วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

[mv/lyrics] Lily Allen - Somewhere only we know :: Merry Christmas & Happy New Year 2014



วันเวลา 1 ปีช่างผ่านไปเร็วกว่าที่คิดไว้ 
ใครที่คิดหวัง หรือทำโปรเจกอะไร ขอให้สำเร็จนะคะ
สุขภาพแข็งแรง มีความสุข มีเงินทอง ชีวิตไม่ลำบาก

วันนี้มีเพลงมาฝากคะ เข้ากับเทศกาลพอดิบพอดีเลยคะ 
กับเพลง
Lily Allen - Somewhere only we know
เพลงความหมายดีมากๆเลยคะ คิดถึงเพื่อนๆที่เรียนมาด้วยกันเลยคะ
คิดถึงเค้าบ้างน๊าาาา <3





I walked across an empty land
I knew the pathway like the back of my hand
I felt the earth beneath my feet
Sat by the river and it made me complete

Oh simple thing, where have you gone?
I'm getting tired and I need someone to rely on

I came across a fallen tree
I felt the branches of it looking at me
Is this the place we used to love? 
Is this the place that I've been dreaming of?

Oh simple thing, where have you gone?
I'm getting old and I need something to rely on

And if you have a minute why don't we go
Talk about it somewhere only we know?
This could be the end of everything,
So why don't we go
Somewhere only we know
Somewhere only we know

Oh simple thing, where have you gone?
I'm getting old and I need someone to rely on
So tell me when you're gonna let me in
I'm getting tired and I need somewhere to begin

And if you have a minute why don't we go
Talk about it somewhere only we know?
This could be the end of everything,
So why don't we go
Somewhere only we know
Somewhere only we know

ป้ายกำกับ:

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นิทรรศการขนาดย่อม “3D Printing จุดเปลี่ยนงานออกแบบ"

นิทรรศการขนาดย่อม “3D Printing จุดเปลี่ยนงานออกแบบ”

วันนี้ - 15 ธันวาคม 2556 / 10.30 - 21.00 / ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ TCDC / ไม่เสียค่าใช้จ่าย

พบกับเทคโนโลยีก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในโลกแห่งการผลิตอย่าง ‘การพิมพ์สามมิติ’ ที่จะช่วยให้จุดบรรจบของการออกแบบและจินตนาการที่กว้างไกลเป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้

------—----------------------------------------------

วันนี้เราได้ไปมาในเวลาหลังเลิกงาน (4 ธค 2556) ซึ่งเป็นนิทรรศการที่อยากไปดูมากๆ เพราะเราสนใจเทคโนโลยี 3D printing อยู่แล้ว เรารู้สึกว่ามันมหัศจรรย์มาก อยากได้ชิ้นงานแปลกๆอะไรก็ปริ้นออกมาได้เลย ไม่ต้องง้อใคร ถ้ามีความรู้ทางด้านไฟฟ้า ก็จะพอทำได้ มั้ง แหะๆ เจอเครื่องนี่ครั้งแรกที่ห้องแลปอาจารย์เซงคะ รู้สึกดีที่เครื่องนี้น่าจะทำได้เองโดยไม่เสียเงินมากมายในการซื้อเครื่องจากต่างประเทศ ตอนนั้นอาจารย์เซงใช้เครื่องนี้ทำวัสดุออกมาหลายชิ้นเลย โดยใช้พลาสติกเส้นเป็นตัวหมึก พิมพ์ชิ้นงาน 3 มิติออกมา พิมพ์ออกมาเป็น layer ทีละชั้น ทีละชั้น สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ จะออกมาเป็นชั้นๆด้วย เนื่องจากชั้นล่างๆจะเย็นตัวก่อน ในนิทรรศการนี้ จะไขปริศนาที่เราสงสัยได้



TCDC หรือ ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาความรู้ (องค์การเอกชน) ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม เปิดบริการ 10.30 - 21.00 ปิดทุกวันจันทร์ หาไม่ยากเลยคะ ขึ้นบันไดเลื่อนไปเจอ SF camera แล้วเดินอ้อมไปก็เจอแล้วคะ บางครั้งจะมีนิทรรศการด้านนอกด้วย วันนี้ไม่มีรู้สึกว่าพื้นที่ตรงนั้นโล่งมาก 55 เข้าไปด้านในเพื่อเข้าชมนิทรรศการนี้ ติดต่อเข้าชมที่ guru information ซึ่งเป็น counter ตรงห้องสมุดเพื่อการออกแบบ ติดต่อพี่เขา ใช้บัตรประชาชนในการรับบัตรผ่าน จากนั้นเอาไปผ่านประตูเพื่อเข้าไปภายในห้องสมุด ตัวนิทรรศการจะอยู่ซ้ายมือสุด ติดหน้าต่าง เห็นได้ชัดเจนเลยจ้าา  



- 3D printing เริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดจากเครื่องปั่นด้าย ในสมัยนั้นต้องปั้นสินค้ามากๆเพื่อขาย ซึ่งผลผลิตที่ได้มาจะเป็นของที่เหมือนกันหมด ไม่มีเอกลักษณ์ของชิ้นงาน





เครื่องพิมพ์ 3D เครื่องแรกถูกสร้างขึ้นในปี 1984 โดย 3D Systems Corp โดย Chuck Hull เป็นนักประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ 3D ที่ทันสมัยและเป็นผู้ริเริ่มเทคโนโลยีมาตรฐาน de facto ครั้งแรกที่บัญชีถูกตีพิมพ์จากการพิมพ์ในรูปแบบของแข็งถูกสร้างขึ้นในปี 1981 โดย Hideo Kodama จากสถาบันวิจัยนาโกยา เทคโนโลยีที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งแรกที่ตีพิมพ์บัญชีในระยะยาวการผลิตสารเติมแต่งหมายถึงเทคโนโลยีที่สร้างวัตถุผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนตามลำดับชั้น วัตถุที่มีการผลิตสารเติมแต่งสามารถใช้งานได้ที่ใดก็ได้ตลอดชีวิตของผลิตภัณฑ์ จากการผลิตก่อน เช่นการสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว การผลิตเต็มรูปแบบ นอกเหนือการใช้งานของเครื่องมือและการปรับแต่งหลังการผลิต ในการผลิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องจักรกล วิธีการลดการสร้างโดยเป็นวิธีการดั้งเดิม การลดระยะการผลิต การพัฒนาในปีที่ผ่านมาจะแตกต่างจากเทคนิคการผลิตใหม่ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าการผลิตได้รวมวิธีการที่เป็นพื้นฐานเพิ่มมาหลายศตวรรษ เช่น การรวมจาน,แผ่น, การตีขึ้นรูปและการกลึง การเชื่อม ไม่ได้รวมองค์ประกอบของเทคโนโลยีแบบจำลอง เครื่องจักร(การสร้างรูปแบบที่แน่นอนด้วยความแม่นยำสูง) จะได้รับการลดจากการเก็บและเปลี่ยนเป็นการโม่และบด 
ที่มา : http://t.co/LuJZtGLCEa






- ขั้นตอนการ process : ใช้ CAD computer aided design เป็นขั้นตอนแรกในการเปลี่ยนจากแบบเป็นภาพเสมือน 3D ในจอ สามารถทำได้ 2 วิธีหลักๆ ได้แก่ manuality modeling การขึ้นฟอร์มทีละส่วน และ generative modeling ฟอร์มด้วยการสร้างชุดคำสั่ง โดยการใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ แล้วเข้าไปยัง program ทำ 3D printing ออกมา
- ขั้นตอนการพิมพ์ : สร้างไฟล์ .stl มาจากภาษา g-code จากนั้นกำหนดพิกัดของวัตถุตามแนวแกน x-y-z โดยความหนาแต่ละชั้น จะหนา 1mm.-100micron





- ขั้นตอนการตบแต่งผิว : ชิ้นงานที่ได้ออกมาจะไม่สมบูรณ์อยู่บ้าง ตามแต่วัสดุที่ใช้ เช่น พีพลาสติก จะมีรอยคล้ายเส้นใยแมงมุมขิงเศษพลาสนิกที่หลอมละลายอยู่ หรือผลไนลอน จะมีฝุ่นผงเป็นตัวคํ้ายันเกาะรอบชิ้นงาน ดังนั้น จึงต้องแต่งผิวให้พร้อมก่อนใช้งาน ทาสี เคลือบเงา/เคลือบสี เพื่อพร้อมในการใช้งาน และเพิ่มความแข็งแรงของวัสดุ









- 3D printing สามารถลงรายละเอียดของชิ้นงานได้มากกว่าสินค้าที่ผลิตจากโรงงาน มีการซื้อขายไฟล์ digital ของ 3D printing เช่น thingiverse.com และ shapeways.com สามารถ download ไฟล์สิ่งของเล็กๆไปยังสิ่งของใหญ่ๆเช่น บ้าน การคุ้มครองลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา อาจไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากถูกคุ้มครองตามกฏหมาย ดังกรณี iTune ที่มีการซื้อขายเพลงผ่านระบบดิจิตอน และในอนาคต อาจจะไม่มีการผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรมอีกต่อไป








- สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายในหลายๆด้าน เช่น ด้านอุตสาหกรรมเครื่องจักร ด้านเกษตรกรรม ด้านการทหาร ด้านอากาศยาน ด้านการแพทย์ เครื่องประดับ

ในนิทรรศการส่วนสุดท้ายนั้น จะพูดถึงในส่วนของ การสร้างเอกลักษณ์กับชิ้นงาน 3D printing โดยการนำวัสดุอื่นมาผสมผสานด้วย เช่นชิ้นงานโคมไฟนี้ จะมีส่วนนึงที่มาจากเครื่องปริ๊น 3 มิติ และตัวฐานสามารถใช้วัสดุอื่นตามแต่ต้องการได้




และสุดท้าย เมืองในอนาคต เราต้องการอะไร เราก็ปริ๊นออกมาใช้งานเองได้เลย





งานนี้จัดถึงวันที่ 15 ธันวาคมนี้เท่านั้น อีกไม่กี่วันหลังจากที่เราไปชมและลงบล็อกให้ได้อ่านกันนี้ ใครที่ชอบและอยากศึกษา 3D printing พลาดไม่ได้เลยนะคะ สำหรับวันนี้ สวัสดีคะ :)


ป้ายกำกับ: