วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

#iloveBACC บันทึกการเดินชมนิทรรศการย้อนหลัง ที่หอศิลป์กรุงเทพ

เนื่องด้วยในช่วงที่เคอฟิวใหม่ๆ เลยต้องเข้างานเร็วขึ้น ทำให้เลิกงานไวขึ้น แถมเที่ยว bts ก็ยังเหลืออีก หอศิลป์กรุงเทพเป็นที่ที่เราอยากไปที่นึงเลย เลยมาลงที่ bts สนามกีฬาแห่งชาติ เพื่อจะได้เข้าไปดูหอศิลป์ใจกลางกรุงแห่งนี้

 

โดยปกติเรามักจะชอบเข้า TCDC ที่เอ็มโพเรียมบ่อยๆ เพราะใกล้ที่ทำงาน มีนิทรรศการหมุนเวียนให้ความรู้อยู่ตลอดๆเลย และหยุดเปิดทำการในวันจันทร์เช่นกัน




นิทรรศการผู้หญิงประหลาด บอกเล่ามุมมองของผู้หญิง ผ่านผู้หญิง

พอวันแรกที่เรามาที่นี่ เข้าผ่านทางเชื่อม skywalk ต้องผ่านการตรวจจากพี่ รปภ ก่อน เข้ามาน่าจะเป็นชั้น 3 ของหอศิลป์ เดินมาแบบงงๆ ว่ามีอะไรบ้างหว่า เดินแบบหลงๆในวันนั้น เจอนิทรรศการผู้หญิงประหลาดพอดี เลยเข้าไปดู เข้าห้องแรกไปเจอหุ่นตัวนึงที่มีหน้าเป็นทีวี ด้านบนและล่างแสดงหน้าตาของหญิงสาวหลายๆคน แต่ที่ประหลาด คือ ตรงกลางจอดันเป็นการเดินขบวนชุมนุมทางการเมืองเสียนี่ เมื่ออ่านสูติบัตร ทำให้เข้าใจงานชิ้นนี้มากขึ้น เขาบอกว่าหญิงไทยสมัยนี้มีความกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการเมือง มีผู้หญิงหลายๆคนหลายๆท่านไปชุมนุมทางการเมืองไม่น้อยหน้าไปกว่าชายหนุ่มเลย



ในห้องนั้น มีวิดีโอแสดงอยู่ในห้อง เป็นหญิงสาววิ่งไปเรื่อยๆไม่หยุดเลย เราไม่ได้ดูจนจบ แต่เห็นเขาวิ่งอยู่อย่างงั้น อีกห้องค่อนข้างมืดหน่อย งานในนั้นทำเราสะพรึงมาก แอบน่ากลัวด้วย ที่สะพรึงสุด คือตุ๊กตาผู้หญิง มีขาโผล่มา 2 คู่ (ไม่ใช่ 2 ข้างนะคะ) ตรงท้องมีตาลูกนึงด้วย อันนั้นสะท้อนเรื่องการทำแท้ง ในนั้นมีทีวี แสดงวิดีโอ คอนเซปเดียวกัน หญิงสาวหน้าม้าผมบอบสั้น ใส่ชุดสีเหลืองอ่อน (ถ้าจำผิดขออภัยนะคะ แหะๆ) มีขาเกินมาข้าง o_O เหมือนจะทำอะไรสักอย่าง เหมือนที่เกินมาเป็นส่วนนึงของร่างกายด้วย ดูจบแบบอึนๆเหมือนโดนตีหัวระดับแผ่นดินไหวขั้นต้น....

การออกแบบสถาปัตยกรรมสุดลํ้าจากทั่วโลก จัดแสดงในไทยที่นี่ ที่เดียว

อีกวันจากนั้น สักสองสามวันได้ เปิดเว็บดูรายละเอียดอีกทีว่าในตึกมีอะไรบ้าง มีนิทรรศการเจ๋งๆอะไรให้ดูไหม จนมาเจออันนี้ ฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์: ศิลปะแห่งสถาปัตยกรรม จริงๆเคยเห็นในทีวี เจ้าของผลงานมาพูดเองด้วย วันนั้นเจอน้องๆเตรียมอุดมเยอะมว๊ากกก คาดว่ามาทำรายงานส่งคุณครู (กล้องทั้งนั้น) จริงๆห้องนั้นห้ามถ่ายรูป แต่ถ่ายกันหมดไร้การควบคุม (ตอนนี้งงว่างานนี้เราถ่ายรูปเก็บไว้ได้เปล่า)

อันแรกที่เห็นและจำได้เลย คือแบบจำลองสนามบิน เจ๋งมากเลย ในนั้นมีสองอันมาประกบแล้วได้แบบที่สามเลย มีที่จอดเครื่องบิน ภายในสนามบิน ละเอียดมาก แถมยังคำนวณถึงลมด้วย

ส่วนต่อๆมา เราจะเห็นตึกที่หน้าตาเหมือนจะธรรมดา แต่ภายในนั้น สามารถใช้งานได้หลากหลายมากๆ
ตึกรูปดอกไม้ตูมที่เจ๋งมากๆ เขาออกแบบระเบียงแต่ละชั้นเหมือนหมุนไปเรื่อยๆจนบนสุดอ่ะ แสงเข้าได้เต็มที่เลย
เมืองในอนาคตที่มีรถวิ่งใต้ดิน และด้านบนเป็นแหล่งชอปปิ้ง สร้างเมืองหลายเลเยอร์เลยนะนั่น
เสาไฟฟ้าที่สามารถทรงตัวได้ ทั้งๆที่เหมือนเอาไม้ไอติมมาตั้ง เก่งจุง
โรงเหมืองเก่ามาปรับปรุงเป็นออฟฟิค
ที่สำคัญ บางชิ้นงานที่จัดแสดง นอกจากกระดาษ เหล็ก อะไรพวกนี้แล้ว ยังมาจาก 3D printing ด้วยเจ้าาคะ

พักเบรกด้วยไอศครีมหลากหลายไอเดีย จาก icedea นะคะ

เนื่องจากหาข้อมูลก่อนแล้ว เลยมาลองไอศครีมหลายไอเดียที่นี่ มีหลายรสชาติที่แปลกจากท้องตลาด และอร่อยมากๆด้วย


สามารถอ่านรีวิวของเราได้ที่นี่คะ อิอิ แถมใช้แอปวงในลด 10% ด้วย แต่ต้องครบ 199 บาทถึงจะลดได้นะ (รู้หลังจากที่รีวิว แงๆ)

จบตอนแรกแล้ว ยังจะมีตอนต่อไปหรือไม่ ติดตามชมนะคะ สวัสดี :)

ป้ายกำกับ:

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บันทึกการทัศนศึกษา นอกบริษัท ครั้งที่ 1 : Automotive Summit 2014

สวัสดีทุกคน ทุกอ่าน ที่หลงมาอ่าน

ก่อนอื่นเลย เท้าความนิดนึง หลังจากเราเรียนจบก็ทำงานมาได้ ปีกับสองเดือน (จะปีสามเดือนแล้ว) ยังไม่ได้ไปดูงานนอกออฟฟิคเลย (ณ ตอนนั้น เด็กสุด หัวหน้ายังไม่ได้มอบหมายให้ไปฟังสัมมนาข้างนอก) พองานนี้ ประจวบเหมาะกันอยู่สองอย่าง คือ งานไม่เข้าแล้ว กับ เกี่ยวข้องกับฟิลด์ของบริษัท จึงได้ไปทัศนศึกษา เอ้ยย ไปร่วมฟังสัมมนา กับพี่ๆร่วมงานที่ออฟฟิค มากระจายๆหัวข้อเข้าไปฟัง จึงเป็นที่มาของบันทึกนี้ บันทึกว่าเราได้อะไรจากการไปทัศนศึกษาครั้งนี้บ้าง
เวลาฟังสัมมนาในช่วงเวลางาน มีวันพฤหัสที่ 18 และศุกร์ที่ 19 มีหลากหลายหัวข้อของ Automotive ให้เลือกอันที่เราสนใจ แล้วเข้าไปฟังสัมมนา โดยไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า (คาดว่าระบบพัง) ให้ไปลงทะเบียนหน้างานแทน และมีที่นั่งเหลือเยอะ

... เกร็ดความรู้เล็กน้อย งาน Automotive Summit 2014 เป็นงานสับเซตของงาน Manufacturing Expo 2014 ซึ่งไม่เหมาะกับเด็กน้อยทั้งหลายที่อายุตํ่ากว่า 15 ปี เพราะเป็นงานแสดงเครื่องจักรอุตสาหกรรม เราเคยไปแล้วครั้งนึงกับเพื่อนที่ฝึกงาน การแต่งกาย เสื้อชอป (อันนี้อาจจะไม่จำเป็นในตอนนี้55) กางเกงขายาว และรองเท้าผ้าใบ (รองเท้าหุ้มส้น แต่ตอนนั้นใส่ผ้าใบไป) ไม่เช่นนั้น อาจจะเข้างานไม่ได้ เขาห่วงเรื่องความปลอดภัยของผู้เข้าชมงานมาก ตอนนี้หลักๆจะเน้นด้าน automotive มาก เลยมีเนื้องานด้านนี้ค่อนข้างเยอะกว่าตอนที่เราไป...
เมื่อเลือกเรื่องได้แล้ว เตรียมตัวทุกอย่างภายในของท่านให้เรียบร้อย และเตรียมตัวไปทัศนศึกษา เอ้ยย ไปร่วมฟังสัมมนากัน แต่ก่อนหน้านั้น เราลางานในครึ่งวันเช้า เนื่องจากอยากมาเดินเล่นในงาน manufacturing expo 2014 ก่อน

การเดินทาง เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เดินทางโดยรถเมล์จากหน้ามอ มาลงอนุเสาวรีย์ แล้วต่อ bts ไปลงบางนา และเดินไปต่อรถตู้จากหน้าไบเทคเข้างาน ตอนนี้นั่งรถเมล์จากบ้านมาถึงไบเทคบางนา ใช้เวลา 50 นาทีโดยประมาณ และเดินผ่าน skywalk เพื่อเข้างาน สังเกตทางเข้าจากสาวนักศึกษา เดินตามรูไป ได้้เห็นทัศนียภาพของสี่แยกบางนาได้อย่างชัดเจน โดยทะลุมาถึงชั้น 2 อันเป็นศูนย์รวมห้อง meeting อันเป็นจุดหมายในช่วงบ่ายนี้





เรามาถึงหน้างานในเวลา 10 โมงเช้า อันเป็นเวลาเปิดงานพอดี โดยรวมต่างจาก 2 ปีก่อนที่ไป เพราะเน้นด้านอุตสาหกรรม จากเดิมเน้นเครื่องจักรในโรงงาน มาเน้นด้าน automative แทน ที่ชั้น meeting มีหลายๆบูธรถยนต์มาจัดแสดง สนใจรถมอไซต์บีเอ็มตรงนั้น 555+


เมื่อไปที่ชั้น 1 เราก็ลงทะเบียนที่หน้างาน เพื่อเข้างาน โดยกรอกลงทะเบียนแบบ walk-in เมื่อลงทะเบียนเสร็จได้บัตรมา เราเดินเข้างานเนปคอน มาป๊ะกันหนูคนนี้ เราเคยเจอกันก่อนที่บริษัท robotsystem วันนี้มาแบ้วเลย ฮ่าๆ


เดินเข้างานไปเรื่อยๆ โดยสรุปแล้ว ความน่าสนุกมันน้อยลงแหะ 2 ปีก่อนมีสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ คงเพราะไม่เคยมางานนี้ ไม่เคยเห็น ยังเรียนอยู่ด้วย เลยอยากรู้ไปซะหมด (ทั้งๆที่บางทีก็ไม่เกี่ยวกับแกเร้ยยยย) ใส่ชอปเดินดูได้ ไม่โดนกดดันซื้อของ มาตอนนี้ มีอะไรหลายอย่างที่ต่างกันหลายปัจจัย เราเริ่มมีสายงานเป็นของตนเอง เริ่มรู้สึกว่ามันห่างจากตัวเรามากเสียจนอันที่ไม่เกี่ยวข้องกับเราอยากออกมาจากพื้นที่นั้นอย่างเนียนๆ สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องมีมากขึ้น แต่สิ่งที่ต่างดันมีสีสันของพริ๊ตตี้ที่มากขึ้นเป็น 3 เท่าตัว (ที่แจ่มๆมีร้อยและไม่มีรูปด้วย) และมีการแจกกระเป๋าใยสังเคราะห์ในหลายๆบูธ (จริงๆน่าจะมีตอนสองปีก่อนนะ ยัดแคตาล็อกใส่ shopping bag มันหนักมากเลย TT)

ตอนแรกๆเดินหลงไปเรื่อยๆ ไปเจอพี่สาวชาวไต้หวันคนสวยมาขายเคส waterproof เราไปยืนดู แอบเงิบๆที่ไม่ใช่คนไทย พี่สาวอธิบายสินค้า เราเองก็เริ่มงงว่าวัตถุประสงค์ของสินค้า คืออะไร ไปอีกบูธขายเครื่องส่องวัตถุ พี่สาวสองคนในบูธนั้นพยายามขายของใหญ่เลย แล้วฟิลด์เราไม่ตรงกับพี่เขาด้วย เราอธิบายฟิลด์งานเขาเขาไม่เข้าใจ พยายามขายของ อีกบูธ ขายหัวสกรู เราเดินัข้าไปดูเฉยๆ ถามว่าเราต้องการอะไร เราตอบดูไปเรื่อยๆ ก็ยังจะขายของอีก ฮืออออ เป็นนักศึกษาเดินดูงานง่ายกว่าจริงๆ 


ระหว่างทาง หลายบูธมี พริ๊ตตี้ MC สาวแจกร่วมด้วย ถ่ายรูปแอบลำบากนิดนึง บูธนั้นขายเครื่องจักรอะไรสักอย่าง คนมุงมาร่วมสนุกเต็มเลย


มีบูธที่น่าประทับใจ สัก 2 บูธ ด้วยกัน

1. MuData เราสนใจรถไฟขบวนน้อยที่วิ่ง เลยถามพี่ชายที่บูธ พี่เขาเป็นคนต่างชาติตอนแรกเรานึกว่าคนไทย เลยไปเรียกพี่สาวคนสวยมาอธิบายให้ ขบวนรถไฟที่ว่า แสดงการขนส่งสินค้า ฝั่งซ้ายเป็นตัวอ่าน ฝั่งขวาเป็นตัวเขียน เราสามารถเขียนทับหรือเขียนข้อมูลต่อได้ บริษัทนี้ขาย RFID tag พี่เขาเครมว่าขนาดเล็กที่สุดในโลก มีหลายรุ่นเลย รับระยะได้ไกลสุด 5 เมตร ขึ้นกับวงจรภายในด้วย ว่ามีตัว amp ขยายเท่าไหร่ เนื่องจากบริษัทนี้มีแต่ตัว tag ขาย เลยมีโปรเจกที่ทำร่วมกับพระนครเหนืิอ เป็นตัวอ่าน RFID แบบที่เราเห็นเนี่ยแหละ บนจอแสดงว่า เราอ่านตัวไหนไปบ้าง ชื่อของ RFID tag เราสามารถเปลี่ยนได้ตามใจเลย และ tag แต่ละตัว มีเลขประจำตัวต่างกันด้วย ประโยชน์ ใช้ในการส่งสินค้าก็ได้ ทางการแพทย์ก็ได้ด้วยหล่ะ


ของที่ระลึกจากบูธ มีถุงกระดาษใบน้อยๆ 1 ใบ ใส่แผ่น CD แคตตาล็อก มีแคตตาล็อกของ RFID tag ด้วย มีแฟ้มใสด้วย 1 อัน ใบปลิวเล็กๆน้อยๆของบริษัท


2. บริษัท ไฟฟ้าอุตสาหกรรม จำกัด ในบูธมีพริ๊ตตี้สาวสวยชวนมาเล่นเกมส์ เราดูพี่คนก่อนหน้าเล่น เราต้องดึงลูกกอลฟ์เหมือนเราเล่น pinball นั่นแหละ หลุมที่คะแนนมากสุด 1000 แต้ม อยู่ตรงกลางและไกลสุด รองลงมา 500 แต้ม และ 100 แต้ม ตามลำดับ พี่สาวให้เราลองเล่นก่อน 2 ครั้ง ได้ประมาณพัน พอเล่นจริง 3 ครั้ง ได้รวมกัน 600 แต้มเอง ถ้าได้ 1000 แต้ม เราจะได้ไขควงไปเดินควงเล่นที่บ้านฟรี อดเล่น เสียใจ555 คนได้มากสุด ได้ 1700 แต้ม ได้ของที่ระลึก คือ กระเป๋า กระดาษจดโน้ต และทิชชู่ไว้ซับนํ้าตาที่อดเอาไขควงไปควง

ตัวเกมส์นั้น จะมี sensor ตัวนึง เราไม่ได้ถามการ set ระบบนะ ตัว sensor จะเห็นตัวแท่งด้านใต้ฐาน ถ้าหล่นตรงหลุมไหน จะโชว์สีแดงขึ้นมา และก็จะนับแต้มแสดงผลขึ้นมาบนจอ เมื่อจะเล่นใหม่ กดปุ่ม reset เลยคะ


มีอีกบูธ ขายเครื่องจักรในโรงงาน เราสนใจตัวนึง ที่มีการเขย่ากะบะด้วย เราเลยถามว่าทำไมต้องเขย่า พี่เขาบอกว่าต้องการ dimension ของวัตถุ โดยมีการแสดงผลบนจอ ขึ้นแกน x-y ให้ดูด้วย ในกะบะคือ ปิ๊กกีต้าร์ เขาต้องการเขย่าเพื่อขึ้นด้านที่เขาต้องการ แล้วเครื่องก็จะดูดปิ๊กขึ้นมาวางบนสายพาน ตามปกติ


บูธนี้มีไอแพดตั้งเป็นจอทัชสกรีนของบูธด้วย สามารถเปลี่ยน content ตามแต่สะดวก ตามความต้องการของเจ้าของบูธและลูกค้าด้วย


ในงานมีการร่วมสนุก มีหนุ่มสาวชุดยูนิฟอร์ม ถือป้ายงาน โดยให้เราไป like page manufacturingexpo เพื่อรับของที่ระทึก เอ้ย ระลึก ต้องขอบคุณชายหนุ่มหญิงสาวสองท่านนี้ ที่อุตส่าห์รอดีแตกตายเน็ตเข้าเฟสบุ๊คไปหน้าเพจ ช่วยถือของให้ แล้วยังเอาไอแพดแอร์มาให้เรา sign in เข้าหน้าเพจ และ log out ให้ด้วย ของที่ได้มา เป็นกล่องเหล็ก ข้างในคือ usb hub ของที่ระลึกของงานจ้า


ตบท้ายช่วงนี้ด้วยหุ่นยนต์เครื่องจักรจาก ABB ไม่ค่อยตื่นเต้นเลยแหะ


แอบ ปล ปีนี้งานยังไม่หมดวัน แต่มีโปสเตอร์ปีหน้าแล้วจ้า


อาหารกลางวันนั้น สามารถหากินได้ที่ชั้นใต้ดิน ราคาแพงกว่าศูนย์สิริกิติ์สองเท่าได้ เตรียมเงินต่อมื้อเลย 100 บาทขั้นตํ่า ศูนย์อาหารมี 2 โซน โซนด้านนอก มีร้านแอนตี้แอน A&W เซสเตอร์กิลด์ ร้านซูชิ ร้านกาแฟ ร้านขายสุกี้ชาบู ร้านขายอาหารญี่ปุ่น ถ้าใครอยากประหยัด มาที่ร้าน lawson 108 ได้เลย มีเบนโตะขนาดเล็กๆ น่ารัก ราคากล่องละ 40 บาท 3 กล่อง 100 คหสต ดูน้อยและไม่ค่ิยน่ากินเท่าไหร่แหะ เราโดนโซนแรกไป ชาบูหมู 130 บาท ค่อนข้างแพง เส้นขาด แต่ผักเยอะมาก เลยซัดเพลสเซลไปอีกชิ้นนึง อีกโซนนึง เป็นศูนย์อาหารนานาชาติ เหมือนจะถูกกว่านิดนึง มีหลากหลายอย่างเลย


ในช่วงบ่ายนี้ อันเป็นช่วงเวลาการทำงานนอกออฟฟิคอย่างแท้จริง เจอพี่ๆน้องๆที่ออฟฟิคที่ตามมากันทีหลัง ลงทะเบียนหน้าห้อง ได้ป้ายห้อยคอ กระเป๋าใยสังเคราะห์สกรีนของงาน ใบปลิวของสมาคมรถยนต์ไทย ใบปลิวรถบรรทุกของวอลโว่ และสูติบัตรของงานสัมมนานี้ ชาวเราฟังสัมมนา ในส่วนของ “GREEN MOBILITY CHANGING THE WORLD” เรื่อง Advanced Safety Technology and Transport System ในวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2557 เวลา 13.00-17.00 ที่ห้อง Meeting Room 223 ณ ไบเทค บางนา ในห้องมีทั้งสิ้น 6 แถว มีที่นั่งฝั่งละ 6 ที่นั่ง 2 ฝั่ง สองแถวหน้าสุดมีโต๊ะด้วย นั่งไปจดไปแล้วแอบเมี่อยเบาๆ ฮ่าๆ


13.25 – 13.30 hrs.
Opening Session
by Dr. Nuksit Noomwongs
Lecturer, Department of Mechanical Engineering
Chulalongkorn University

เป็นการกล่าวเปิดงาน และพูดโดยย่อว่า มีพูดเรื่องอะไรบ้าง

Key note : eco car
Key note : passive safety ลดอุบัติเหตุการชน, active safety เช่น ขับรถเบรกไม่อยู่ ABS ช่วยหลบสิ่งกีดขวาง

13.30 – 14.00 hrs.
“Safety Technology for Buses”
by Mr. Kohei Akiyama
Deputy General Manager, Technical Research Center
Hino Motors, Ltd. Japan

อาจจะฟังยากนิดนึง สำหรับภาษาอังกฤษสำเนียงญี่ปุ่นนะคะ เนื้อหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของรถบัส
1. Buses in Japan : รถบัสมีหลายประเภท ขนาดแตกต่างกัน ขนาดใหญ่สุดจุได้ 130 คน ขนาดเล็กสุดจุได้ 20-30 คน คนญี่ปุ่นใช่รถบัสเป็นอันดับสอง รองจากรถไฟ
2. Passenger carrier : ความปลอดภัยต้องสูงกว่าจำนวนคน ลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ ญี่ปุ่นเกิดอุบัติเหตุน้อยอยู่ คือเกิด 15 ครั้งต่อปี (ซึ่งก็น้อยกว่าประเทศสารขัณฑ์หลายเท่าตัว) 
3. Safety measure policies : people + vehicles = total safety ซึ่ง คน ยานพาหนะ และถนน มีความสัมพันธ์ต่อกัน
4. Technology development policies : รถบัส ตอนนี้แบ่งเป็นสองแบบ คือ รถทัวร์ มีโอกาสเกิดจากชนรถคันอื่นมากที่สุด และ รถเมล์ เกิดอุบัติเหตุน้อยกว่า สาเหตุเกิดจากหลายๆอย่างเฉลี่ยกัน
5. Safety system put into practical use : ระบบความปลอดภัยที่ใส่ไปในรถบัส
- new PCS (ABS) : register damage, หลบสิ่งกีดขวาง, เบรกเมื่อรถจะชนด้านหน้า
- new driver monitor : มี sensor คือ กล้อง ตรวจจับว่าเราลืมตาหรือหลับตาตรวจจับตอนใส่แว่นดำได้ด้วย ถ้าคนขับหลับหรือมองไปทางอื่น รถจะชะลอตัวลงและแจ้งเตือนคนขับ
- new lane departure warning system : รถจ่าย มี sensor คือ กล้อง ตรวจจับ
- VSC (vehicle stability control system) : เวลารถเข้าโค้ง มีล้ออีกคู่มาช่วยไม่ให้หลุดโค้ง
- body structure 
• frontal collision : กันชนด้านหน้ามีการเคลื่อนเพื่อกันการยุบตัว และการบาดเจ็บของคนขับ
• rollover : รถต้องคงสภาพอยู่ได้ เมื่อถนนเอียง 30 องศา
- ส่วนอื่นๆ เช่น air-backs
6. Future Initiatives : เพิ่มด้าน safety และลดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บเป็นศูนย์

Key note : รถทัวร์ เกิดอุบัติเหตุรถชนกันมากที่สุดถึง 84%
Key note : พัฒนาตัวรถ โดยให้จุด CG หรือจุดศูนย์ถ่วงให้ตํ่าลง มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ เช่น การเตือนเมื่อออกนอกเลน 0.3 เมตร, ระบบ monitor คนขับ detect ลูกตา โดย detect ตอนคนขับใส่แว่นดำได้, ระบบเตือนเมื่อรถส่าย, VSC เบรกเมื่อรถเข้าโค้งไม่ให้หลุดโค้ง, เตือนรถขับให้เบรกรถ, ใช้กล้องว่ามีรถขับหน้าไหม

14.00 – 14.30 hrs.
“Software Role in Vehicles and V2V Present and Future”
by Mr. Kenneth Koh
CEO
Techsource Systems Pte Ltd, Singapore

- รถยนต์มีนวัตกรรมใหม่ๆตามยุคสมัย : cc car, ladybus volk, ไฮบริด
- software bus layer, designer design luxury car.
- software + mechanics
- ถ้ากดปุ่ม manual hand break จะล็อก, เมื่อมีการเบรก รถเอียง จะหมุนกลับ (roll back) โดย automate
- สิ่งสำคัญในการ develop software ในรถยนต์ คือelectronics bugging, requirement 
- software develop โดยใช้วิธี v-model เช่น GM
- แผนภาพการทำงาน software ในรถยนต์


- จากแผนภาพ จะได้ prototype compiler/software มีการทำ autocode tool (code generator) เพื่อลดเวลาการ design develop และรันบน simulator
- V2V เป็นการจับขี่ในอนาคต, prevent in confection, complexity
- software safety

Key note : อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ และ software เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะ
Key note : มีการตรวจสอบ พัฒนา ทดสอบว่าใช้งานได้
Key note : ออกแบบโปรแกรมตาม requirement และ spec ให็ผู้ใช้ใช้ได้ ผ่านการ coding มาอย่างดี
Key note : generate code เป็น atomic ลดเวลาการ develop ได้ถึง 50%
Key note : V2V ทำให้รถเบรกได้ดีขึ้น

14.30 – 15.00 hrs.
“Measurement Systems for Crash Testing”
by Mr. Michael Raber
Continental Head of Asia
Kistler China Limited

- เริ่มแรก มานำเสนอบิษัทก่อนเลยว่ามีอะไรบ้าง ยังไร อย่างไร บริษัทแรกเริ่มตั้งที่สวิซ แล้วกระจายไปทั่วโลกเลยทีเดียว 
- vehicle safety : compile and record data (any car is same)
- จำนวนรถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามยุคสมัย
- เทรนของเขานะ คือ changing vehicle demographic รถขนาดเล็กลง มีนํ้าหนักเบาขึ้น, vehicle safety สำคัญมาก เป็นความปลอดภัยของผู้ขับขี่ รถต้องแข็งแรง, เชื่อมต่อกับระบบอิเล็กโทรนิกส์, ทดสอบการชน
- Kistier solution เช่นในเรื่องของ data acquisition มีการ backup เชื่อมต่อข้อมูล, มีข้อมูลมากมายที่ต้อง analysis, ใช้ CAN bus, มี better resource, ผลิตให้มีขนาดเล็กลง และเบาขึ้น, simulation

Key note : sensor, material, pick up anyway 

15.00 – 15.20 hrs.
Coffee Break

ได้เพลาของว่างที่รอคอย ขนมมีสองแบบให้เลือก มีครัวซองสองไส้ มีชาและกาแฟให้เลือก ส่วนใหญ่ชาวออฟฟิคของพวกเราเลือกเค้กซ็อคโกแลต และนํ้าชากัน และผู้คนส่วนใหญ่ที่มาสัมมนากัน จะไม่กินนํ้าตาล ครีมเทียมที่แจกมา แต่ใส่นมที่มีอยู่บนโต๊ะแทน เค้กซ็อคโกแลตอร่อยมาก ครัวซองไส้เห็ดไม่ค่อยหร่อยเท่าไหร่ แต่พี่อีกคนบอกว่าก็อร่อยดี อันนี้แล้วแต่คนชอบเนอะๆ



15.20 – 15.50 hrs.
“The Cause of Road Accidents and the Technology to Avoid Them”
by Mr. Maarten Van Gelderen
Product Manager
Volvo Group Trucks Sales & Marketing APAC

- อุบัติเหตุส่วนใหญ่เลยเจอจากมอเตอร์ไซต์ถึง 74% เลยทีเดียว
- สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุนั้น เกิดจากการขับรถเร็ว การดื่มเครื่องดื่มมึนเมา การขับขี่รถจักรยานยนต์ seat-belt ที่นั่งเด็ก (child restraints)
- เน้น social respond 
- ในไทยเกิดอุบัติเกตุสูงสุดเป็นอันดับ 6 ของโลก (จำไม่ได้ว่าของปีไหนนะ) อันดับ 1 คือ นามิเบีย และอันดับสุดท้าย เป็นของมัลดีฟ
- middle-income country ประเทศกำลังพัฒนา เกิดอุบัติเหตุสูงกว่าประเทศด้อยพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว กราฟจะเป็นรูประฆังควํ่าเลย 
- toward zero accident ลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์
- มาเข้าเรื่องรถบรรทุกเลย ส่วนใหญ่จะเกิดอุบัติเหตุจากรถมากที่สุด รองลงมาคือคนขับ
- human factor : คนขับง่วงนอน (อาจจะหลับในอะไรงี้ อันนี้เรามโนเอง), ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา, ความเร็ว, seat-belt
- มาถึงเทคโนโลยีรถบรรทุกที่วอลโว่ใส่เข้าไปในรถบรรทุกดีกว่า
• ACC (Adaptive Cruise Control) : หน้ารถจะมี radar ไว้ตรวจจับระยะห่างรถคันหน้า ถ้ามีรถตัดหน้าเรา ซึ่งทำให้ความระยะห่างหน้ารถสั้นลง รถจะเบรก
• LKS (Lane Keeping Support) : ถ้าเราขับรถคร่อมเลนส์ รถจะเตือนเรา สามารถเปิดปิดฟังก์ชั่นนี้ได้ที่แผงหน้าปัดของรถ
• DAS (Driver Alert Support) : เป็นการตรวจสอบพฤติกรรมการใช้พวงมาลัยรถของผู้ขับขี่ จะแสดงเป็นกราฟแสดงผลบนหน้าจอ ถ้าคนขับมีอาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการขับรถ รถจะเตือนเราพร้อมแสดงผลกราฟที่น้อยที่สุด ว่าได้เวลา take a break แล้วจ้า
• LCS (Lane Changing Support) : ตรงไฟข้างรถจะมีเรดาร์ตรวจสอบ ถ้าเราจะเปลี่ยนเลนรถ โดยที่มีรถอยู่ในเลนที่เราจะเปลี่ยนและเรามองไม่เห็น รถจะส่งสัญญาณเตือน และไม่เปลี่ยนเลนให้
• ESP (Electronics Stability Program) : สำหรับรถพ่วง กันการเกิดอุบัติเหตุเมื่อส่วนที่พ่วงพับเข้าหากัน จะมีการคำนวณความเร็วรถด้านข้าง การหมุนพวงมาลัย ความเร็วล้อ (ทั้งสามคำนวณถึงทิศทางของความเร็วด้วยในแบบแมคคานิกส์) รถจะลดแรงดันรถและล้อลง อยู่ที่ส่วนที่พ่วงกับรถด้วย
• alcohol analyzer หรือชื่อเฉพาะว่า ALCOLOCK : มีติดไว้แถวๆพวงมาลัย วัดแอลกอฮอลด้วยลมหายใจของเรา ถ้าระดับแอลกอฮอล์ของเราน้อยหรือไม่มี เครื่องจะสั่งว่า start motor และถ้าระดับแอลกอฮอล์เกิน รถจะสั่งว่า  lock out ห้ามขับนะ

Key note : supporting driver แต่ไม่ได้แทนคนขับ ไม่ได้การันตีว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุ (ช่วยให้ลดลงเท่านั้น)

ปล แถมวิดีโอพรีเซนต์ไว้ด้านล่าง


15.50 – 16.20 hrs.
“Mercedes-Benz Intelligent Drive in the New S-Class”
by Mr. Dieter Jacob
General Manager Central Service
Mercedes-Benz (Thailand) Limited

- support customer
- all hand protection with enhance performance
- networking sensor
- driver support
- เทคโนโลยีที่เบ็นซ์ใส่เข้าไปใน s-class รุ่นใหม่ ส่วนใหญ่ใช้กล้องสเตอริโอสามมิติ 1 คู่ ด้านหน้า
•  distronic plus รักษาระยะห่าง การเตือนของรถไล่ระดับจากบนไปล่าง
  proximity warning : 30-280 km/h 
  forward collision warning 
  adaptive break asset 
• attention assist : ตรวจจับสมรรถภาพคนขับ ความเร็ว 
  attention level : คล้ายๆ DAS ของวอลโว่ มีการเก็บ activity ของคนขับ
• cruise control : ช่วยในการเปลี่ยนเลน หยุดไฟแดง
• Active Lane Keeping Assist และ  Active Blind Spot Assist ใช้ความเร็วที่ 60 km/h และ 30 km/h ตามลำดับ มีการเตือน side breaking มี sensor ด้านหน้า คือ เรดาร์ ไว้ดูรถโดยรอบเรา และกล้องสเตอริโอสามมิติ 1 คู่ เปลี่ยนความเร็วสามารถจับได้ เวลาเราเปลี่ยนเลน ถ้ามีรถมาด้านข้าง รถจะเบรกข้า
เพื่อไม่ให้เราเปลี่ยนเลน
• Active Break Assist (BAS PLUS) : เตือนคนขับให้เบรก มีระยะห่างของเรดาร์ 3 ระดับ คือ 200 เมตร, 60 เมตร และ 30 เมตร โดยระยะห่างมาก จะไกลแต่แคบ ระยะห่างน้อยจะใกล้ แต่มุมมองกว้าง รถจะเตือนให้เบรกเมื่อมีรถตัดหน้า
• PRE-SAFE break : ใช้เรดาร์ระยะห่างเหมือน BAS PLUS เมื่อมีคนเดินตัดหน้า หรือกำลังข้ามถนน รถจะเตือนให้เราเบรก แต่ถ้าเราไม่เบรกรถ >>>>>>> รถจะชะลอความเร็วจนหยุด เบรกให้ท่านเอง คนที่เดินข้ามถนนจะไม่โดนชนแต่อย่างใด ปลอดภัยทั้งคู่
• traffic sign assist with wrong way alert : ตรวจจับป้ายจราจร ตอนนี้มีที่เยอรมันที่เดียว เท่านั้น โดยมีการเตือนเป็นไฟแดงและเสียงเตือน
• adaptive high beam assist plus : เจอที่เยอรมันที่เดียวโอลลี่อีกอัน อันนี้ตรวจจับ range ของไฟสูง ใช้กล้องในการตรวจจับ
• surround view by 360 degree camera มีติดไว้ที่หน้ารถ ข้างรถ และหลังรถ จะมีมุมมองด้านหลังจากกล้องหลัง และมุมมองด้านหน้าจอกล้องหน้า และกล้องข้างตรงหูช้างทั้งสองข้าง
• Night View Assist Plus : detect ในที่มืดได้ เป็น night view ใช้ infrared camera มองไกลได้ถึง 160 เมตรจากด้านหน้า เห็นสัตว์ใหญ่น้อย เช่น ช้าง ม้า วัว กวาง ได้ คล้ายๆ spotlight
- reduction of injury by PRE-SAFE impulse : การนำไปใช้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ(ป้องกันอุบัติเหตุนั่นแหละ) safe-belt, camera system watch driver, beltbag

Key note : comfort and safety ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สามารถใช้ได้ทุกคนไม่จำกัดเชื้อชาติ มีการเตือนก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ

ปล แปะวิดีโอพรีเซนต์ของเบนซ์จ้าาา และมีข้อมูลเพิ่มเติมให้อ่านกันด้วย




16.20 – 16.50 hrs.
“Safemate: Driving Style Evaluation Tool using Sensory Data on Smartphone”
by Dr. Chalermpol Saiprasert
Researcher
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)

มาฟังรถแพงๆที่มีเทคโนโลยีสุดลํ้ากันไปแล้ว มาฟังวิธีการแก้ปัญหาแบบ low-cost กันดีกว่า

- การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดจากคน ยานพาหนะ และถนน ส่วนที่เกิดจากคน เกิดจากการขับรถเร็ว และการดื่มเป็นหลัก
- เทคโนโลยีความปลอดภัย จะมีกับรถหรูราคาแพงเท่านั้น เลยทำ application SAFEMATE ขึ้นมา ใช้ sensor GPS ในการ locate map และ accelerometer ในการวัดความเร็วในการขับรถ มีให้โหลดทั้ง iOS และ android
- หลักการทำงาน : detect driver event -> classify driver event -> real-time alert dangerous -> user feedback
- กรณีที่ใช้ถนน จะมีการขนส่ง การขนส่งมวลชน ทั้งรถเมล์ รถโรงเรียน และ mobile app นี้ เป็น end user

“Vehicle Behavior Monitoring with Multi-GNSS Technology”
by Mr. Raksit Thitipatanapong
Research Engineer
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)

- Multi-GNSS ระบบดาวเทียมสากล มีในหลายๆประเทศเลย
- เป็นงานวิจัย เพื่อแก้ปัญหารถบางคันที่ไม่มี GPS เป็นการหา lowcost solution ได้ hardware จาก TTET
- In-vehicle data-logger : GPS, input accelerometer ในรถ, REIM ตัวนี้ยากต่อการ develop
- พฤติกรรมของผู้ใช้รถ มีการเปลี่ยนเลนส์ เปลี่ยนความเร็ว การหักเลี้ยวรถ เขาจะเก็บพฤติกรรมการขับรถเพื่อวิจัยการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อหาทางแก้ต่อไป
- ของจำกัดของ GPS คือ longitudinal acceleration และ lateral acceleration

16.50 – 17.00 hrs.
Conclusion and Photo Session

จริงๆไม่ได้กล่าวไว้แต่ต้นนะ ว่าเวลาไม่แปะ ช่วงแรกค่อนข้างเร็ว ช่วงหลังช้าหน่อย จน เลทเบาๆ ไม่มีกิจกรรมการถ่ายรูปอะไรหรอก ในห้องคนเหลือน้อยเต็มที่หล่ะ ทยอยกันกลับบ้าน รวมถึงเราด้วย แหะๆ 



สรุปเทรนเลยแล้วกันเนอะ พบว่ามีเนื้อหาที่คล้ายๆกัน ดังนี้
- รถจะเบรกเมื่อมีสิ่งกีดขวางด้านหน้า หรือระยะห่างประชิดมาก
- เน้นการลดอุบัติเหตุให้เป็น 0
- เน้นช่วยคนขับรถให้เกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุด เน้นความปลอดภัย ไม่ได้มาแทนที่คนขับนะ
- ในไทยเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเยอะ ดูช่วงปีใหม่ สงกรานต์ ได้เลย แต่ยังไงเราก็ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสุดหรูได้ขนาดนั้น เลยมีทางแก้ที่เสียเงินน้อยกว่า อย่างของเนคเทค

ปล. ถ้าเจอวิดีโอที่เกี่ยวข้อง จะ update ให้ทีหลังนะ อาจจะลงแยกที่  google +  นะ

ป้ายกำกับ: ,

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

[Movie Review] Maleficent กำเนิดนางฟ้าอสูร : ขุ่นแม่มาลี กับ ออโรล่า ที่รัก

เรื่องนี้เรารอมานานเลยนะ ไปดูพร้อมกันกับนายแม่ มาดูตัวอย่างกันก่อนเลย


-----------------------------------------------------------------------------------------

เคยสงสัยไหม ทำไมเจ้าหญิงออโรล่าถึงถูกนางฟ้าใจร้ายสาป?
แล้วทำไมเจ้าชายจุมพิตเจ้าหญิง แล้วเจ้าหญิงฟื้นขึ้นมา เพราะความรักหรือ?

ในหนังเรื่องนี้มีคำตอบคะ

เนื้อเรื่องคร่าวๆ บอกถึงชีวประวัติของขุ่นแม่มาลี ว่าเป็นนางฟ้า มีปีกที่สามารถบินไปไหนก็ได้ เป็นมิตรต่อทุกคน แพ้เหล็ก (โดนแล้วปวดแสบปวดร้อน) ได้รู้จักกับชายหนุ่มคนนึง เป็นเพื่อนต่างสายพันธ์กัน พัฒนาความสัมพันธ์จนเป็นคนรัก และกลายเป็นชนวนเหตุบางอย่าง ทำให้ขุ่นแม่มาลีไม่มีปีกที่แข็งแกร่งเหมือนแก่ก่อน และใจร้ายกับเจ้าหญิงน้อยออโรล่า

ขุ่นแม่เต็มร่างคะ สวยยยย ><



เปิดฉากมาด้วยความอลังการของฉาก CGสวยงามตามฉบับของดิสนีย์ เจอขุ่นแม่วัยเด็กที่น่าร๊ากกเหลือเกิน แม่กับเราตื่นตาตื่นใจตั้งแต่แรกจนจบ เลย

การแสดงของขุ่นแม่โจลี่มาเต็มทุกฉาก เนื่องจากรอบนี้ดู soundtrack เลยได้ยินเสียงของนักแสดงทุกท่านตอนแสดงเลย >< ฉากที่โดนตัดปีกไป สงสารขุ่นแม่มากๆ แทบขาดใจเลย โดนคนไว้ใจที่สุดทำร้าย :(

ตามมาด้วยความน่ารักของออโรล่า ที่หลายๆฉากทำให้คนดูอมยิ้ม คือ ฉากที่ขุ่นแม่แอบไปส่องน้องออโรล่า ที่บ้านกลางเขานั่น แล้วพูดว่า "ยัยเด็กอัปลักษณ์" น้องคนนี้ดันขำ น่ารักอ่ะ จนขุ่นแม่เองก็ยังแอบเอ็นดูน้องออโรล่า หรือฉากที่ลูกสาวขุ่นแม่โจลีวิ่งเข้ามากอดขา น่ารักจริงๆ น้องออโรล่าตอนโตก็ยังน่ารัก มีตัดพ้อขุ่นแม่เบาๆด้วย ...

เรื่องนี้เป็นการตีความของเจ้าหญิงนิทรา โดยโฟกัสไปที่นางฟ้าใจร้าย ว่าทำไมต้องสาปออโรล่า เพราะขุ่นแม่แค้นพระราชาสเตฟาน มนุษย์หนุ่มอันเป็นที่รักหักหลัง พอมาเจอออโรล่า เด็กน้อยบริสุทธิ์ ที่ขุ่นแม่เฝ้าดูแลเหมือนลูกสาว เลยรู้สึกผิด จึงถอนคำสาป แต่ถอนไม่ได้ 

แต่สุดท้าย ความรักที่แท้จริง ไม่ใช่ความรักของหนุ่มสาวแต่อย่างไร กลับเป็นความรักแท้ระหว่างแม่กับลูก ที่สานสายใยตัดกันไม่ขาด ความแค้น ความพยาบาท ถ้าเราไม่มีสติ จะทำให้เกิดผลรุนแรงที่เราคาดไม่ถึง และเราไม่สามารถแก้ไขได้

เรื่องนี้นอกจากจะได้ความสนุก ความฟินแล้ว ยังได้ข้อคิด ที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันด้วย และความสุข รอยยิ้มกลับบ้าน เต็มสิบเลยคะ :)

ป้ายกำกับ:

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ติดตามฟุตบอลโลกอย่างง่ายๆ ด้วย google now สำหรับ #android ง่ายกว่า #iOS เป็นไหนๆ

เผอิญว่าเจ้าของบล็อกช่วงนี้มีความสุขในการใช้ google now มากๆเลยในช่วงนี้ (เพิ่งหัดเล่น)
เพราะสามารถล่วงรู้ว่าเราอยู่ไหน แถวนี้มีอะไรบ้าง ใกล้อะไร รถเมล์สายอะไรผ่านบ้าง สภาพอากาศเป็นอย่างไร เราหาถามอะไรอากู๋บ้าง

โดยทางอากู๋ google ได้มี feature สำหรับช่วงนี้โดยเฉพาะ คือ เกี่ยวกับฟุตบอลโลก 
ใน google now จะมีให้ถามก่อนเลย ว่าจะสนใจไหม ให้ update บ่อยไหม เราก็กด yes ไป 
จากนั้นก็มาสถิตที่หน้า google now ของเรา


แถมเมื่อวานนี้หน้า doogle ก็ต้อนรับฟุตบอลโลกด้วย (ไม่ได้แคปจอมาจ้า)

เมื่อตีสาม บราซิลเจ้าบ้านชนะโครเอเชีย 3-1
3 - 1

แน่นอนว่า หาคนตื่นมาดูคงยาก อากู๋ก็จัดให้ แค่เราเลื่อนจอลงมาเป็นการ update (มันอาจจะ set update ตลอดเวลาได้มั้ง อันนี้ไม่รู้แหะ) บอกว่าคู่ไหนแข่งกี่โมง (เวลาในประเทศไทยด้วย) คู่ที่แข่งเสร็จมีคะแนนเท่าไหร่ ต่อเวลาไหม



พอเรากดเข้าข้างใน เราจะเห็นผลการแข่งขัน โดยบอกผลคะแนนแต่ละคู่ กลุ่ม รวมถึงคะแนนแบบกลุ่มด้วย โอ้ว ว๊าววว ยอดมากเลย


ง่ายมากจริงๆสำหรับแอนดรอยด์ ไม่ต้องกดอะไรเยอะแยะมากมายยุ่บยับเหมือนของแอปเปิ้ลเลยเนอะ อิอิ (แอบพาดพิง) ไม่ต้องติดตั้งแอปอะไรเพิ่มด้วยหล่ะ ชาวดรอยสามารถวิธีนี้นำไปใช้ได้ง่ายมากๆเลยเนอะ :)

ป้ายกำกับ:

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บันทึกการร่วมกิจกรรม workshop ของงาน i, MedBot 2014 วันที่ 31 พฤษภาคม 2557(ภาคบ่าย)

จากตอนที่แล้ว ขอเล่าย้อนสักนิดแล้วกันเนอะ ว่าทำไมถึงได้มาร่วม workshop ในครั้งนี้
…เพราะเราไปเจอในกรุ๊ปเฟสคณะ พอเอามาอ่านดูก็รู้สึกว่าอยากลอง 
เลยชวนเพื่อนๆมาสมัคร workshop ด้วย
สมัครสมาชิกในเว็บ TCELS และลงทะเบียน workshop ทั้งเช้าและบ่ายในเว็บ
จึงได้มาในวันนี้…

ในตอนเที่ยง ลงจากลิฟท์มาที่ศูนย์อาหารชั้นใต้ดินของตึก ตามหาที่นั่งที่พี่ๆสตาฟกันไว้ให้ เดินไปทั่วพื้นที่แล้วไม่พบเลย แงๆ วันนี้จะกินข้าวที่ไหนดี โชคดีที่เจอโต๊ะว่าง เลยได้ที่กินข้าว อาหารที่นี้ราคาเริ่มต้นค่อนข้างแพงนะ ราคาต่อจาน 50 บาท แต่ได้บัตรศูนย์อาหารจากที่งาน เท่ากับว่ามื้อนี้เรากินฟรี แถมมีเงินกินขนมเพิ่มอีก 100 บาท เย้

เมื่อกินข้าวกันเรียบร้อยแล้ว พวกเราก็กดลิฟท์ไปชั้น 14 เพื่อไปร่วม workshop ในช่วงบ่าย โดยห้องที่ใช้กิจกรรมในช่วงบ่ายจะเป็นคนละห้องกับช่วงเช้า มีโต๊ะ มีเก้าอี้ที่พับเป็นกระดานได้ มีกลุ่ม workshop 8 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มละ 5 คน ตามจำนวนเก้าอี้ โดยกลุ่มที่ได้ จะเรียงตามการลงทะเบียนออนไลน์ โดยเราได่กลุ่มที่ 1 และเพื่อนเราได้กลุ่มที่ 2 และ 3 ตามลำดับ แต่ละคนเริ่มทยอยมากัน สุดท้ายแตละกลุ่มจะมีสมาชิกมากสุด 5 คน รองลงมาคือ 4 คน มีกลุ่มที่มี 3 คนและ 2  คน มายุบรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน บนโต๊ะมีกระดาษในกิจกรรมวางไว้กลางโต๊ะ พร้อม post-it และ marker สีนํ้าเงิน 3 แท่ง สีแดงแท่งใหญ่อีกแท่ง และขนมซ็อคโกแลต M&M ลูกอมเมนทอส และลูกอมรสคาราเมล วางไว้สองฝั่งโต๊ะ

Idea workshop โดย Ernest To, Strategic Consultant, Business Creative และ Jeff Hamilton, Founder, Creo Modo เวลา 13:30-16:30 เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการในช่วงบ่ายนี้ 



เริ่มต้นที่การแนะนำตัวของวิทยากรทั้งสองท่าน จากนั้นเปิด vdo เกี่ยวกับหนังเรื่องหนึ่ง กำลังพาคนเจ็บไปรักษา ทางวิทยากรบอกว่า ให้มี group leader และ group officer โดย group leader เป็นคนเล่าเรื่องต่อจากใน vdo จากนั้น group officer เล่าต่อ และชี้ให้คนต่อไปเล่าต่อไปเรื่อยๆ โดยคิดเรื่องขึ้นมาเอง จากนั้นทุกคนในกลุ่มก็แนะนำตัว ทำความรู้จักกับพี่ๆในกลุ่ม และทำกิจกรรมแรกร่วมกัน พอได้ข้อสรุปในกลุ่มแล้วทางวิทยากรก็แอบมาถาม จากนั้น เขาก็ถามว่าสามารถเป็นอะไรได้บ้าง และไปยังสไลด์หน้าต่อไป ถามว่ารูปนี้สื่อถึงอะไร 

Key note : robotics technology + automative technology = new innovation
เช่น kinect จับคู่กับการสื่อสารของแพทย์ รวมกันคือการสื่อสารของแพทย์ไปยังห้องผ่าตัด เป็นต้น



กิจกรรม workshop ในช่วงแรก ในห้องจะมีรูปแปะไว้ในห้อง ว่าแต่ละคนต้องการอะไร เช่น คนดื่มหนักแล้วปวดหัวอยากดื่มแล้วไม่ปวดหัว หญิงสาวอยากทำขนมเก่ง นักร้องเกาหลีอยากหน้าตาดี เป็นต้น สามารถนำไอเดียอย่างอื่นมาใส่ได้ โดยมีกระดาษที่แจกไว้บนโต๊ะ เขียนว่าเราเห็นอะไร และเราเข้าใจอะไร ให้เวลาคิดและระดมไอเดีย 15 นาที จากนั้นนำมาเรียงบนโต๊ะ 

กิจกรรม workshop ในช่วงที่สอง วิทยากรจะอธิบายไอเดียตัวอย่างว่ามีประโยขน์อะไรบ้าง วงว่า ตรงกับข้อไหนบ้าง โดย
- แถวบนสุด เป็นระดับในการรักษาหรือการแก้ปัญหา มี concern เป็นห่วงกังวล, prevent ป้องกัน, treat & heal รักษา, get better (recover) ทำให้ดีขึ้น, enhance ใส่เข้าไปเพิ่มขึ้น
- แถวด้านขวา บอกถึงช่วงอายุ มี birth, child, teen ,adult, family, old, dead
- แถวด้านล่าง บอกถึงความใหญ่ของหน่วยการรักษา มี family & friends, patient, caregiver, medical staff, medical professional, medical industries
- แถวด้านซ้าย บอกถีงกิจกรรมที่ทำ มี online, travel, work, play, home, hospital
จากนั้นวิทยากรให้พวกเราแต่ละกลุ่มนำไอเดียที่เขียนไว้ มาแปะประโยชน์หรือข้อดีของไอเดียนั้นๆ ด้วย post-it ในเวลา 15 นาทีเช่นกัน ซึ่งคุณ Ernest To ได้บอกว่าขนมบนโต๊ะเป็น creative food อยากให้พวกเรากินขนมในการคิดไอเดียใหม่ๆ ฮ่า พอจบช่วงที่สอง ก็ได้เวลาพักเบรก กินขนมจากแอแครและลูกชุบจาก UFM (ลูกชุบมันหวานมากๆไม่อร่อยเลยง่ะ) และเครื่องดื่มชากาแฟโอวันตินเหมียนเดิม



กิจกรรม workshop ช่วงที่สาม คิดไอเดียเพิ่มเติมจากในไอเดียในช่วงที่หนึ่ง ยากเลย พี่ๆในกลุ่มนั่งนิ่ง กลุ่มอื่นๆก็นิ่ง คุณ Jeff Hamilton ก็มาชวนคุย และถามว่าพวกเราทำอาชีพอะไรได้บ้าง เขาสรุปได้ว่าคุณเป็น engineer พี่อีกคนเป็น computer science และมารวมกับพี่อีกคนที่เป็น graphic เอามารวมกันน่าจะได้อะไรใหม่ๆเยอะ ประมาณนี้ ช่วงนั้นเราค่อนข้างมึน อึน มากเลย 

กิจกรรม workshop ช่วงที่สี่ อันเป็นช่วงสุดท้าย การสรุปทั้งหมดว่าเราสร้างนวัตกรรมเพื่ออะไรบ้าง แกน x บอกถึงกลุ่มคนที่จะได้รับประโยชน์ ด้านซ้ายเป็น individual benefit ประโยชน์ในการบวนการผลิตในอุตสาหรรม ด้านขวาเป็น social and commutation benefit ประโยชน์เพื่อสังคม แกน y เป็นการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านบนเป็น enhancing (better) ทำให้ดีขึ้น ด้านล่างเป็น enabling (happen) นำสิ่งที่เกิดขึ้นมาทำ เมื่อที่พื้นได้ขีดเส้นแกน x แกน y แล้ว ให้แต่ละกลุ่มนำไอเดียมาวางในแต่ละ ส่วน ว่าตรงกับแกน x อันไหน แกน y อันไหน พบว่าค่อนไปทางซ้ายมือ คุณ Ernest To ถามว่า ไอเดียที่ตกลงจตุภาคไหนโอเคทั้งสุด เราคิดว่าจตุภาคที่หนึ่ง บ้างก็มีจตุภาคที่สอง สรุปคือ อันไหนก็ได้คะ ในสองคำตอบ (ถ้าจำไม่ผิดนะ) เพราะต้องเกิดประโยชน์ต่อสังคม ทางวิทยากรสนุกมากจนไม่อยากเลิกงานเลย แต่พี่พิธีกรรวบรัดให้จบงานในเวลา 17:00 เนื่องจากใกล้เวลาตึกในส่วนออฟฟิคปิด ทำให้วิทยากรอารมณ์ค้างเบาๆ (เหมือนไม่จบแบบมึนๆ) ทาง TCELS มอบของแก่วิทยากร และคุณ Ernest To ได้บอกว่า เราสามารถเก็บไอเดียของเรากลับไปที่บ้่นเพื่อนำไปใช้ในการแข่งขันได้ หลังจากนั้นก็ทยอยกลับบ้าน และถ่ายรูปเป็นที่ระทึก



งานนี้สนุกมากทั้งช่วงเช้าที่ได้สาระความรู้นอกห้องเรียนสำหรับน้องๆนักศึกษา ได้ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการแพทย์ 
ช่วงบ่ายที่ได้ฝึกฟังภาษาอังกฤษ ได้ฝึกคิดไอเดีย ได้เห็นบางฉากจากหนังไซไฟต่างๆที่ต้องหามาดู ได้รู้จักพี่ๆเพิ่มถึงจะช่วงเวลาสั้นมากๆ และพี่ๆในกลุ่ม workshop ได้ยืนยันว่าจะส่งไอเดียเข้าประกวดแข่งขันที่งานนี้ด้วย ฮ่าๆ

Key note : ในช่วงหนึ่ง ทางวิทยากรได้เปิด vdo ในสไลด์ของหนัง star war ฉากหนึ่ง ที่โดนดาบเลเซอร์ฟันจนมือขาด และนำมาต่อมือใหม่ ตอนนี้มีการทำมือเทียมให้คนพิการด้วย ด้วยสั่งงานจากปลายประสาทให้ทำงานเหมือนนิ้วจริงๆ หยิบจับสิ่งของได้

Update : ตอนนี้ทางหน้าเว็บของการประกวด มีการอัพคลิปการ workshop ทั้งหมดไว้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมได้ดูกัน 

การส่งไอเดียเข้าประกวด รายละเอียดตามนี้เลย หมดเขต 30 มิถุนายา 2557 และประกาศผลเดือนสิงหาโน้นเลยจ้า โชคดีทุกท่านคะ



ป้ายกำกับ:

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บันทึกการร่วมกิจกรรม workshop ของงาน i, MedBot 2014 วันที่ 31 พฤษภาคม 2557(ภาคเช้า)

บันทึกการร่วมกิจกรรม workshop ของงาน i, MedBot 2014 วันที่ 31 พฤษภาคม 2557

กิจกรรม workshop ของงาน i, MedBot 2014 จัดขึ้นที่ CUTIP ชั้น 14 อาคารจตุรัสจามจุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการแข่งขันไอเดียหุ่นยนต์ทางการแพทย์ i, MedBot 2014 โดยในวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม นั้น จะมีกิจกรรมการอบรมในช่วงเช้า และการ workshop กลุ่มในช่วงบ่าย ซึ่งการเดินทางมายังที่นี่มาสะดวกโดย MRT สามย่าน จากนั้นเดินทะลุตึกมาเลย ท่านจะเจอกับ food square ศูนย์อาหารของตึก โลตัสตลาด เดินขึ้นบันไดเลื่อนมาชั้น G ถามพี่ รปภ ถึงวิธีการไปชั้น 14 อันเป็นจุดหมายของเราและเพื่อน จากนั้นพวกเราเดินผ่านร้านกาแฟสตาร์บัค จนไปถึงข้างธนาคารออมสิน อันเป็นที่ตั้งของลิฟท์ กดชั้น 14 เพื่อไป CUTIP อันเป็นสถานที่จัดงาน

…เกร็ดความรู้ของที่จัดงาน CUTIP เป็นสถาบันบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการจัดการนวัตกรรม ซึ่งเราเองอยากเรียนต่อสาขานี้อยู่พอดี ฮ่าๆ…

เมื่อถึงที่หมายแล้ว พวกเราก็มาลงทะเบียนที่หน้างานทั้งกิจกรรมตอนเช้าและตอนบ่าย พี่ TCELS ได้แจกป้ายชื่อให้เรา ในนั้นมีชื่อสกุล บริษัท (พี่ๆที่ออฟฟิคไม่ค่อยทราบเท่าไหร่ว่าเราจะมา55) กลุ่ม workshop ตอนบ่าย, บัตรศูนย์อาหาร food square ที่เราเดินผ่านไปตอนแรก, แฟ้มอ่อนของทาง TCELS ในนั้นมีใบปลิวแนะนำ TCELS, สมุดจด, dvd presentation TCELS, ปากกา, และของสำคัญของงานนี้ คือ สไลด์ของการอบรมของช่วงเช้า จากนั้นเราก็เดินเข้าห้องเรียนของพี่ๆปริญญาโทที่นี่ เพื่อเข้าไปฟังการอบรมตอนเช้า



…งาน i, MedBot 2014 จัดขึ้นโดย TCELS หรือชื่อเต็มคือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (Thailand center of Excellence for Life Sciences) ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.tcels.org …

เมื่อเข้าห้องบรรยายแล้ว รู้สึกว่า เฮ้ย ที่นี่แตกต่างจากห้องเลกเชอร์ที่อื่นแหะ เป็นเก้าอี้นวมสีเทาเตี้ยๆ นั่งค่อนข้างสบาย คล้ายๆที่นั่งโรงหนังน้อยๆในบางแห่งเลยแหะ (ประมานในใบปลิวโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้าหน่ะห้องดูหนังของน้องๆ) ในนั้นมีหลายๆคนนั่งรออยู่ก่อนแล้ว ห้องไม่ใหญ่มาก แต่ดูสบายและชิคมาก เมื่อได้ที่นั่งแล้ว เรามาดูกำหนดการกันดีกว่า ซึ่งเราผ่านกิจกรรมลงทะเบียนเวลา 8:00-9:00 เรียบร้อยแล้ว



เมื่อถึงเวลา 9:00 ได้เวลาเปิดงานอย่างเรียบง่าย มินิมอลเบาๆ (ขออภัยที่จำชื่ออาจารย์ไม่ได้จริงๆคะ)
Key note : การนำ idea ไปต่อยอด + คนทำเป็นแต่ไม่มี idea



ขอบคุณรูปจากเพจ TCELS นะคะ

จากนั้นเข้าสู่การอบรมเรื่องแรก ตามกำหนดการนั้น เป็นเรื่อง "การยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม" โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนวิสเคปคอนซัลติ้งค์กรุ๊ป จำกัด (และเป็นอาจารย์ที่ CUTIP ด้วย) ในเวลา 9:10-9:50 ในเวลาเพียง 40 นาที

- ตอนแรกมี vdo presentation เกี่ยวกับการระดมไอเดียของบริษัทแห่งหนึ่งในต่างประเทศ เกี่ยวกับการปรับปรุงรถเข็น ให้ดูปลอดภัย ใส่ของได้เยอะ และอีกหลายๆอย่างที่เป็นประโยชน์ มีการเสนอไอเดียในที่ประชุม ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมรวมถึงการออกไปสำรวจสถานที่จริง โดยศึกษาถึงการใช้งานจริงและสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนา และปรับปรุงออกมาเป็น prototype ในเวลาเพียง 48 ชั่วโมงเท่านั้น

- การทำงานแนวการสร้างนวัตกรรม มีอยู่ 2 แบบ คือ
1. ทำความคิดสร้างสรรค์เอาไปขาย ซึ่งอาจจะเป็นการทำตาม requirement ของลูกค้า หรือทำแล้วจะมีลูกค้ามาซื้อ เป็นการทำโดยงาน
2. มีความสุขเพราะทำด้วยใจรัก (อันนี้อาจจะหายากสำหรับบางคนนะ)

- ในอุตสาหกรรมการผลิต เราต้องหาโจทย์ก่อน โดยผู้ประกอบการต้องการทำให้ขายได้ผลกำไรสู่บริษัท ในตอนนี้ต่างจากเดิมมาก เพราะเดิมทีจะเป็นนวัตกรรมที่จับต้องได้ แต่ตอนนี้เป็นนวัตกรรมที่จับต้องไม่ได้ และนวัตกรรมที่จับต้องไม่ได้จะอยู่ในนวัตกรรมที่จับต้องได้ เช่น โทรศัพท์มือถือของพวกเราๆนี่แหละ ดังนั้นจึงทำแบบเดิมไม่ได้ (ดูทาง apple, google และ samsung เป็นตัวอย่างได้เลยในจุดๆนี้)

- Schumpeter Innovation & Corporate มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ส่วนภายในบริษัท : มี product ใหม่ และการสร้างนวัตกรรม process ใหม่ โดยใช้เทคโนโลยี และการจัดการองค์กร
2. ส่วนภายนอกบริษัท : supply ของตลาด มี product และ process เหมือนกัน
3. ส่วนภายนอกบริษัทอีกเช่นกัน แต่พบน้อยมากๆ คือ การสร้างตลาดใหม่ เช่น low cost airline เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงตลาด และวิธีการบริหารจัดการใหม่ อันนี้แทบไม่ค่อยพบเห็น

- timeline ของการสร้มงนวัตกรรมในแต่ละยุคสมัย ค่อนข้างต่างกันด้วยเวลาและสภาพสังคม
•ในศตวรรษที่ 19 ยุคเครื่องจักรไอนํ้า เป็นนักประดิษฐ์ที่ทำงานคนเดียว บ้านค่อนข้างมีฐานะ ทำเพราะชอบและอยากทำจริงๆ ได้ prototype ซึ่งยุคต่อๆมานำมาต่อยอดและขายออกสู่ตลาด
•ศตวรรษที่ 20 เป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีกระบวนการสร้างนวัตกรรม
•ศตวรรษที่ 21 เป็นนวัตกรที่มีความหลากหลายอาชีพ หลากหลายสาขามารวมกัน มีระบบเกิดขึ้น บางทีเป็น user สร้างนวัตกรรมเองด้วย

- คุณภาพชีวิตของสังคมเมือง ก็เป็นการจัดการเชิงนวัตกรรมอีกอย่างอื่น โดยมีหลายๆประเด็นที่จับต้องได้ เช่น การขนส่ง สุขภาวะ เศรษฐกิจ ชุมชน รวมไปถึงสิ่งที่จับต้องยาก คือ ปัจเจกและอัตลักษณ์ (กลุ่มคน) มีประเด็นในการทำนวัตกรรม เช่น ลดความเหลื่อมลํ้า เข้าถึงง่าย คนจนสามารถเข้ามาใช้ได้ เป็นต้น

- ตัวอย่างงานวิจัยที่อาจารย์พันธุ์อาจได้ทำไว้ คือ โครงการลำพูน2027 ซึ่งแก้ปัญหาให้เมืองลำพูนน่าอยู่มากขึ้น, โครงการ 18 นวัตกรรมเมือง เปลี่ยนกรุงเทพ 2573 ซึ่งมองไปยัง 3 ประเด็นใหญ่ คือ เมืองสีเขียว เมืองแห่งกูเกิ้ล (ข้อนี้ขออธิบายชื่อแบบนี้คะ เป็นการใช้ internet เพื่อจัดการชีวิตให้ง่ายขึ้น) และเมืองแห่งผู้สูงอายุ (จำนวนมากขึ้น แต่คนหนุ่มสาวน้อยลง) ในโครงการนี้คิดเผื่อไปในอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็มีปรับเปลี่ยนบ้าง แต่ละข้อย่อยจะเป็นการดูว่าควรเน้นไปด้านไหนบ้าง, และโครงการ 10 เทรนด์สำหรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต

Key note : สร้างแนวคิดตอบโจทย์ต่อสุขภาพ

เมื่อจบการอบรมเรื่องแรก มีการถ่ายรูปมอบของแก่วิทยากร ต่อด้วยการบรรยายเรื่องที่สอง "ปัญหาและความท้าทายต่อวงการแพทย์และสุขภาพ" โดย ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิยาลัยมหิดล ท่านเป็นอาจารย์หมอด้านออโธปิดิก ของศิริราชด้วย ในเวลา 9:50-10.30 เวลา 40 นาทีเช่นกัน (อาจารย์หมอบอกว่าท่านไม่ได้นอนมาหลายคืน เพราะทำสไลด์งานนี้ให้ทุกๆคนที่ไม่ใช่สายแพทย์ได้เข้าใจได้มากขึ้น หนูขอบคุณความทุ่มเทของอาจารย์หมอคะ)

- อาจารย์หมอบอกว่าบางเคสพบเห็นในช่วงวันที่หมอหยุด (ฮา)

- progress of health care ตามปกติของคุณหมอ : prevention -> diagnosis -> treatment -> post treatment

- ปัญหาทางการแพทย์ที่อาจารย์หมออธิบาย มี congenital การจัดการให้ดีขึ้น ในตอนนี้มีโรคพวก NCD คือกลุ่มโรคหาเรื่องใส่ตัว (หมอไม่ได้อยากให้คนไข้เป็น แต่คนไข้ดันทำให้เป็นเอง) เช่นโรคถุงลมโป่งพอง (สูบบุหรี่) โรคตับ (กินเหล้า)

- ตอนนี้เริ่มใช้เทคโนโลยีในการรักษามากขึ้น, biointelligence age กราฟกำลังขึ้น

Key note : นวัตกรรม มีแบบ physical และ social เช่น การรัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นนวัตกรรมใหม่เหมือนกัน เพราะถ้าใช้มุขเดิมคงไม่ได้ผล (จริงแหะ ฮา)

- อธิบาย progress of health care อย่างละเอียดในแต่ละข้อ

•prevention การป้องกันโรค นำไปสู่การเฉพาะเจาะจง หรือ detect, การผ่าตัดระดับเซลล์จะมาในอนาคต อาจารย์ยกเคสของโรคติดต่อทางพันธุกรรมมา ป้องกันขึ้นแรก คือการจัดการตัวต้นเหตุตั้งแต่ต้น การปฏิสนธินั่นเอง (diagnosis), antibiotics (immunization, protection)

•diagnosis มีหลายระดับด้วยกัน เช่น physical exam ในระดับ physical, chemistry (เช่น การตรวจเลือด) ในระดับ micro, marker และ gene study ในระดับ molecular ตอนนี้ถึงอนาคตจะมี remote diagnosis (mobile) เช่น การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ, การใช้ image processing ทำภาพ 3D ขึ้นมา, การ skype หาคุณหมอ เป็นต้น

Key note : อาจารย์หมอเล่าว่า เมื่อก่อนลูกชายอาจารย์หมอซึ่งเป็นหมอเหมือนกัน นำผลx-rayออกมาไม่ได้ เพราะเป็นกฏของโรงพยาบาล ห้ามนำออก ตอนนี้ลูกชายอาจารย์หมอส่งเคสหาอาจารย์หมอผ่านไลน์ได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

Key note : ระบบ online, เป็นเบอร์ 1 ในสายนั้นๆให้ได้ เพราะมีโอหาสถูกใช้งานหรือซื้อบริการสูง, การเดินทางทางสายไฟ เช่น ส่งผลในแต่ละเคสไปตรวจที่ต่างประเทศ เราสามารถส่งได้รวดเร็วและรับได้รวดเร็วเช่นกัน ประหยัดเวลา ไม่ต้องมีการขนส่งด้วย

•treatment มี 2 แบบ คือ
1. ไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่ การรักษาทางเคมี เช่นรับยากลับไปทานที่บ้าน, การรักษาผ่านคลื่น และการรักษาแบบ physical เช่น assistive devices สำหรับคนอัมพาต
2. ผ่าตัด ได้แก่ logistic คือการขนส่งคนไข้ และ mobile OR การสั่งงานนอกสถานที่, training มีแบบ virtual สำหรับการรักษาที่มีเคสน้อย และไม่มีอาจารย์หมอที่เชี่ยวชาญ และแบบ navigation การนำเส้นทางในการผ่าตัดภายใน, setting ใช้หุ่นยนต์เข้าช่วย และ devices เช่น การเปลี่ยนอวัยวะเทียมให้ผู้สูงอายุ

Key note : setting และ device สำคัญมากๆในตอนนี้

Key note : อาจารย์หมอแซวว่า ถ้าเล่นเกมส์เป็น ก็สามารถฝึกผ่าตัดผ่านเครื่องมือได้555

- เคสตัวอย่าง ที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์หรือนวัตกรรมทางการแพทย์ในอนาคต
•การผ่าตัดมดลูก โดยใช้ภาพเสมือน 3D
•Operating Room (OR) ห้องที่พร้อมผ่าตัดได้เลย
•navigation การนำทางของหุ่นยนต์ ทำให้การผ่าตัดแม่นยำขึ้น ทดแทนการ x-ray ในบางช่วง เช่น การผ่าตัดสมอง ถ้าโดนผิดจุด จะทำให้เซลล์สมองตายได้
•daVinci robotic system หุ่นยนต์ที่มีต้นแบบมาจากดาวินซี นักวาดชื่อก้องโลกที่มีความสามารถหล่กหลาย รวมทั้งด้านอนาโตมีด้วย เป็นการนำ robot มารวมกับ ความแม่นยำ นำไปผ่าตัดต่อมลูกหมาก ซึ่งมีเส้นประสาทมากมาย ................... เป็นบริการการผ่าตัดที่จับต้องไม่ได้ จ่ายราคาแพงแต่ตอบโจทย์คนไข้อย่างดี (บางเรื่องก็พูดไม่ได้เต็มปากเต็มคำอะนะ)
•tele-surgery การผ่าตัดทางไกล
•fracture fixation ที่ยึดกระดูกที่หัก โดยผ่าตัดและดามเข้าไปข้างในกระดูก เช่น plate & nail ที่คิดค้นโดย หมอ 4 คน และวิศวกร 1 คน
•ข้อเทียม สำหรับผู้สูงอายุที่ข้อเสื่อม ซึ่งออกแบบเฉพาะ ให้ใช้งานได้ตามปกติ วัสดุเป็นโลหะ
•artificial retina สำหรับคนตาบอด

Key note : อาจารย์หมอฝากเรื่อง material



หลังจากจบครึ่งแรกของการอบรมนั้น ก็ได้เวลาอาหารว่าง ที่ทางเดินมีการจัดแสดงผลงาน มีทั้งน้องดินสอ ผลงานจาก bartlab ของภาคไบโอ (ชมรมหนึ่งของภาควิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ทั้งหุ่นยนต์ผ่าตัด (ที่ออกหน้าออกตาหลายๆงานจนเราไม่ตื่นเต้นกับมันเท่าไหร่) และงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง คือนำผู้ป่วยจริง มาใส่เครื่องสื่อประสาท เพื่อสั่งการให้ทำงานตามต้องการได้ อาหารว่างตอนเช้านั้น มีแซนด์วิชของ UFM และชาลิปตัน เนสกาแฟ โอวันติน ให้เลือกทานตามสะดวก เมื่อทานของว่างเสร็จ ก็ได้แวะดูผลงานที่จัดแสดงไว้ ระหว่างนั้น ณ ห้องกลมๆ มีการถ่ายทำวิดีโออะไรสักอย่าง มีคนสาวแต่งตัวแก่ๆ มาแนะนำการใช้น้องดินสอ กต่เราไม่ได้ถ่ายรูปไว้ เกรงใจพี่สาวสุดสวยในนั้น แหะๆ (พบว่าในคืนนั้นออกอากาศช่อง 7 ในดินฟ้าอากาศ แบบตื่นเต้นตกใจในหน้าทีวี 55)

เมื่อพักผ่อนอิริยาบทตามสมควร ก็กลับไปฟังบรรยายเรื่องต่อไป แต่มีการสลับคิวกันนิดหน่อย เป็นเรื่อง "ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดด้านการแพทย์และสุขภาพ" โดย คุณกำธร กาญจนวตี กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุพรีม โพรดักส์ จำกัด ในเวลา 10:50-11:30 ใช้เวลา 40 นาทีเช่นกัน

Key note : R&D ด้านการแพทย์

- ทำไมต้อง medical robotics เพราะไทยสามารถเป็น medical hub มีโรงพยาบาลเครือข่ายติดอันดับโลก, โรงพยาบาลในเครือข่ายกระจ่ายทั่วถึง, มีโรงพยาบาลหรือศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัย 120 แห่ง, โรงพยาบาลชุมชนของรัฐ 700 กว่าแห่งและของเอกชน 200 แห่ง, มีคลีนิคชุมชนกว่า 12,000 แห่ง, มี อสม. มากกว่าล้านคน, อากาศที่พอดีกับการบริการ medical tourism ( เช่น สปา ) และ long stay, ตลาดในประเทศมีศักยภาพเพียงพอในบางพื้นที่

- ปัญหาสำคัญ คือ ขาดบุคลากรทางการแพทย์ (หมอ พยาบาล เภสัชกร ในพื้นที่ห่างไกล), การนำด้าน IT เข้าช่วยในการ connect network

- ระบบ health logistics ที่ดี สามารถกระจายทั่วถึงในที่ที่ห่างไกล เช่น รถขนยา รถขนคนไข้ส่งโรงพยาบาล

- ตัวช่วย คือ medical robotic เช่น หุ่นยนต์ดาวินซี การผ่าตัดต่อมลูกหมาก เครื่องจ่ายยา น้องดินสอ และ M-Health กำลังรอส่วนนี้อยู่ ทำหน้าที่ประสาน tran-service

Key note : ไทยใช้ application มือถือติดอันดับโลก, บุคลากรด้านหุ่นยนต์มีคุณภาพโรงงานชิ้นส่วนใกล้เคียงรถยนต์

Key note : จริงๆแล้วน้องดินสอเป็นนวัตกรรมที่ไม่ใหม่และลํ้ามากๆเท่าไหร่ ทางญี่ปุ่นมีนวัตกรรมที่เจริญกว่าอยู่แล้ว แต่ยังต้องการแบบง่ายๆและตอบโจทย์อย่างน้องดินสออยู่ จึงทำตลาดในญี่ปุ่นได้

- robot ช่วยแบ่งเบาภาระงานในโรงพยาบาลได้

- เมืองจีนทำ telemed หรือ robot kiosk กันเยอะ ซึ่งยังไม่เป็น robotic (คือหุ่นยนต์ต้อนรับคนไข้นี่แหละ เป็นตัวหุ่นแล้วมีหน้าจอเป็นหน้าคน)

- ห้องยา มีค่าใช้จ่ายเป็น 50% ของโรงพยาบาล ใช้ทั้ง OPD และ IPD (ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน) ใช้ robot และ telepharmacy ในการแก้ปัญหา (ระบบห้องจ่ายยา)

- ห้องผ่าตัด (อ้างอิงจากที่อาจารย์หมออธิบาย) มีหุ่นยนต์ดาวินซี เครื่องละ 100 กว่าล้าน ในไทยมีเพียง 3-4 เครื่องเท่านั้น, intraoperstive CT/MRI ซึ่ง intraoperstive มาจาก intra + operstive โดย intraoperstive CT เป็นการผ่าตัดนำวิถี อยู่ในห้องผ่าตัด ใช้ได้หลายคน เป็นห้อง 3D neuro ในอนาคตจะมีหุ่นยนต์ในการผ่าตัดจะมีมากขึ้น

Key note : หุ่นยนต์ด้านการแพทย์บางตัว เป็น open source สามารถนำไปศึกษาและต่อยอดได้

- การผ่าตัดกระดูก ใช้สามมิติ มีความแม่นยำ, ใช้ 3D printing พิมพ์จากโลหะ เช่นไทเทเนียม ทำชิ้นส่วน

- scrub nurse คือ พยาบาลที่ส่งเครื่องมือให้หมอ หรือผู้ช่วยหมอ ขาดแคลนบุคลากร เพราะหมอทำงานหนัก เลยโอนงานไปให้พยาบาล ทำให้พยาบาลงานหนักขึ้น ทำ OT เยอะ ทำให้พยาบาลขาด จึงใช้ robot แก้ปัญหา ช่วยลดงานหนักของพยาบาล ลดความล้า ประหยัดพื้นที่ ไม่ลืมเครื่องมือผ่าตัดหรือผ้าก๊อซในตัวคนไข้

- ใช้ sliver nano ในการฆ่าเชื้อโรค

- หุ่ยนต์กายภาพบำบัดมีจำนวนน้อย ขาดแคลนในท้องตลาด

- เตียงอัจฉริยะ และ wheelchair อัจฉริยะ ในหัวข้อนี้ มีวิดีโอให้ดูด้วย คนไข้ไม่อยากนอน ไม่อยากนั่ง wheelchair ตลอดชีวิต อยากออกไปเดินเหมือนคนอื่นๆบ้าง, ควรจะมีโปรแกรมบอกว่ากำลังตกเตียง หรือรถถูกเข็นไปไหน

- การตรวจสุขภาพป้องกันโรค การมี telemedicine + robot + telepharma เป็น kiosk แบบเครื่องที่หรือ fixed, M-Health

Key note : home care

จากนั้น เป็นการบรรยายเรื่องสุดท้าย สไลด์มาใหม่ๆร้อนๆเลยทีเดียว (เนื่องจากตอนมา มีแค่ 3 เรื่องแรก) "เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อการพัฒนา" โดย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในเวลา 11:30-12:10 ใช้เวลาเท่ากัน คือ 40 นาที แต่สไลด์ค่อนข้างหนากว่าท่านอืื่นๆ ในช่วงแรกอาจารย์ประสบการณ์ หรือแนะนำตัวว่าเรียนจบอะไรมา เคยทำงานที่ไหน ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาบรรยาย

- คำว่า robot มาจากละครเวทีเรื่องหนึ่ง

- ประเภทของหุ่นยนต์ คือ service robot หุ่นยนต์บริการ, mobile robot หุ่นยนต์มือถือ, modular robot หุ่นยนต์ประกอบร่างหรือเปลี่ยนรูปร่าง มีพัฒนาการ, collaborative robots หุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับคน, industrial robots หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

- ตัวอย่างหุ่นยนต์ที่รู้จัก เช่น หุ่ยนต์อาชิโม หุ่นยนต์เล่นไวโอลีนของโตโยต้า หุ่นยนต์ดูดฝุ่นของ iRobot

- ทฤษฎีหุ่นยนต์เบื้องต้น คำนึงถึงตำแหน่งและทิศทาง

- ส่วนประกอบหุ่นยนต์เบื้องต้น ประกอบด้วย joint ข้อต่อ, link กระดูก, sensor เช่น กล้อง ตัวเข้ารหัส โดยมีตัวควบคุมหุ่นยนต์ ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ตอกตะปู

Key note : นอกจากจะตอบโจทย์ได้แล้ว ต้อง certified ได้ด้วย ว่าใช้กับคนได้ มีมาตรฐาน CE, UL ว่าปลอดภัย

Key note : material ต้องได้รับ ISO

- medical protocols (ในส่วนนี้จะคล้ายๆของอาจารย์หมอ) มี prevention ป้องกัน, diagnosis แก้ไข, treatment การรักษา, และ rehabilitation การฟื้นฟู โดยมีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการผ่าตัด ซึ่งเป็นองค์ประกอบ

- การผ่าตัดสมัยนี้ ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ มีระบบที่ซับซ้อนกว่า และกลับบ้านได้เร็ว

- ระบบหุ่นยนต์ดาวินซี เป็น tele surgery

- การฟื้นฟู เช่นการกายภาพบำบัด มีปัญหาคือผู้ป่วยไม่มีนักกายภาพบำบัดดูแลตลอดเวลา จึงใช้หลักการ robotic มาทำอุปกรณ์ช่วย เช่น ReWalk ทำให้ผู้ที่เดินไม่ได้ สามารถเดินได้เอง

- มีเครือข่ายงายวิจัยหุ่นยนต์ทางการแพทย์ทั่วโลก

หลังจากบรรยายในช่วงเช้าเสร็จสิ้น ก็ได้เวลาข้าวเที่ยง แต่เดี๋ยวก่อนคะ พี่พิธีกรให้ทุกคนผู้ร่วมงานทุกท่านมาถ่ายรูปร่วมกัน และได้บอกว่าเหลือที่นั่ง workshop รอบบ่าย 5 ที่นั่งสุดท้าย จากนั้นจึงจะแยกย้ายไปกินข้าวเที่ยง ซึ่งบัตรเงินสดที่ให้มาตอนเช้านั้น มีเงินในนั้น 150 บาท และบอกว่าจะกันที่ไว้ให้พวกเราด้วย เย้ ^_^




ขอบคุณรูปจากเพจ TCELS

นี่แค่ช่วงเช้าเท่านั้น ช่วงบ่ายต่อตอนหน้าจ้า สนุกไม่แพ้กันเลยเนอะ

ป้ายกำกับ:

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

[android dev tips #2] การสร้าง folder ของ application เรา

จากความเดิมตอนที่แล้ว ในการปรับปรุงโปรเจกที่ฝึกงาน เนื่องจากเป็น application ดังนี้ ของเรานั้น ต้อง save รูปจาก camera จึงต้อง save รูปภาพจาก application ลงบน folder เมื่อเราไม่มี folder ใส่รูปที่เราถ่ายได้ ดังนั้นมันจะไม่สามารถบันทึกไฟล์ภาพได้ เราจึงต้องสร้าง folder เพื่อบันทึกไฟล์รูปภาพ

ใน code หน้าแรก (หรือหน้าอื่นๆก็ได้ แล้วแต่เลยจ้า) เมื่อผู้ใช้เปิด application ของเราครั้งแรก จะให้มีการสร้าง folder ของ application โดยใส่ code บนใน onCreate () 

File testDirectory = new File("/sdcard/test_ts/");
testDirectory.mkdirs();

การทำงาน จะสร้างตัวแปร File ที่มีชื่อว่า testDirectory เพื่อสร้าง folder ชื่อ test_ts บน sdcard
เท่านี้ก็ได้ folder ของ application ที่ใส่ไฟล์รูปภาพของ app เราได้แล้ว เย้! 

ปล. ตอนนี้ไม่มีรูปนะ มีแต่โค้ด







ป้ายกำกับ: