช่นแอป u drink i drive business model เช่น google map ถึงไม่เก็บเงินจากคนใช้ (เก็บได้ที่ไหนกันเล่า) แต่ได้เงินจากการขาย big data ไปให้บริษัทต่างๆ

ตัวอย่างที่ท่านวิทยากรนำมาเสนอ มีหลายอัน เช่น
การติดตั้ง solar-cell บนยานอวกาศนาซ่า โดยเอาขึ้นไปด้วยวิธีนี้ ซึ่งนำศาสตร์ที่มีอยู่แล้วบนโลก มาประยุกต์

  

quantify in production line ในโรงงานทำขวดแก้ว การชนกันของขวดเสียงดังมากจนคุยกันไม่ได้ยิน แถมแก้วแตกทีวุ่นวายในการเก็บเศษแก้วเอามากๆ เขาเลยคิดวิธีที่สามารถ detect ขวดแก้ว เพื่อลดการชนกันได้

หรือ AirBnb และ Groupon ที่เปลี่ยนวิธีเป็นแบบออนไลน์

(4) การขับเคลื่อนโครงการนวัตกรรม
ตามแผนภาพด้านล่างเนอะ คือมีไอเดีย มีการ development เพื่อสร้างคุณค่าออกมา
ซึ่งเราควรทำ proposal และ business model และมีการทำ straight test เพื่อนำไปทดลองนวัตกรรมของเรากับสภาวะต่างๆนอกห้องแลป


สรุปสุดท้าย บริษัท Gravity Innovation ทำอะไร เขารับทำ framework วางระบบหรือแผนงานทั้งหมด execution ช่วยในเรื่องการผลิต product ออกมา และ training ในเรื่องนวัตกรรม ซึ่งลูกค้ามีหลากหลายมาก ทั้งบริษัทใหญ่ไปจนถึงระดับ SME

คุณรัฐภูมิ วุฒิจำนงค์กำลังบรรยายเรื่องนวัตกรรม ทุกคนตั้งใจฟังมากมาก
เมื่อเราได้รับความรู้เรื่องนวัตกรรมเต็มเปี่ยมแล้ว ก็เข้าสู่การแนะนำกลไกที่ทาง สนช. จะช่วยเราได้ โดยคุณวิเชียร สุขสร้อย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส สนช. มาอธิบายในจุดตรงนี้ต่อ...

คุณวิเชียร สุขสร้อย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส สนช. อธิบายถึงกลไกของทาง สนช.
ที่สามารถช่วยผู้ประกอบการได้ เล่าได้สนุกสนานมากทีเดียว
ภาพจากเพจ NIA คะ
- การลงทุนด้านนวัตกรรมมีความเสี่ยง เสี่ยงสูง มีความล้มเหลวในการ launch product ออกมา เพราะไม่ตรงจริตของตลาด
- การวิจัย : ใช้เงิน สร้างความรู้ ดังนั้นถ้าจะหาทุนไปทำวิจัย ไปที่อื่นเช่น สวทช เพราะทางนี้ไม่ได้ให้งานวิจัยนะจ๊ะ
- นวัตกรรม : เปลี่ยนความรู้(มีศักยภาพในการทำ) เป็นเงินทอง(มี business plan) ทำเป็น licensing เอามาต่อยอด เข้าสู่ commercial state ซึ่งพี่เขาบอกว่าหน่วยงานในไทยแต่ละกระทรวงซํ้าซ้อนมากกกก
- ซึ่งการขอเงินจากทาง สนช จะมี สตง ที่อยู่ชั้น 4 มาตรวจสอบ เนื่องจากใช้เงินภาษีประชาชน
- ยุทธศาสตร์ สนช
area innovation : แถว สนช เรียกว่า ย่านนวัตกรรมโยธี ตามข่าวคือ IoT เริ่มมีส่วนร่วม และย่าน medical city ซึ่งอยู่แถว รพ. รามา และวิทยาเขตพญาไทของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีโรงพยาบาลมีตรงนั้นด้วย
value chain : มีการต่อยอด product
capability : พัฒนาศักยภาพ สร้างระบบ
ส่วนด้านmarket ยังไม่มี model ที่ชัดเจน

ยุทธศาสตร์ สนช
- โอกาสจากาทางนโยบายรัฐ ซึ่งช่วงนี้ออกมาอยู่เรื่อยๆ ต้องดูศักยภาพของเราด้วยว่าไหวไหม เช่นตอนนี้มี 5+5 ต่อยอด 5 เดิม ไป 5 ใหม่ ถ้าธุรกิจท่านอยู่ในกลุ่มนี้จะมีโอกาสได้รับทุนสูง และทาง สนช ให้ทุนตามศักยภาพ


- ถ้าเป็นตัวแทนชุมชนมาขอให้ชุมชน จะเป็นวิสาหกรรมชุมชน


- โครงการต่างที่ สนช สามารถสนับสนุนเราได้


1. แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน NIA 75% เงินเรา 25% บางเคสอาจจะออกกันครึ่งๆ เพราะสาเหตุคือ จากเงินภาษีประชาชน และเป็นการกระจา่ยโอกาสไปสู่หลายๆโครงการ มีระยะเวลาในการดำเนินไม่เกิน 3 ปี
2. นวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย เนื่องจากธุรกิจนวัตกรรมมีความเสี่ยงสูง ทำให้ดอกเบี้ยสูงด้วย ดังนั้นทาง สนช จะเป็นคนออกค่าดอกเบี้ยให้เรา ทำให้เราทำธุรกิจได้อย่างสบายใจ
3. โครงการคูปองนวัตกรรม เป็นความร่วมมือระหว่าง SME ผู้ประกอบการ + ISP ผู้เชี่ยวชาญ มีให้เลือกกว่า 1000 รายชื่อ หลักๆมีด้าน production และ marketing อันนี้ของ่ายที่สุด ค่าที่เบิกได้ 100% คือ ค่าตัว ISP ที่แล้วแต่ตกลง rate อยู่ที่ 2,000 บาท/คน/วัน ส่วนค่าของเบิกได้ครึ่งเดียว เพราะถ้าเบิกได้ทั้งหมด ทางราชการจะให้ของพวกนั้นเป็นของ สนช และเราต้องส่งคืนทาง สนช และทาง สนช ก็จะมีข้าวของเต็มไปหมด
* ทาง สนช เนื่องจากได้เงินจากภาษีประชาชน ซึ่งได้รับการจัดสรรกับรัฐบาลอีกที ดังนั้นจะเป็นแบบเราจ่ายก่อน แล้วเอาบิลมาเบิกทีหลัง ทาง NIA ไม่ได้เป็นคนช้า แต่ช้าที่กระบวนการ เพราะต้องผ่านการตรวจสอบโดย สตง

เนื้อหาในส่วนนี้ มีให้ดาวน์โหลดด้วยนะ พี่เขาบอกว่าพี่ต้องถ่ายรูป เขาจะมีให้ดาวน์โหลดทีหลัง

จากนั้นพักเบรกก่อนคะ (แอบอัพเดตเพิ่ม) เข้าใจว่าทุกท่านไฟในตัวเริ่มมาแล้ว แต่กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ซึ่งเขามีเครปฝอยทอง กับคลับแซนด์วิช เครื่องดื่มมีนํ้าเปล่า กาแฟเย็น และชาดำเย็นให้เลือกด้วยคะ ด้วยถึงแบบสอบถามก็จะแจกช่วงนี้พร้อมกระเป๋าผ้าด้วยหล่ะ

ถึงของว่างจะไม่อลังการ แต่มาเรื่อยๆจากใจพี่ๆ สนช นะคะ ฮิ๊ววว
เมื่อเรารู้ว่า ทาง NIA มีช่องทางไหนที่สนับสนุนเราได้บ้าง จึงได้เวลาพิจารณาว่าไอเดียของเรา แผนธุรกิจของเรา โอเคไหม จะเขียน proposal ยังไงดี ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้จัดการฝ่าย สนช. แนะนำการเขียนแผนธุรกิจ ซึ่งต่อยอดมาจาก business model canvas มาเป็นตาราง 12 ช่อง...

ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้จัดการฝ่าย สนช. กำลังอธิบายตาราง 12 ช่องแต่ละข้อ
ภาพจากเพจ NIA

ตาราง 12 ช่อง ที่ต่อยอดจาก business model canvas นำมาจากสไลด์
ช่องที่ 1 product ของเราคืออะไร- ช่องที่ 1,2 เป็นการประเมนตัว product ว่ามี value สูงไหม
ช่องที่ 2 product เรา มี value อะไรบ้าง
- ช่องที่ 3-6, 8 เป็นในส่วน marketing ความเป็นไปได้ด้านการตลาด
ช่องที่ 3 คู่แข่งและส่วนแบ่งการตลาด
ช่องที่ 4 process ทั้งหมดมีอะไรบ้าง มองภาพกว้างทั้งหมด
ช่องที่ 5 อยู่ใน cluster ไหน มี connectivity อะไร เช่น อาหารต้องมี อย. เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องมี มอก.
ช่องที่ 7 ช่องทางการจัดจำหน่าย ของเราเป็นแบบ B2B หรือ B2C และขายในประเทศหรือส่งออกต่างประเทศ
ช่องที่ 8 วิเคราะห์segmentation, target, positioning
- ช่องที่ 6 cost/finance ดูว่าคุ้มทุนไหม คืนทุนกี่ปี
- ช่องที่ 9 ประเมินความเป็นไปได้ ในด้านกฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ เทคนิค การเงิน การตลาด
- ช่องที่ 12 อันนี้สำคัญ ประเมินความเป็นไปได้ของตัวเองและองค์กร ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน มีความพร้อมแค่ไหน หลักๆดู staff และ skill ของ staff และ strategy วางแล้ว ไปทางไหน




เมื่อเราได้ชำระความแผนการของเราแล้ว ได้เวลามาลงรายละเอียดของ proposal โดย คุณกันต์ วีระกันต์ ผู้จัดการฝ่าย สนช. ซึ่งมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประกอบเพื่อให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น ระหว่างนี้เปิดไฟล์ proposal template ไปด้วยเพื่อความเข้าใจ...

คุณกันต์ วีระกันต์ ผู้จัดการฝ่าย สนช. อธิบายการเขียน proposal โดยมีตัวอย่างประกอบ
ข้อ 1 
- ชื่อแบรนด์ เราใส่ชื่อและจดชื่อแบรนด์เราไว้ด้วย
- วิธีเขียนที่ดี เขียนจากด้านในก่อน ค่อยมาเขียนสรุปด้านนอก
- ทำไมถึงใส่ abstract เป็นภาษาอังกฤษ เพราะถ้าต่างประเทศสนใจลงทุนในบ้านเรา เขาจะได้รู้ว่ามีโครงการอะไรบ้าง แต่ละโครงการทำอะไร
ข้อ 2
- ผู้เสนอโครงการ = เป็นผู้ตัดสินใจ หรือ เจ้าของแบรนด์ สามารถใส่ชื่อผู้ติดต่อประสานงานเพิ่มได้
ข้อ 3
- ความเป็นมา เราใส่ไปว่าเราเคยทำอะไรมาก่อนบ้าง และเขาเอาส่วนนี้มาช่วยเราในการ consult ได้ เพื่อนํ้าหนักของข้อเสนอโครงการ ว่าเราสามารถทำโครงการนี้ที่เสนอได้
- ผังองค์กร ใส่ไปให้ครบๆ
- ทำไมต้องใส่แผนที่ เผื่อทาง สนช มาเยี่ยมชมและสามารถมาช่วยโปรโมตบริษัทของเราได้
ข้อ 4
- วัตถุประสงค์ ระบุไปว่าเราต้องการทำอะไร ทำ prototype, test
ข้อ 5
- ตัวชี้วัดโครงการ เขียนสิ่งที่เราต้องการวัดได้ เหมือนเป็น KPI นั่นแหละ ว่าเราได้อะไรออกมา ทำตาม requirement ครบไหม มีการทดสอบก่อนขายหรือไม่ แบ่งเป็นระยะเวลา เป็น milestone 6 เดือน 12 เดือน
ข้อ 6
- สนช จะให้นวัตกรรมในระดับโลก (อันนี้น้อย) กับในระดับประเทศ (ของเราไม่ซํ้ากับใครในประเทศ) ซึ่งต้องเคลมได้
ข้อ 7 
- ใส่ตารางว่าเรามีอะไรแตกต่างกับ product อื่นๆบ้าง และดู know-how ว่าเป็นนวัตกรรมไหม ก็อปยากไหม
** จดลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย ขอให้ยื่นจดก่อน และอ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาด้วย
ข้อ 8
- ระบุตลาดเป้ามหาย มี potential มากพอ ไม่จำเป็นต้องเป็นตลาด mass
- เงื่อนไขอุตสาหกรรม ขึ้นกับโครงการ เช่น ของอาหาร ต้องไม่มีสารปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ถ้าเป็นสาย IT อาจจะเน้นเรื่อง security เช่น ISO27001 ที่จดเรื่องความปลอดภัยทางไอที (อันนี้เรายกตัวอย่างเองนะ บริษัทที่เราทำงานอยู่ได้ตัวนี้) 
ข้อ 9
- วิเคราะห์ SWOT 4P ถ้า 4P ไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ธุรกิจของท่าน สามารถใช้โมเดลอื่นก็อธิบายมาได้
- แหล่งวัตถุดิบ ถ้าเป็นสายไอที ซึ่งพัฒนา software ต้องมีการพัฒนา skill ของบุคลากร หรือการเชื่อมต่อ hardware
ข้อ 10
- cash budget ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า วิเคราะห์ต้นทุน
ข้อ 11 
- งบโครงการ บันทึกค่าใช้จ่ายที่ทำให้เกิด prototype/product ให้ชัดกเจน ลงให้ละเอียด สอบราคาให้เรียบร้อย ใส่ค่าคนผลิต ค่าที่ปรึกษา ค่าทดสอบ
* ถ้าโครงการเราเสนอบอร์ดแล้ว เราไม่สามารถแก้ไขวงเงินที่ขอได้นะจ๊ะ ดังนั้นเราต้องทำ BOQ สอบราคา และเผื่อราคาบวกลบ 15% ไว้
ข้อ 12
- milestone โปรเจกไม่เกิน 12 เดือน เริ่มตั้งแต่วันเซ็นสัญญา

จากนั้นได้เวลา workshop โดยทางทีมงานได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม ตามโครงการที่เราจะเสนอ มีกลุ่มอาหาร กลุ่มออกแบบ และกลุ่ม startup ตามที่ตอบคำถามในเมลล์นั่นแหละ และมีพี่ๆผู้ตรวจ proposal มาแนะนำและซักถามอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้ทำความรู้จักพี่ใหม่ เอ้ยย เพื่อนใหม่ที่มาจากหลายๆที่ ว่าเขามีไอเดียอะไรกันบ้าง เจอประสบการณ์อะไรมาบ้าง เรายังเป็นเด็กน้อย นั่งฟังอย่างเดียว เพราะยังไม่ได้เจอประสบการณ์โชกโชนอย่างพี่ๆเขา ซึ่งเราได้นำคำแนะนำจากพี่ๆทีมงาน รวมถึงเพื่อนร่วม workshop มาปรับปรุง product ของเราด้วย

workshop ของกลุ่มอาหาร โดยมีพี่ๆเจ้าหน้าที่มาแนะนำแนวทางอย่างใกล้ชิด
ภาพจากเพจ NIA
ระหว่างนั้นเราแอบงง มีทีมงานมาขอสัมภาษณ์เกี่ยวกับงานนี้ด้วย ว่าเราเป็นใคร ทำธุรกิจอะไร รู้ข่าวงานนี้จากไหน มาทำไม มาทำอะไร ได้ความรู้อะไรกลับไปบ้าง ใส่ไมค์เป็นเรื่องเป็นราวเลย ไปไม่ถูกเลย (ก่อนหน้านี้เคยออกกล้อง แต่นั่นไฟเต็มมาก และมีไมค์แยกข้างนอก)

จากแบบประเมินที่มีให้ เราสรุปดังนี้
- งานโอเคนะ มีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมากๆ พร้อมทีมงานจากทาง สนช. มาแนะนำเองด้วย อันนี้ดีคะ เราได้อะไรมากขึ้นเยอะ
- แต่งานเอาจริงๆเวลาน้อยไปหรือเปล่าหว่า ดูค่อนข้างกระชันในแต่ละช่วงไปไหม ตอน workshop ติดเวลาอาหารกลางวัน บางคนคุยแปปๆก็ออกมาก่อน น่าจะมีธุระบ่ายก็ได้ ถึงห้องจะเปิด แต่เอาจริงๆตอนบ่ายจะมีคนขึ้นมาต่อไหมก็ไม่รู้แหะ ถ้าเวลา workshop เป็นบ่าย น่าจะได้คุยกันเพิ่มขึ้น มั้ง
- ยังดีที่มีอาหารพักเบรก พี่แม่บ้านบริการดี
- สถานที่โอเคเลย แอร์ไม่หนาวมาก
- การสร้าง connection ด้วยกรุ๊ปไลน์ พร้อมการตามหาพี่อุ๋ม เอ้ยผิดๆ การทวงสไลด์ ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในวันศุกร์ และทาง  NIA ได้อัพโหลดทั้ง proposal, presentation template, และ silde ทั้งหมด ยกเว้นของวิทยากรท่านแรก ในเช้าวันเสาร์ ให้ไปทบทวนอ่านกัน
- พี่ๆที่นี่อารมณ์ดีทุกคน ตั้งแต่ตอนไป workshop ของงาน softwaredee หล่ะ
- จบเถอะ

สิ่งที่ได้กลับมา นอกจากจะได้นำไอเดียแอปเราที่จะแก้ใหม่หลังจาก fail ตอนประกวดไปรอบนึง ได้คำแนะนำมาปรับปรุงแก้ไข ได้เข้าใจการเขียน proposal และโครงการที่เราจะเข้าไปเสนอ รวมถึงได้ความรู้จากวิทยากรที่มากประสบการณ์ และ connection ที่อาจจะได้ทำความรู้จักมากขึ้นในอนาคต งานนี้เป็นงานที่ให้ความรู้ดีมากๆ และตรงจุดด้วย สำหรับใครที่สนใจ เราแอบกระชิกนิดนึงว่า สำหรับท่านผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจด้านธุรกิจอาหาร เดือนหน้าจะมีคลาสแบบนี้อีก ทาง สนช. จะมีให้สมัครตอนกลางๆเดือนนี้แหละ และแต่ละเดือนก็เปลี่ยนกลุ่มไปเรื่อยๆ ติดตามได้ที่หน้า facebook NIA นะคะ

ปล กรอก proposal ออนไลน์ได้ด้วยนะเออ ที่นี่เลย

ป้ายกำกับ: