วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

เข้าร่วมอบรม BMC กับโค้ชนํ้าใส executive สำหรับชาว NIA-DEI Society

เนื่องจากในกรุ๊ปไลน์ของ NIA-DEI SOCIETY มีพี่ท่านนึง (ไม่แน่ใจว่าพี่กุ้งหรือเปล่า) ได้กล่าวไว้ว่า เราจะมาวิเคราะห์ SWOT 4P แบบเดิมๆไม่ได้แล้ว เพราะมันไม่พอ (ซึ่งเราเห็นด้วยมากกกก) ไปๆมาๆสรุปสุดท้ายคุณพี่บวรมาแนะนำโค้ชนํ้าใส ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ business model canvas โดยเฉพาะ ดังนั้นเราจึงลงทะเบียนใน google form ระหว่างนี้ก็วิเคราะห์แผนธุรกิจที่เราจะทำรอไว้ และโค้ชนํ้าใสมีของฝากมาให้ผู้เข้าอบรมทุกท่านด้วยแหละ ในวันพุธที่ 14 กันยายน 2559 ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ซอยโยธี ซึ่งอีกนิดนึงจะเป็นบ้านเหมือน software park หล่ะ (เพราะมาบ่อยนี่เอง) ในเวลาช่วงบ่ายโมงยาวไปถึงห้าโมง จากนั้นหกโมงเย็นถึงสองทุ่มจะเป็นงาน The night ในเดือนนี้พูดคุยเรื่อง digital marketing โดยพี่เซียร์คะ (ซึ่งไม่ได้เข้าคะ กลับไปหาลุงสุขุมก่อน)

ระหว่างนี้ ขอแปะเรื่องราวการเรียนรู้ business model canvas ไว้ให้อ่านอุ่นเครื่องกันก่อนนนนน
- มาฝึกเขียน BMC ในงาน workshop ของโครงการ Softwaredee อันนี้เป็นสิ่งที่ได้จากการ workshop กับพี่ไวท์ ชาคริต คะ
- business model : how what who นิทรรศการของ TCDC เมื่อปลายปีก่อน ประกอบกับข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือ business model generation 

คำเตือนเล็กน้อย : เนื้อหาในบล็อกนี้ มีในส่วนที่โค้ชเขาอธิบาย มีในส่วนที่เราได้พบเจอมาเอามาเสริม และใส่รายละเอียดจากหนังสือ business model generation เพิ่มด้วย เพื่อความครบครัน ดังนั้นจะไม่ใช่มาจากโค้ชทั้ง 100% นะจ๊ะ


เรามาถึงอีก 5 นาที บ่ายโมง ที่ห้อง 301 idea space ก่อนหน้านี้มี lunch talk แนะนำ product ของท่านที่ได้ทุนจาก NIA เราได้ลงทะเบียน ได้รับเอกสารประกอบการเรียน และวางนามบัตรไว้ด้วย เผื่อมีอะไรติดต่อมางี้ ระหว่างนั้นทุกคนทยอยมาและเม้าท์มอยกัน ส่วนโค้ชนําใสก็เตรียม stand-by รอทุกท่านอยู่



3 สิ่งที่โค้ชนํ้าใส ขอจากทุกคนในวันนี้ คือ
1. เรียนเพื่อเป็นผู้ใหญ่ พวกเราเรียนเพื่อนำไปเขียน proposal เพื่อขอทุนจาก NIA
2. คิดบวก
3. มีส่วนร่วม 100% คือให้ผู้เรียนทุกท่านมีส่วนร่วมในคลาส

จากนั้นเป็นการแนะนำตัวโค้ชนํ้าใส ณภัค ภัคคิโรจน์ อันนี้ขอตัดบางข้อมูลละเอียดๆออกนะ สิ่งที่เป็นแนวทางการสอนของโค้ช มาจากการที่ได้ทุนไปเรียนที่ฮาวาย ของ Asia Pacific Leadership มีคนไทยได้ทุนไปเรียนปีละ 1 คน แต่ละคนมาจากแต่ละประเทศก็เอามาแลกเปลี่ยนกัน ห้องเรียนมีแค่ 29 คนเอง เน้นการทำกิจกรรมในห้องเรียนมาจากการเรียนแบบปกติทั่วไป ที่เน้นฟังจดเฉยๆ ดังนั้นการสอนของพี่เขาจะเน้นการเข้าถึงธุรกิจ และได้ไอเดียใหม่ๆ จากธุรกิจจริง เน้นการมีส่วนร่วมและความเอาใจใส่กับผู้เรียนอย่างทั่วถึง

จากนั้นแนะนำตัวพวกเราทีละคน โค้ชจะจำชื่อ ไม่สิ จดชื่อ จดรายละเอียดของทุกคน ปกติจะมีการโค้ชเป็นคนๆ แต่วันนี้ด้วยเรื่องเวลา และจำนวนคน ดังนั้นจึงได้ guideline มาแทน
(ในกรู๊ป facebook มี live ด้วยนะเออ)

5 หัวข้อที่โค้ชนําใสสอนในวันนี้
1. Business structure by BMC
2. Apply BMC with real business
3. Customer insight : เข้าใจลูกค้า
4. Value proposition : ทำไมลูกค้าถึงยอมจ่ายเพื่อซื้อของเรา
5. Change business model : เปลี่ยนแผนธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ

เรามาดูวีดีโอ case study กันก่อน ของโนเกีย และอากี (อันนี้หามาแปะไม่เจอจริงๆนะ)
- case ของโนเกีย : ยึดติดกับของที่มีอยู่ในมือ เลยเลือกพัฒนาสิ่งที่มี resource ในมือ ในขณะที่คู่แข่งจาก samsung กับ iPhone เริ่มจากศูนย์
- case อากี : เขาคิดว่าลูกค้ารักเขา เพราะลูกค้ามาซื้อเรื่อยๆ เพราะราคาถูก (เกิดจากการดัมพ์ราคาจากการซื้อของในจำนวนมาก เพื่อขายลูกค้า) เลยสต๊อกของไว้เยอะ พอเทคโนโลยีเปลี่ยนไป อากีไม่เปลี่ยนตาม กลายเป็นสต๊อกล้น สุดท้ายขายเป็ดพะโล้ ชื่อแบรนด์อากี เพราะชื่อแบรนด์เขาแข็งแรง คนรู้จัก เชื่อมั่น

Business plan กับ business model ต่างกันอย่างไร
- business plan คือ แผนในระยะยาว แนวทางในการดำเนินงานทั้งหมด ต้องทำให้ชัดเจน
- business model คือ องค์ประกอบหนึ่งของ business plan เน้นว่า เราจะหารายได้อย่างไร และผู้ซื้อได้อะไรจากเรา

canvas คือ แผ่นวาดรูป แผ่นกระดาษ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นแผ่น
ดังนั้น business model canvas คือแผนธุรกิจในกระดาษ 1 แผ่น ซึ่งเอามาจากหนังสือ business model generation ซึ่งเราเองได้อ่านทั้งเวอร์ชั่นต้นฉบับ และเวอร์ชั่นแปลไทยโดยวีเลิร์น (และเรายังอ่านไม่จบเลยจ้าา จบแค่บทแรกๆถึงกลางๆอย่างที่เคยเขียนสรุปไป) หนังสือเล่มนี้มาจากการ proof ว่าวิธีในหนังสือเล่มนี้ใช้ได้จริง ใช้เวลา 10 ปีก่อนที่ตีพิมพ์ออกมา หลังจากเล่มนี้ออก ถูกเอาเข้าไปในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (อย่าถามถึงที่ไทยเลยเนอะ)

---------------------------------------------------------------------------------------------------

note : รายละเอียดหนังสือ จริงๆซีรีสนี้มันมีสองเล่ม ซึ่ง business model generation เป็นเล่มแรก จากนั้นจะออก value proposition design มาออกอธิบายในการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์เรา ซึ่งฉบับ original ราคาประมาณพันเศษๆ แต่เวอร์ชั่นแปลไทยโดยวิเลิร์น ราคาประมาณสี่ห้าร้อยต่อเล่ม เล่มหลังเพิ่งแปลขายเมื่อปีก่อนเอง เล่มแรกมีที่ออฟฟิคและซื้อมาดองไว้หนึ่งเล่ม ภายในเขาจะสรุปและยกเคสอย่างละเอียดเลยทีเดียว น่าซื้อเป็นเจ้าของมาก ในเว็บเขามี business model canvas ให้ download กันด้วย
ปล ถ้าอยากได้โปรถูก รองาานหนังสือแล้วไปซื้อที่สำนักพิมพ์เลยจ้า




และแปะ playlist video ของหนังสือชุดนี้ เพื่อนำไปศึกษาคร่าวๆ: 

---------------------------------------------------------------------------------------------------

จากนั้นเป็นการอธิบาย business model canvas ซึ่งในวันนี้เน้นที่สองช่อง คือ value proposition เราจะส่งมอบอะไรให้กับลูกค้า และ customer segment กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเราเป็นใคร

เราแปะในเอกสารประกอบการอบรม ในส่วนนี้มีรายละเอียดครบถ้วนเลย
ฝั่งขวา คือ ฝั่งลูกค้า มันจะเริ่มที่ customer segments ก่อน แล้วมาที่ value proposition โดยผ่าน channel และทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซํ้า customer relationship จึงทำให้เราได้ revenue streams
ฝั่งซ้าย คือ ฝั่งผู้ประกอบการอย่างเราๆ เริ่มที่ key resource เพื่อนำมาทำเป็นสินค้าและบริการของเรา ซึ่งใช้ key activity ทำออกมา จากนั้นเราต้องมี key partner ช่วยเราขาย หรือช่วยเรา support จากนั้นจะได้ cost structure ต้นทุนทั้งหมดออกมา

ถ้าเอามาจากในส่วนแสดงนิทรรศการของ TCDC ในส่วนของ who what how
what คือ value proposition เป็นตัวเชื่อมทั้งหมด สังเกตได้จากการอยู่ตรงกลางกระดาษของนาง
who คือ ในส่วนขอลูกค้า ทั้ง customer segments, channel, และ customer relationship
how คือในส่วนของการผลิต ทั้ง key resource, key activity, และ key partner
money คือส่วนการเงิน ทั้งในด้านต้นทุน cost structure และด้านรายได้ revenue streams


อันนี้เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่าง value proposition และ customer segments เพื่อทำให้เราได้ revenue streams


เลยยกเคสตัวอย่างขึ้นมา ซึ่งในหนังสือก็มี คือ เคสของสำนักพิมพ์

แบบเก่าจะเป็นแบบนี้ คือ นักเขียน -> บรรณาธิการ -> โรงพิมพ์ -> ร้านหนังสือ



แบบใหม่ ในหนังสือ คือ lulu.com ที่นักเขียนสามารถพิมพ์หนังสือของตัวเองได้โดยไม่ต้องผ่านสำนักพิมพ์ print on demand เลือกได้ตามใจเลยทีเดียวว่าจะเอาแบบไหน (แอบเสริมว่า โรงพิมพ์ที่ไทยเรานั้น มีรับพิมพ์แบบครบวงจรอยู่แล้ว ไม่ว่างานบวช งานแต่ง ซองผ้าป่า นิตยสาร ยันหนังสือ ถ้าสาวๆบางคนที่อ่านฟิค เขาจะซื้อหนังสือจากคนเขียน ซึ่งคนเขียนเขาติดต่อไปยังโรงพิมพ์โดยตรงเลย)


อันนี้จากในหนังสือเนอะ



อย่าง startup ไทยเราก็มี ookbee (จริงๆในตลาดมีเจ้าอื่นด้วยนะ แต่ไม่ดังเท่า)
อันนี้เป็นในรูปแบบ ebook นอกจากลูกค้าจะเป็นนักอ่าน นักเขียนแล้ว ยังมีอีกกลุ่ม คือสำนักพิมพ์ด้วย ต้นทุนถูกลง เพราะแสกนเล่มเดียว ขายได้หลายเล่ม

หรืออีกเคสนึง ที่ทางกลุ่มของโค้ชได้ไปมา คือ พิพิธภัณฑ์ของเล่น tooney toy museum ซึ่งเขาใช้แบบมี customer หลายกลุ่มเช่นกัน อันนี้ทางกลุ่มได้ไปที่สถานที่จริงๆ พบกับเจ้าของการด้วย

คำถามน่าสนใจ (จากพี่สามารถ) : ถ้าแบบ iPhone คือขายแต่ value proposition แบบ ++ ยังไม่มี customer segment เลย คือมีสินค้าที่เขาไม่คิดว่าเขาต้องการ จะต้องทำยังไง ซึ่งตรงนี้โค้ชเขาจะอธิบายเพิ่มเติมต่อไป

business model canvas ปรับใช้กับธุรกิจของเรา อย่างไรบ้าง
1. focus focus focus (นึกถึงเสียงเจ้ออยในเสือชะนีเก้ง มันใช่อ่ะ)
2. market expansion : เข้าใจ value proposition ของ customer segment แต่ละกลุ่ม
3. effective plan with team : เอากลับไปลีคในทีมได้
4. new business idea and develop
5. increase sale and profit : เพิ่มยอดขายและกำไร

ก่อนพักเบรก มีการชักภาพร่วมกัน ร่วมด้วยเจ้าแม่เซลฟี่อย่างพี่ป๋อคนงาม


พวกเราพักเบรกด้วยเครปฝอยทองในตำนาน และครัวซองไส้กรอกชีส พร้อมด้วยโกโก้เย็นหรือกาแฟเย็น


ระหว่างนั้นโค้ชได้เปิดวิดีโอ business model canvas ของ TCDC ซึ่งมีการบรรยายเป็นภาษาไทยด้วย ใช้ประกอบนิทรรศการเมื่อปีก่อน


จากนั้นมาต่อกันที่การออกกำลังกายก่อนเรียน

Top 10 startup mistake อันดับ 1 คือ สร้างสิ่งที่คนไม่ต้องการ
เช่น ชุดเด็กวัยคลานที่ถูพื้นได้ ที่กันผมจากการกินราเมน และนํ้าเปล่าสำหรับหมาแมว มีรสด้วยนะเออ
นั่นคือปัญหา ดังนั้นการที่เราเรียนการจัดการนวัตกรรม ใจความคือ ทำ product อะไรใหม่ๆแล้วสามารถขายได้


เคสตัวอย่าง อาหารเช้าซีเรียลเคลล็อกส์
ตอนแรก คือ กินที่บ้าน เป็นกล่อง เทใส่ชาม เอานมที่บ้านเทไป
ต่อมาทำเป็น ready-to-eat คือ ใส่ชาม ฉีกแล้วเจอซีเรียส นม ช้อน ปัญหา แล้วจะกินยังไงถ้าอยู่นอกบ้าน (นึกสภาพเหมือนซีเรียสโดเน่บ้านเรา แต่นั่นกินที่บ้านนะ)
สุดท้าย ทำเป็นซีเรียสบาร์แทน ทานได้สะดวก

ทุกคนตั้งใจเรียนกันมาก
แบ่งกลุ่มลูกค้า : bmc ช่วยให้ value proposition ตรงกับ customer segment เพื่อให้ขายได้มากขึ้น 
เช่น ทำไมต้องกินข้าวนอกบ้าน กลุ่มเป้าหมายมีใครบ้าง 
จากนั้นดึงมากลุ่มนึง คือ กลุ่มที่ทานข้าวเพื่อคุยงาน
ทำไม เพราะ เพื่อคุยงานกับลูกค้า ดีลงานให้สำเร็จ updateข้อมูล นำเสนอสินค้าใหม่ๆ

ดังนั้นเราเอาเข้า value proposition canvas เพื่อหาความต้องการของลูกค้า มันจะคิดจากขวาไปซ้าย คือคิดก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร และอะไรที่เป็น gain และ pain ของเขา



และแล้วก็เข้าช่วงกิจกรรม workshop เขียน value proposition canvas ของธุรกิจตัวเองว่าจะทำอะไร จับกลุ่มตามโต๊ะได้กลุ่มละ 4 คน แต่ละคนทำของตัวเองไป 15 นาทีมั้ง โดยมีกฏกติกาการทำดังนี้
1. ให้ list กลุ่มลูกค้าที่เป็นไปได้ทั้งหมดในตลาด ลงบนกระดาษ แล้วเลือกเอากลุ่มเดียว
2. ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเอง
3. เริ่มทำแผนภาพ value proposition canvas เริ่มจากฝั่งขวา customer job ก่อน
(ทีนี้เรางง เพราะลุงสุขุมมีกลุ่มเป้าหมายเดียวแบบยังไม่ได้ลงลึกเป็นกลุ่มเล็กมาก ส่วนแอปสูตรอาหารพอได้หลายกลุ่ม เลยเอาอันนี้มาเล่นก่อน จริงๆแอบเสียดาย อยากได้ feedback เกี่ยวกับลุงอยู่เหมือนกัน)

โค้ชนํ้าใสมาสอดส่องดูแลพวกเราอย่างใกล้ชิด
มีอะไรสงสัยถามโค้ชนํ้าใสได้เลยคะ โค้ชรับฟังทุกท่าน
จากนั้นให้แต่ละคนพรีเซนต์ของตัวเองคนละสามนาที พร้อมกับรับฟังความเห็นจากเพื่อนๆในกลุ่ม (แม่งโคดสั้น) กลุ่มเรามีปัญหา คือเวลาน้อย นำเสนอแล้วเรายังไม่ค่อยอินว่าเราเป็นลูกค้าเขาจะซื้อใช้ไหม (คือไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเขาอ่ะ) ดูจะงงๆ แต่พี่ๆบางกลุ่มเขาได้ธุรกิจใหม่เลยนะเออ พอหมดเวลาโค้ชให้ตัวแทนกลุ่มมาพูดว่าได้อะไรจากการทำกิจกรรมเมื่อสักครู่บ้าง

และวกกลับไปเคสทานข้าวเพื่อคุยงาน เราจะต้องจัดลำดับความสำคัญ ดังนั้นสรุปทั้งหมดที่จดมาได้ ในรูปนี้แล้วกัน


และในส่วนของเราเอง ทำส่วนลูกค้าเสร็จแล้วมาคิดในส่วนของเราต่อ


อีกเคสนึงที่โค้ชยกมา คือร้านอาหารบนเกาะ ว่าทำไมในสมัยนั้นยังไม่มี facebook แต่ยังมีคนมา เพราะร้านนี้ใช้ blog ดังนั้นสื่อออนไลน์เริ่มๆมาหล่ะ (อันนี้ส่วนตัวนะ บล็อกยังมีอิทธิพลอยู่ แต่เรื่องรีวิวลงบล็อกส่วนใหญ่จ้าง คนอ่านเริ่มเฟดๆลงไปหล่ะ เพราะเริ่มรู้ทัน ถ้ากิจการทำเองจะไม่เหมือนรีวิวเวอร์เท่าไหร่)

สรุปขั้นตอนการทำ business model canvas ที่แท้จริง





1. product solution fit คือ ทำสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้า โดยการสังเกตุและหาข้อมูลจากความต้องการของลูกค้า คือการทำ value proposition canvas
2. product market fit : พูดคุยและขอไอเดียจากลูกค้าเลย ทำให้ลูกค้าเห็นสินค้าเราแล้วอยากได้ มีการสร้างสรรค์ ออกแบบ
3. business model fit : ที่เราคิดมา มันถูก support ด้วย business model canvas ทั้งหมดไหม ถ้าทำไม่ได้ ก็ไม่เกิดธุรกิจ ก็วนไปคิดใหม่ตั้งแต่ข้อแรกเลย

และเคสสุดท้ายของวันนี้ อุปกรณ์ก่อสร้าง ยี่ห้อ hilti ที่เปลี่ยน business model ใหม่ จากการเปลี่ยน value proposition และ customer segment จากตอนแรกที่ขายอุปกรณ์ ตอนหลังเปลี่ยนเป็นแบบใด ชมวิดีโอคะ


สรุปจากวิดีโอ คือ เปลี่ยนเป็นให้เช่า แบบ tool on demand ซึ่งถ้าอุปกรณ์เสีย เขามาเอาของใหม่มาเปลี่ยนให้เลย สะดวกด้วยการออกบิลเดียว 1 invoice เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการค่าใช้จ่าย

คำถามน่าสนใจ : ถ้าเรามีหลายโมเดล มีลูกค้าหลายกลุ่ม ใช้ bmc อันไหนดี
คำตอบคือ ดูที่ resource ที่เรามา ว่า support อันไหนได้มากที่สุด ถ้าไม่มี resource หรืออะไรร่วมกันก็เขียนคนละแผ่น ถ้าใช้ resource หรือใช้อะไรร่วมกัน ก็เขียนแผ่นเดียวไป

อีกคำถามน่าสนใจ เอาไปใช้ยังไงให้สำเร็จ
ทำยังไง ให้ bmc ของเรา work ใช้หลักการ K.A.S.H คือ knowledge -> attitude -> skill -> habit

จากนั้นเป็นช่วงขายของของโค้ช ว่าจะช่วยธุรกิจของเราได้อย่างไร ตามปกติเขาจะเปิดคอร์สสอนทุกเดือน รับจำกัด 8 ที่นั่งเพื่อความทั่วถึง โดยจะโค้ชรายธุรกิจ ได้ไอเดียใหม่ๆ ตั้งยอดขายใหม่และทำให้เกิด แลกเปลี่ยนเชิงลึกกับเพื่อนในคลาสและโค้ช ก่อนวันอบรมจะมีการโค้ชส่วนตัวในการเขียน bmc ก่อน และมีการ follow-up หลังเรียน ถ้าสนใจในเว็บด้านล่างเลยนะคะ

หลังจากจบ session มีการกล่าวขอบคุณจากทาง NIA และสิ่งที่ได้ในวันนี้ โดยพี่กล้วย (คุณศิริ ทำผลิตภัณฑ์จากกล้วย หลายโครงการเลย) พี่ทุเรียน (คุณสามารถ ทำทุเรียนโซไชตี้) และพี่อีกท่านที่ทำ platform การเพาะปลูก หนูขอโทษนะคะ จำชื่อพี่ไม่ได้เลย T^T


คำถาม วันนี้ได้อะไรกลับไปบ้าง อันนี้ในส่วนของเรานะ
1. ปกติได้ทำ ได้เรียนแค่ business model canvas 9 ช่อง วันนี้ได้ทำตัว value proposition canvas ด้วย
2. ได้ความรู้เพื่อเอาไปลีคในทีมต่อไป
3. นำไปศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ และประยุกต์ใช้เพิ่มเติม
4. ได้เรียนรู้จากโค้ชนําใส ที่ได้เจอเคสจริง และเคสตัวอย่าง
5. ได้ shared ประสบการณ์กับพี่ๆ
6. ได้ตัดสินใจซื้อหนังสือเพิ่มที่เป็นเล่มต่อของ business model generator ที่แปะไว้ด้านบน

จากนั้นชักภาพแผ่น canvas ที่เราได้ทำ workshop กัน เป็นอันจบพิธี



สุดท้ายมาบอกข้อดี ข้อเสีย ในวันนี้กันดีกว่า
ข้อดี
- ได้ทบทวนสิ่งที่เรารู้มา
- ได้เห็นความสัมพันธ์ภาพรวมทั้งหมดของ business model canvas และ value proposition canvas
- เหมือนโค้ชนำหนังสือสองเล่มมาสรุปให้เราฟังใน 4 ชั่วโมง เจ๋งมากๆ
- ได้มุมมองใหม่ๆ จากตัวโค้ชเอง และพี่ๆในคลาสนี้

ข้อเสีย
- เวลาน้อยไป อุตสาห์เตรียม BMC ที่ทำไว้ แต่ไม่ได้ใช้เลย ตรงนี้เราคงคาดหวังสูงไปสินะ ;_;

ขอขอบคุณพี่บวรที่พาโค้ชนํ้าใสมาบรรยายในวันนี้ รวมทั้งทาง NIA ที่ช่วยสนับสนุนทุกสิ่งอย่าง และรูปจากทุกท่านในกรุ๊ปไลน์นะคะ

สุดท้ายจริงๆ
เว็บไซค์ของโค้ชนํ้าใส : http://businessmodelrecipe.com/
line @ : @napak ตอนนี้เปลี่ยนชื่อ ID เป็น @bmithai นะคะ ส่วนคนที่แอดไปแล้ว ไม่ต้องแอดใหม่นะคะ

ป้ายกำกับ: