วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สรุปการไป workshop เส้นทางสู่สุดยอดวิทยากร และแนวทางปรับใช้สำหรับชาวเดฟ ที่ nexup

เนื่องจากแอบมี pain point ชีวิตในเรื่องนี้อยู่ เลยมาเรียนดูจ้า และมาเล่าให้คนอ่านฟัง เอ้ยยย อ่านกัน

https://www.facebook.com/nexupdoer/photos/a.1597267907037847/2472361342861828/?type=3&theater

เอ้อออออ เคยได้ยินประโยคนี้ลอยๆ มีแต่ speaker หน้าเดิมๆ มันอาจจะเกิดจากปัญหาที่ว่าไม่กล้าขึ้นเวที ไม่รู้จะพูดอะไร คนจะเก็ทไหม พูดไม่ค่อยเก่งเลยอ่ะ ก็เลยแว่บไปเรียนรู้วิชาและมาแบ่งปันชาวเดฟจ้า

เราลง workshop เส้นทางสู่สุดยอดวิทยากรของทาง สถาบันฝึกการพูด nexup ซึ่งตั้งอยู่ที่มูลนิธิเซ็นคาเบียร ซอยทองหล่อ 25 ซึ่งเราเองอยากลองเรียนดูสักรอบนึง และเรียนฟรีแค่ลงมัดจำ 500 บาทเท่านั้น เอาวะ มาลงเรียนดูให้หายคาใจว่าเราควรเพิ่มอะไร ถึงแม้เราจะผ่านเวลาการพูดมาบ้างแล้วก็เถอะ และเราเอง เคยเรียนกับครูพี่อ๊อฟมาแล้ว อ่านได้ด้านล่างจ้า

free workshop "Presentation ให้ทะลุถึงหัวใจ" พร้อมการเตรียมตัวอย่าง strong โดย อาจารย์สมบัติ ทรงเตชะเลิศ
ปล. บางเนื้อหาอาจจะซํ้ากับข้างบน แต่ควรอ่านข้างบนด้วยเลยจะได้ความรู้ครบถ้วน

Part 1 : สิ่งที่เรียนรู้

เราขอสรุป 5 ความรู้ที่ทางวิทยากรได้บอกไว้เป็นข้อๆตามลำดับของเวลาแล้วกัน

1. coaching card ด้วยความที่ครูพี่อ๊อฟเรียนโค้ชด้วยการ์ดจากสถาบัน ICF International (ซึ่งย่อมาจาก International Coach Federation) เลยสามารถนำมาใช้กับผู้เรียนได้ การ์ดชุดนี้เรียกว่า point of you coaching card มาจากประเทศอิสราเอล รวบรวมภาพสวยๆคุณภาพ HD จากช่างภาพ 1 ชุดมีทั้งหมดไม่เกิน 200 ใบ อาจจะมีภาพซํ้ากันบ้าง

coach หมายถึง ผู้นำพาจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งที่ดีขึ้น ด้วยกระบวนการนำศักยภาพออกมา

โดยตัวกิจกรรมจะเป็นดังนี้


รอบแรก เราจะได้การ์ด 1 ใบ จากนั้นจินตนาการว่าในการ์ดที่เราได้นั้น เราเห็นอะไร หนึ่งชั่วโมงที่ผ่านมาก่อนจะเป็นเหตุการณ์ในการ์ดคืออะไร และมีคุณสมบัติจากการ์ดนี้เชื่อมกับการเป็นสุดยอดวิทยากรได้อย่างไร

จากนั้นจับคู่และผลัดกันเล่า และมีการสลับคู่ สลับการ์ดกัน จะได้ใบที่สอง ว่าตัวเราขาดคุณสมบัติอะไร และต่างคนต่างเล่า และเปลี่ยนคู่แลกการ์ดอีกครั้ง ว่าเราจะนำพาสิ่งดีๆอะไรมาเติมเต็ม

มาสรุปของเราดีกว่า
การ์ดรอบแรกได้เป็นรูปนี้


ยีราฟตัวหนึ่งที่คาบกิ่งอ่อน(มั้งนะ) อยู่ในป่าแห่งหนึ่ง
เมื่อชั่วโมงที่แล้วเพิ่งตื่นออกมาหาอาหารกินกับเพื่อนๆในฝูง เดินคุยแบบชิวๆ แล้วก็หาอะไรกินกัน
เมื่อเทียบแล้ว น่าจะเป็นการที่เราพยายามหยิบเรื่องที่ดูยาก ให้เป็นเรื่องง่าย เพราะว่าเจ้ายีราฟตัวสูง จึงสามารถไปคาบกิ่งไม้ด้านบนออกมากินได้

การ์ดใบที่สองคือได้ผู้หญิงคนนึงที่หน้าดำเคร่งเครียดในการเถียงแล้วผู้ชายคนนึงฟังอยู่ แต่ตีสีหน้าไม่ออกว่ารู้สึกยังไง ในรูปเป็นการสื่อสารที่ไม่มีความสุขเลยแหะๆ หรือว่าสิ่งที่เราขาดคือเราฟังมากเกินไปไม่ค่อยได้พูด เพราะเพิ่งนึกออกตอนเขียนบล็อกนี่แหละ

รูปสุดท้ายไปรูปน้องผู้หญิงเล่นชิงช้า คำด้านล่างคือคำว่า alone เราคิดว่าสิ่งที่เติมเต็มน่าจะอยู่กับตัวเองเยอะๆ ไม่สิให้เวลาตัวเองให้การหาความรู้เพิ่มเติมให้มากกว่านี้ จะได้มีบล็อกดีๆให้อ่านกัน แฮร่ แล้วก็เอาไปปรับใช้กับงานได้ด้วย ซึ่งในรูปเพิ่งสังเกตุว่าเอ๊ะใครไกวชิงช้าให้น้องกันนะ พี่เขาบอกว่าเขาอาจจะเล่นเอง ก็คือผลักดันตัวเองออกมา ก็คือสร้างเวทีของเราขึ้นมา ไม่ใช่เทียเตอร์แบบ BNK48 นะ หมายถึงทำให้ตัวเองเป็นที่รู้จักจากความสามารถของเรา ซึ่งก็ทำอยู่แล้ว เราเป็นที่พอรู้จักบ้างในสายงานของเรา ฮ่าๆ

2. เทคนิคหรือเคล็ดลับการนำเสนอแบบสตีฟ จ็อบส์ หรือทั่นศาสดาของใครหลายๆคน

ตัวอย่างการนำเสนอในที่นี้คือ สิ่งที่สตีฟ จ๊อบส์ตอนนั้นได้พรีเซนต์ iPhone ในปี 2007 จ้า



ควรทำสไลด์ที่เห็นแล้วเข้าใจทันที
T time ยกปีของ product ขึ้นมา เช่น ปีที่เกิด macintosh และ iPod
U unique ยกจุดแตกต่าง หาใจความสำคัญ เราต้องการสื่อสารอะไรให้กับคนฟัง อันไหนที่ไม่เกี่ยวข้องให้ตัดทิ้ง เช่น พูดถึงความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
R result นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ คนฟังได้อะไรกลับไป เช่น คนฟังอยากได้เจ้า iPhone ถึงแม้จะไม่เห็นหน้าตาและราคาก็ตาม
N number มีตัวเลขกำกับให้คนฟังจับประเด็นได้มากขึ้น เช่น 3 revolution ทั้ง iPod จอกว้าง โทรศัพท์ และต่ออินเตอร์เน็ทได้ ในเครื่องเดียว

ตัวอย่าง ที่ไม่ได้นำมาใช้ แต่บังเอิญตรง เอ๊ะยังไง 555
อันนี้เป็นสไลด์งาน Android Bangkok 2018 ตอนนั้นทำงานสตาร์ทอัพแห่งหนึ่งที่มีเป็นอาณาจักรเพลงอินดี้ฟังได้ไม่จำกัด แล้วตอนนั้นเราหาคนพูดถึง ExoPlayer เป็น library ที่ใช้เล่นเพลงและวิดีโอไม่เจอ


Time ในหน้า 10 เราแค่เรียง timeline ว่า ExoPlayer เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตอนที่พูดเป็น version เท่าไหร่แล้ว
Unique พูดเรื่องที่ยังไม่เคยมีใครพูดเลย
Result ให้คนดูสามารถนำไปใช้กับโปรเจกตัวเองได้
Number หน้า 14 บอกว่าปัจจุบันจะนิยมใช้ API Level ตํ่าสุดเท่าไหร่ ซึ่งสอดคล้องกับหน้า 13 ที่บอกว่า ExoPlayer สามารถใช้ได้ตั้งแต่ API Level 16, หน้า 20 เรานำสถิติจาก video session ExoPlayer ใน Google I/O มาให้ดูว่าคนใช้ ExoPlayer กี่แอพได้

ซึ่งรายละเอียดอื่นๆที่อาจจะตามไม่ทัน เราจะมีบล็อกใน medium ให้ตามอ่านกัน พร้อมตัวอย่างโค้ดจ้า

ครูพี่อ๊อฟบอกว่า 3 นาทีทองคำ บอกคนฟังว่า session ของเราจะมีอะไรบ้าง (ส่วนใหญ่ชาวเดฟหรือมี recap หลังสุดก็บุญหล่ะ 555 แถมบางทีการบอกคร่าวๆว่า session นี้เจอกับอะไรน้านนน จบก่อนมาม่าสุกไปอีกจ้า)

3. การครองเวที
หลักการ WHO STEP พยายามจำให้เชื่อมโยงกับเรา นั่นก็คือ ใครอยู่ที่บันได
W walk เทคนิคการดูดดึงความสนใจ อย่างตอนแรกที่ครูพี่อ๊อฟเดินจากข้างหลังห้องเพื่อให้ทุกคนเห็น และพอถึงแล้วก็อย่าเพิ่งพูดทันที เพื่อให้ทุกคนงงๆว่าจะพูดยังแล้วห้องมันจะเงียบเอง อย่าลืมตัดไฟและโปรเจกเตอร์
H hand มือนึงจับไมค์ อีกมือทิ้งไว้ ถ้าใช้ handset เราจะมีมือว่างสองข้างเนอะ เราสามารถใช้มือแต่พอดีเพื่อสื่อความหมายประกอบการพูดได้ เช่น ขนาด number ลำดับที่ ระยะทาง ทิศทางของผู้ฟัง การเชื้อเชิญ
O overview มองภาพรวมของห้องทั้งหมด ให้ทุกคนในห้องมองเห็นเรา อาจจะเปลี่ยนอิริยาบถของผู้ฟังให้ตรงกันข้าม เช่น จากนั่งให้ยืน

S Smile ยิ้ม
T tone of voice การใช้นํ้าเสียงสูงตํ่าเบาดัง ไม่ monotone
E eye contact มองหาสายตาที่เป็นมิตรและคุยกับเขา คุยกับคนแรกเสร็จก็เปลี่ยนคนคุย แต่อย่าบ่อยเกินจนมองว่าสายตาเราดูหลุกหลิก
P participate การมีส่วนร่วมกับคนฟัง

จริงๆเราก็ให้คนเรียนขึ้นมาพูด เราคิดในหัวคร่าวๆ แต่ลองมาคิดตอนเขียน จะประมาณนี้
หลักการ WHO STEP คนที่อยู่ที่บันได นั่นคือ สตาฟผู้จัดงานนั่นเอง แฮร่
ถ้ามองแยก WHO คือใครเป็นคนเข้ามาฟังเราใน session นี้ ส่วน STEP คือลำดับเรื่องราวให้คนฟังเข้าใจได้ง่ายๆนั่นเอง

walk แน่นอนว่าไม่ใช่ developer ทุกคนที่เดินไปมาได้ขนาดนั้น ถ้านึกออกก็มีอยู่แค่คนเดียว คือ คุณตั้ง เป็น GDE Web ที่มีลีลาการพูดที่มีความเร้าใจ มีความสบตาคนดูตลอด รวมถึงการยิงมุมคนดูตอนเข้ามาในห้องระหว่างที่ตัวเองกำลังพูดอยู่ด้วย ในงาน Android Bangkok 2019 ที่ผ่านมา แต่ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเดินกันเพราะโอกาสบังจอสูงมาก หรือสถานการณ์ไม่อำนวย อ่านต่อข้อต่อไป
hand แย่หน่อยที่เราขึ้นไปพูดทั้ง 4 เวที ไม่เคยใช้ handset เลย งานแรกยังดีมีขาตั้งไมค์ แต่เราไม่สามารถเดินไปมาได้ เพราะ เรานั่งอยู่หน้าคอมแล้วก็กดเปลี่ยนสไลด์จากหน้าคอมเลย งานที่สามคล้ายกันกับงานแรก มือถือไมค์ อีกข้างกดเปลี่ยนสไลด์ แถมต้องใช้มือชี้สไลด์ จนคนเดินมาเต็มห้องแล้วเพิ่งรู้ตัวทีหลัง งานที่สองและสี่นั้นเป็นงานชื่อเดียวกันแต่ละคนปี แน่นอนว่ามือสองข้างเราจะไม่ว่าง เพราะข้างนึงถือไมค์ อีกข้างถือทริคเกอร์เลื่อนสไลด์ พร้อมกับชี้ในสไลด์อีก
overview โชคดีที่สามารถมองเห็นทุกคนได้ครบหมด เพราะในสามงานนั้นคนฟังประมาณ 50-100 คน งานที่สองนี่น่าจะหลายร้อยอยู่ เอ้อออ ตอนนั้นพูดที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศด้วย ไม่ได้มองชั้นสอง เข้าใจว่าไม่ค่อยมีคนขึ้นไปนั่ง เนื่องจากสายเดฟเรายิงเนื้อหายาว แต่เราพยายามแทรกมุขมาด้วยถ้าจังหวะมันได้นะ

smile ทางนี้ดูเลิ่กลั่ก 555 เอาจริงๆเดฟไม่ยิ้มขนาดคนที่มา workshop ในวันนี้หรอกนะ แต่แค่ดูเป็นมิตรกับคนฟังก็พอแล้วแหละ
tone of voice มันก็เกือบๆ monotone แต่นํ้าเสียงไม่ได้ไปสุดทางขนาดน้าน
eye contact เอ่อออออ ไม่ค่อยได้มองคนมากนัก บางทีมองสไลด์ เพราะทริคเกอร์บางทีงอแง ก็ต้องดูด้วยว่ามันกระโดดสไลด์ให้เราหรือเปล่า แต่เราก็จะพยายามมองๆอยู่บ้างเนอะ
participate แต่ละ session ของเดฟยิงเนื้อหายาว มีบางอย่าง Q & A หรือแจกของ แต่ชาวเดฟเขาถามในสิ่งที่เขาสงสัยและอยากรู้จริงๆ บาง session ที่เราได้ไปฟังนั้น คนถามเยอะจน speaker บอกว่าไปถามเขาหลังไมค์ได้อ่ะ 555

4. 4 ทักษะที่ทุกคนฝึกได้
- แจ่งแจ้ง พูดให้ชัดเจน เคลียร์ เป็นขั้นเป็นตอน
- จูงใจ ทำให้คนเชื่อ
- แกล้วกล้า พูดอย่างมั่นใจ
- ร่าเริง ฟังแล้วสนุก

5. เทคนิคการทำสไลด์ให้โดดเด่น
เขาบอกว่าคนใช้ PowerPoint 95% นี่ประมาณ 500 ล้านคนเลยหรอ ฮ่าๆ

แต่ส่วนตัวเราใช้ Google Slide ทำอ่ะ เพราะว่า สามารถ sync ได้หลาย device สามารถเอาไปดูสไลด์ตอนเดินทาง หรือแก้ที่บ้านได้ อีกอย่าง ทุกงานที่เราขึ้นไปพูด การใช้ Google Slide มันสะดวกในการดูย้อนหลังของคนที่ได้ไปงานและไม่ได้ไปงาน และทางงานสามารถเอาไปตัดต่อกับคลิปย้อนหลัง แล้วก็ไม่ต้องมานั้งเสียบไฟล์ ส่งลิ้งค์ให้ผู้จัดงานไปเปิดต่อเครื่องอื่นได้อีกด้วย สบายสุดๆ แต่ tools ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แค่เล่าว่าเราอาจจะเป็นคนแปลกเฉยๆมั้งนะ

Rule of Slide >> GHOST
G giant ตัวต้องใหญ่ ต้องง่ายและเข้าใจได้ทันที คนข้างหลังยังอ่านเห็นอยู่ ซึ่งสำคัญสุดๆ
H hot มีความร้อนแรง
O original ใช้ภาพถูกลิขสิทธิ์ เขาแนะนำ pixabay แต่เราแนะนำ unsplash มันถูกจริตเรากว่า ภาพสวยกว่าง่า หรืออีกนัยนึงคือภาพที่เราทำเองอ่ะ แบบถ่ายเอง วาดเองงี้
S simple มีความเรียบง่าย เห็นแล้วเข้าใจทันทีว่าคืออะไร
T talent ทำให้โดดเด่น เช่น การใช้สี ความชัดเบลอ, พื้นหลังสีขาวทำให้สินค้าเด่นทุกตัว, ภาพต้องเห็นไม่ใช่อ่าน

เนื้อหาในวันนี้คือ less is more ทำน้อยได้มาก
เลือกใช้ภาษาและ content ให้ถูกต้องกับคนฟัง

เพิ่มเติม การทำ course หรือขึ้นมาเป็น speaker ต้องมีหลักการ 3 อย่าง คือ


- Love พูดในเรื่องที่เราชอบ หรือเรื่องที่เรารัก
- Know พูดเรื่องที่เรารู้ ทำมัน และเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี
- Wanted พูดเรื่องที่คนสนใจและอยากฟังจากเรา ก็คือพูดเรื่องที่มีตลาดต้องการนั่นเอง
การทำหลักสูตร เป็นการเปลี่ยนความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ จากความรู้ของเราเป็นทรัพย์สิน

อันนี้เป็นการเขียน outline course จ้า พูดแบบสั้นๆ


Part 2 : เหตุการณ์ทั้งหมด


เหตุการณ์คร่าวๆ มีการกล่าวเปิดงาน ตัวแทน 10 คนส่งตัวเองมาแนะนำตัวกับเพื่อนๆ 5 ความรู้สำหรับการเป็นสุดยอดวิทยากร จับกลุ่ม 3 กลุ่มใหญ่ นับ 1-100 โดยมีอุปสรรคคือ คนที่นับเลข 2 และ 7 ปรบมือแทนนับเลข ถ้าผิดก็เริ่มใหม่เลย แล้วมีผิดกันหลายรอบ แล้วกลุ่มเราดันนับเสร็จก่อน ชนะเลย เห้อ 555555 จากนั้นแบ่งกลุ่มย่อยของกลุ่มใหญ่เป็น เสือ สิงห์ กระทิง อินทรี จากนั้นแนะนำตัว และก็เปิดวิดีโอที่สตีฟ จ๊อบส์เสนอไอโฟนเครื่องแรก แล้วก็เบรค แล้วก็กิจกกรม coach ด้วยการ์ด ก่อนกินข้าวมีขายคอร์สของเขาเอง แนะนำ nexup แนะนำสตาฟหรือ TA ที่เป็นจิตอาสาทั้งหมด

จากนั้นมื้อกลางวัน ด้วยความที่เลือกบัตรฟรีลงแค่มัดจำ เลยได้ 500 บาทไปกินข้าวเที่ยงร้าน Tiny Cup Café ราคาอาจจะแรงไปนิดแต่อร่อยสุดๆไปเลยจ้า ส่วนคนที่เสียค่าบัตร 500 บาทนั้นกลางวันมีบุฟเฟ่ต์และอาหารว่างเบรกให้จ้า พร้อมคอร์สออนไลน์ด้วย ทำไมเราถึงเลือกมัดจำแทน เพราะเราสามารถเลือกอาหารว่าอยากกินอะไรแถวๆนั้นได้ และไม่อยากดองคอร์สออนไลน์ด้วย


ตอนบ่ายกลับมาต่อกับเทคนิคการนำเสนอแบบสตีฟ จ๊อบส์ พอเห็นคนง่วงเลยมีกิจกรรมเรื่องความเชื่อ แบบร่างกายสั่งได้ ประมาณว่านิ้วข้าวขวายาวกว่าข้างซ้าย นิ้วข้างซ้ายยาวกว่าข้างขวา แล้วมีคนเชื่อว่ามันยาวกว่าจริงๆเว้ย 555 แล้วก็จับคู่มาทบทวนเรื่อง turn เราเองใช้เวลาสั้นกว่ากำหนด 555 แล้วก็เรื่อง who step ก็จะมีคนออกมาทบทวนด้วย

จากนั้นกลับมาอยู่กลุ่มย่อยเดิม ระหว่างนั้นเราไปเข้าห้องนํ้ากลับมาอ้าวต้องมีกรุ๊ปไลน์กันด้วยหรอ มีหลัก 4 ข้อ แล้วให้แต่ละกลุ่มกัน brainstorms ที่เรามองว่ามันก็ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แหะๆ เพราะคนที่พูดเก่งก็จะพูดๆๆๆเว้ย เออ ignore แล้วกันง่ายดี 555 (รู้แหละให้พูดแต่ก็นะ…) แล้วให้ตัวแทน 3 คนพูดสิ่งที่ brainstorms กันมาให้แต่ละกลุ่มฟังแล้วเราก็ให้ feedback กลับไปว่าชอบตรงไหนที่พูดและควรปรับปรุงตรงไหน และแปะมือเป็นการขอบคุณ ซึ่งที่เรียนมาแปปๆอ่ะ มันก็ใช่ได้จะคล่องในเวลาอันรวดเร็วอะนะ ก่อนพักเบรกมีแนะนำเพจของทาง nexup เองและ lead ทุกคนให้คอมเมนต์เกี่ยวกับงานนี้ โพสรูปบนสุดที่เราลงอ่ะ ทางนี้เลยสรุปบล็อกเลย เผื่อคนไหนหลงมาเจอจะได้มาลองอ่านรีวิวยาวๆกันแบบนี้

หลังเบรคเรียนกันไปนิดหน่อย มีวิธีการทำสไลด์และก็การเขียน course outline ที่ก็เป็นหัวข้อคร่าวๆอ่ะ แต่ช่วงจะจบขายคอร์สตัวเองเพิ่มเติม (คอร์สของ nexup นั่นแหละ) ซึ่งค่อนข้างยาวนิดนึง เลยทำให้จบเลทอ่ะ อะแง (แต่เข้าใจ business model ว่าทำไมถึงมาท่านี้) คนสนใจเยอะแหละ แต่ไม่ใช่เราง่า จริงๆทางที่นี่มีคอร์สฟรีหลายคอร์ส และคอร์สเสียเงินด้วย ซึ่งเขาก็ต้อง lead แบบนี้แหละว่าใครสนใจ ลงชื่อด้านหลังห้องได้เลย คุ้นๆว่าเคยอ่านเจอประมาณว่าควรแบบทันทำทีไม่งั้นเราจะเสีย user ไปถ้าทำช้าเกินไป อะไรงี้

Part 3 : สิ่งที่เรียนรู้ระหว่างทางหล่ะ

- กิจกรรมการรวมกลุ่ม 3 กลุ่มนับเลข 1-100 นั้น และแบ่งอีก 4 กลุ่มย่อย มีการแนะนำตัว เพื่อให้ผู้ร่วมอบรมอย่างเราได้ connect กัน สร้างความสัมพันธ์กัน เมื่อเรามีเวลา 1 ชั่วโมง ควร connect กัน 5-10 นาที (แต่ในสายเดฟใครจะมานั่ง connect ใน session หล่ะ ขนาด workshop ถ้าไม่ใช่สาย UX ที่ต้องเกี่ยวกับคนจริงๆก็ไม่มีนะ ส่วนใหญ่คนมักจะ connect กันเองง่า)
- ตอน coaching ด้วย card เนี่ย เป็นการฝึกการฟังคนอื่น ดูภาษากาย ฟังแบบไม่ตีความตัดสินใดๆ ฟังเฉยๆ เงียบ และหาเรื่องพูดต่อ
- session หลังมื้ออาหารเที่ยงเป็นการปราบเซียน เพราะคนกินข้าวอิ่มจนสามารถหลับได้
- ถามความรู้สึกของคนร่วมกิจกรรม ถามเกี่ยวกับผู้ฟัง ไม่มีถูกผิด มักจะได้ผลกว่ามีใครสงสัยถามได้นะ เพราะถามเกี่ยวกับตัวผู้ฟังเอง ก็จะเห็นเพื่อนๆในคลาสยกมือขอพูดกันหลายคน
- โฟกัสที่คนเรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นเราจะเห็นครูพี่อ๊อฟสลับบางหัวข้อตามสถานการณ์นั่นเอง แต่อันนี้เรามองว่าได้เฉพาะที่เป็นลักษณะ workshop มากกว่าอ่ะ session น่าจะสลับไม่ได้เพราะบางอย่างมันก็ถูก set ไปแล้ว
- การใช้นํ้าเสียง สามารถฝึกได้ด้วยสูตร 4 * 4 =16 4 วินาทีแรกหายใจเข้าพุงป่อง 4 วินาทีต่อมากลั้นหายใจไว้ และ 16 วินาทีสุดท้ายนั้นค่อยๆเป่าลมออกมาช้าๆ ทั้งหมดนี้นับเป็น 1 set ทำตอนเช้าและก่อนนอน ครั้งละ 20 sets แบ่งเป็นหายใจพุงป่อง 10 sets และหายใจให้หน้าอกผายขึ้นอีก 10 sets ให้ลมออกมาทางคอ เขม่วท้องเพื่อเปล่งเสียงให้ดังขึ้น
- การพูดให้ชัดถ้อยชัดคำ อ้าปากให้กว้างที่สุดแล้วพูดสิ่งนี้ ปลาวาฬตัวที่หนึ่ง ปลาวาฬตัวที่สอง ... ปลาวาฬตัวที่ n
- การถือไมค์ ให้ถือในข้างที่ไม่ถนัด ห่างจากปากและตํ่ากว่าปาก ถ้าเราเห็นช่างภาพให้ยก 45 องศา เพื่อให้ถ่ายภาพออกมาสวย
- ค่าตัววิทยากรราคาแบบตํ่าๆวันละ 500 - 2,000 บาท บางที่ให้เป็นรายวันเยอะมากๆตามองค์กรต่างๆ ให้สูงถึงแสนสองเลยทีเดียว

Part 4 : แล้ว developer อย่างเราๆหล่ะ

โอเค ยอมรับว่าแอบมีความคาดหวังประมาณนึงว่าเรียนเสร็จเราสามารถเอาไป sharing ให้กับทีมและ developer commulity เพื่อให้หลายๆคนลองเอาไปใช้ดู ด้วยความที่เราเคยเรียนมาบ้างแล้ว คิดว่ายังไม่เติมเต็มความต้องการในใจของเราได้มากขนาดนั้นอ่ะ แล้วตอนเข้าห้องมารู้สึกว่าเป็นการ lead อารมณ์คนจนแบ่บบบ เอ่อออออ แล้วตกใจเพราะของเดือนที่แล้วคนมาครึ่งร้อย วันนี้เป็นร้อยอ่ะ อึดอัดเลย 555 คือไม่ทราบมาก่อน เราคงพลาดเอง

แต่ถ้าอ่านแล้วเอออยากรู้ว่าที่เราเขียนอ่ะจริงไหมก็ลองมาสัมผัสดูได้ค่ะ มีหลายคอร์สเลยที่เป็นคอร์สฟรีของทาง nexup มาปลดล็อกพลังการพูดกัน มาเจอคนหลากหลายสายอาชีพ ซึ่งตอนจับกลุ่มเอ๊ะเหมือนของคนโน้นมันก็ link กับคนนั้นนะ ฮ่าๆ

ยอมรับว่าสายงานเราส่วนนึงมันไม่สามารถทำตามได้ทั้งหมด เช่น ไม่ใส่ตัวหนังสือลงไม่ได้ เพราะเรายกตัวอย่างโค้ดให้คนฟังได้ดูถูกไหมหล่ะ เราคงไม่สามารถใช้หลัก turn ได้ทุกตัวในการทำ session ของเราได้ทั้งหมด ถึงเรามีสถิติหรืออะไรที่เป็นตัวเลข official ก็ตามก็ไม่ได้จำเป็นทั้งหมด และไม่สามารถให้คนมามีส่วนร่วมอะไรขนาดนั้นใน session ของเรา (ส่วน workshop มันก็น่าจะมีได้บ้าง) เนื่องจากเรากำหนดกับผู้จัดงานได้แล้วว่าพูดได้กี่นาที มี Q&A ไหม มีเท่าไหร่ แต่สิ่งนึงที่เห็นชัดเจนคือ เราขาดเวทีที่ให้ชาว developer อย่างเราๆได้ฝึกพูดหล่ะสิ แล้วยังขาดโค้ชที่ช่วยเขาอีกนอกจะฝึกกันเอง

เทคนิคที่เราเรียนนั้นสามารถมาปรับใช้ได้ และอ่านบล็อกพวกนี้ร่วมด้วย


สุดท้าย ทางเรากำลังร่างคอร์สฟรีออนไลน์ และนำไปสู่ออฟไลน์ในอนาคต อย่างน้อยทางแบบนี้สิ่งที่เรียนมาวันนี้ได้ใช้แน่นอนแหละเนอะ ถึงแม้กับการขึ้นเวที speaker เราก็รู้แหละว่าต้องหยิบเรื่องที่เราทำและคนฟังอยากรู้ จะได้เอากลับไปใช้ ยิ่งภาษาอังกฤษคือยากจริงๆ แต่ปีหน้าน่าจะดีขึ้นแหละ จริงๆเรายังขาดเทคนิคการจำทุกอย่างในสไลด์แหละ 55555 แต่แค่วันนี้ไม่มีหลักการมา fullfill นั่นแหละ แต่ก็หายคาใจไปแล้วว่าไปแล้วเป็นอย่างไร บวกกับเรื่องโค้ชก็น่าสนใจ แต่แค่ขี้เกียจไปคุยเฉยๆ 555 เพราะต้องรีบกลับบ้านอ่ะเนอะ วันถัดมาวันจันทร์ตื่นมาทำงานแต่เช้า

ถ้าสนใจ ทาง nexup ยังมีคอร์สอื่นๆนอกจากคอร์สนี้ สามารถเข้าไปดูได้ที่
เว็บไซต์ https://nexup.space/

บทส่งท้าย

เพราะเราร่างไว้นานแล้ว ไม่รู้จะเล่าตอนไหนดี

มีสมาคมฝึกการพูดด้วยหรอเนี่ย?

มีสิ ตอนนั้นเราเรียนหลักสูตรการจัดการนวัตกรรมของ NIA และมีพี่คนนึง มาแลกเปลี่ยนความรู้โดยการจัด session เกี่ยวกับการพรีเซนต์ให้เราฟัง เรามีไลน์ท่านอาจารย์ผู้นั้นด้วย ในไลน์ไทม์ไลน์ที่เขาลงมีเกี่ยวกับสมาคมฝึกพูดแห่งประเทศไทย รวมถึงคอร์สอบรมพวกนี้ เรียนฟรี และเราก็ห่างหายจากกลุ่มศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของหลักสูตรนี้

สิ่งที่ระลึกถึงความจำคือมีน้องคนนึงไปอบรมที่สมาคมฝึกพูดแห่งประเทศไทยแล้วโพสลง facebook เลยนึกถึงท่านอาจารย์ หลายๆวันต่อมาในไลน์แจ้งเตือนว่าท่านอาจารย์โพสในไทม์ไลน์ของไลน์ เลยเข้าไปค้นดู เขาเปิดสถาบันฝึกการพูด มีทั้งเรียนฟรีและเสียเงินด้วย น่าสนใจเลยทีเดียว

สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/speechthailand/
สถาบันฝึกการพูด https://nexup.space/

ป้ายกำกับ:

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

แก้ปัญหาจะนำเสนอแอพเดโมผ่านคอม สำหรับชาวดอย ใช้ scrcpy สิ


สมมุติว่าเรากำลังพรีเซนต์เดโม่ให้หัวหน้าฟัง หรืออยากโชว์แอพเดโม่ตอนที่คุยกำลังขึ้นเวทีอยู้สักงานหนึ่ง โดยที่คุณสามารถ handle ได้อย่างมั่นใจ จะต้องใช้ software อะไรดีที่สามารถพรีเซนต์ผ่านหน้าคอมได้เลย

แน่นอนว่าตอนแรก คุณอาจจะเปิด Android Emulator ขึ้นมาเพื่อรันแอพที่เขียนไว้แสดงบนจอคอมที่เชื่อมต่อ projector แต่เมื่อก่อนมันช้ามากๆ ยิ่งทำผ่าน notebook ระบบปฏิบัติการ Windows หน้าตาแทบเล็ด ทำให้การนำเสนอแอพที่ว่าสะดุดลงเพราะรอ Emulator และรันให้ทันเวลา ด้วยความช้าของมัน ทำให้คนมีความเจ็บปวดเกี่ยวกับมัน เลยเลี่ยงที่จะใช้ทั้งในการรันงานและพรีเซนต์

อีกตัวที่เคยใช้คือ vysor ซึ่งใช้งานได้ฟรี และมี chrome extension ด้วย มันจะมีแลคๆอยู่ และบางทีก็มีโฆษณามาขัดจังหวะด้วย ถ้าอยากข้ามข้อจำกัด สามารถ subscription เป็นแบบ pro ได้ หรือใจปํ้าซื้อไปเลยจ้า

ก่อนหน้านี้กล่าวถึง Emulator แน่นอนว่าต่อมาก็มีตัว GenyMotion และทาง GenyMotion tool สำหรับแสดงหน้าจอมือถือแอนดรอยด์ผ่านคอมเช่นกัน เรียกว่า scrcpy นั่นเอง

การติดตั้งก็ไม่ยากเย็น สำหรับ MacOS ติดตั้ง homebrew ให้เรียบร้อยเสียก่อน ผ่าน Terminal

จากนั้น install ลงไปผ่าน `brew install scrcpy`

และ install adb ผ่าน brew ด้วยเช่นกัน `brew cask install android-platform-tools`

เมื่อใช้งานก็พิมพ์ `scrcpy` ลงไป ก็จะแสดงหน้าจอมือถือของเราออกมาแล้วหล่ะ


ใน Terminal ก็จะมี log ให้เราเห็นสดๆแบบ realtime ด้วยหล่ะ


เปิดมาภาพแตกเลย ทำไงดีหล่ะ?

ลองสั่งให้มัน full screen ดู `scrcpy --fullscreen`

เก็ทเลยจ้า จริงๆมันละเอียดสุดๆ จริงๆมันละเอียดแค่ภาพที่ละเอียดมันถูกบีบให้ขนาดเล็กลงไงตอนไม่ full screen อ่ะ

พอมาเทียบดู พบว่าละเอียดเท่าๆกันเลยนะเนี่ยยยยย


ถ้าอยากให้เขาเห็นว่าเรากดจากตรงไหนหล่ะ
พิมพ์คำสั่ง `scrcpy --show-touches`

ถ้าอยากทำสองอย่างพร้อมกันหล่ะ ก็แค่พิมพ์คำสั่ง
`scrcpy --fullscreen --show-touches`

ผลออกมาเราสามารถ demo แอพของเราและทุกคนเห็นว่าเรากดตรงไหนด้วยนะ ดีงามสุดๆ


ของดีและฟรีแบบนี้ ไม่ใช้ ไม่ได้ล้าวนะบอกเลยย

ป้ายกำกับ: