วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

เข้าอบรม Google Ignite Camp วันที่ 2 พิชิต AdWords Certified : Video Advertising

หลังจากวันแรกที่ได้เรียนกัน และได้สอบกัน บางคนผ่าน บางคนไม่ผ่าน มีคนได้ 99 ด้วย โอ้ยยย เทพไปไหนนี่ วันนี้เนื้อหาน้อยลงหล่ะ ถ้าสอบ adwords พื้นฐานผ่านแล้ว สอบหัวข้อโฆษณาวิดีโออีกอันผ่าน ได้เซอร์ไปเลยจ้าาาาา ปริ๊นเก็บจากเว็บได้เลย แต่งานนี้พิเศษมากๆ มีปริ๊นส่งมาที่บ้าน พร้อมของที่ระลึกจากทาง Google ด้วย พิเศษถ้าสอบได้เซอร์ 7 คนแรก ได้หูฟัง7 คนต่อมา ได้ powerbank ด้วยยยย

ไม่รอช้า มาเรียนกันดีกว่าาาาา พี่เกดยังคงสอนสนุกเหมือนเดิม :)


Video Advertising 
by Katesara Parinyanusorn, MD Thinkplus Digital Co., Ltd

เราต้องเข้าใจพฤติกรรมของคนใช้แต่ละ media ซึ่งกว่า 50% ดู YouTube จาก mobile device

YouTube เป็น content platform ในรูปแบบ video และเป็นสมาชิกของ google display network ซึ่งสามารถทำ targeting, ad format, และคิดเงินเหมือนกัน เราต้องวางให้ integrated กัน

เราสามารถระบุ channel ของช่อง โดยการทำ placement targeting มีแบบ prime package ซื้อสามารถซื้อโฆษณาในช่องที่มีคนดูเยอะ หรือคน subscribe เยอะๆ ขายเป็น CPM ซื้อตรงกับทาง google หรือ agency ที่เป็น partner กับ YouTube ได้ ข้อดีก็คือ สามารถ lead ตรงตามจำนวนที่เราต้องการ ถ้าเราไม่มีทุนหนาขนาดนั้นก็ทำ CPV ได้เองผ่าน adwords โดยได้ TrueView กลับมา

Invitation ads คือ โฆษณาที่ให้เรา skip หนีได้

โฆษณาที่วางบน YouTube มีหลายแบบ ดังนี้

  1. Image ads อยู่ด้านข้าง video คิดเงินแบบ CPC หรือ CPM ก็ได้
  2. Text ads อยู่ตรงด้านล่างของ video คิดเงินแบบ CPC หรือ CPM ก็ได้ เช่นกัน
    สองแบบแรกเราทำเองบน adwords ได้เลย ไม่ต้องทำ targeting บน YouTube
  3. Video ads มีการคิดเงินสองแบบ คือ
    CPV : เราสามารถทำ adwords trueview เองได้ มีสองรูปแบบ คือ
    - in-stream แทรกหัว ท้าย กลาง เหมาะกับการทำ branding และ promotion
    - discovery ads ขึ้นด้านข้าง หรือตอน search ใช้สำหรับให้ลูกค้าตัดสินใจหรือให้คำแนะนำ
    CPM : อันนี้ซื้อตรงกับ Google
  4. Mastheads คิดเงินแบบ CPD หรือ cost-per-day เห็น ads เหมือนกันทั้งในหน้าเว็บและในแอป สามารถกำหนดได้อย่างเดียว คือ target country ราคาเป็นล้าน ต้องจองก่อนล่วงหน้า เพราะคิวน่าจะยาวเหยียด


เช่น โปรตั๋วเครื่องบินสายการบินหนึ่ง ทำตัว video ads เสนอโปรโมชั่นโดยใช้ in-stream และบอกวิธีการ check-in ที่ discovery ads ด้านข้าง

ทาง YouTube แบ่งเงินให้เจ้าของช่องที่ลง ads ด้วย สามารถตั้งเวลาว่าให้ show in-stream ตอนไหน เลือกแบบ skip หรือ non-skip ได้

ข้อสำคัญ
  1. ต้องทำการ upload video ที่ทำ video ads ลง YouTube ก่อน และเปิดเป็น public และ unlisted เท่านั้น
  2. ซื้อ ads ได้สองแบบ
    - ซื้อเองผ่าน adwords จ่ายแบบ CPV คือ image ads, text ads, video ads โดยการ bid
    - ซื้อผ่าน google จ่ายแบบ CPM และ CPV
YouTube TrueView ads
  • In-stream : ก็คืออยู่ใน stream นั่นแหละ อาจจะมาตอนต้นคลิป กลางคลิป จบคลิป บางคนเรียก pre-row ทำงานแบบ autorun เห็นได้ใน YouTube และ GDN คิดเงินแบบ CPV เป็น skippable ไม่กำหนดความยาวของวิดีโอแต่ไม่ควรยาวมากๆ ถ้ายาวมากๆควรเป็น discovery ads
  • Companion banner มีขนาด 300*60 อยู่กับ in-stream เท่านั้น เราจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้, random ว่าขึ้นหรือไม่ขึ้นให้เรา ถ้าขึ้นเสียเงินแบบ count as view (CPV) ถ้าในวิดีโอมี in-stream หลายตัวมันจะไม่ขึ้น ข้อดี คือ กด skip วิดีโอแล้วนางยังอยู่
  • Discovery ads หรือ in-search เป็นคลิปที่อยู่ในลิสต์ด้านข้าง หรือเจอด้านบนเวลาเราค้นหาคลิป มีสีทองๆเขียน ads เป็นตัวแยกความแตกต่าง เสียเงินต่อเมื่อมีการกดเล่นวิดีโอ และเล่นเฟรมแรก คิดเงินแบบ CPV เนื่องจากคนคลิกสนใจ content มีความตั้งใจดู ads ตัวนี้ มีทั้งในหน้าเว็บและในแอป
มื้อกลางวันต้องเดินด้วยท้องเนาะ


อิ่มแล้ว มาต่อกันดีกว่าเนาะ

TrueView Campaign setting tips
  • จ่ายเป็น CPV CPA ไม่จ่ายเป็น CPC เพราะเราเน้น view ดังนั้น ใช้ optimize for click ไม่ได้ 
  • มี 2 metric หลักๆ คือ lead และ frequency ทั้งสองแปรผกผันกัน 
  • Frequency capping คือจำกัดความถี่ในการเห็นโฆษณา ป้องกันคนรำคาญ เอา ads เราวิ่งไปหาคนอื่นได้มากขึ้น เช่น ให้เห็น 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 
  • IP Exclusion คือ การยกเว้น IP ห้ามแสดงโฆษณาที่ IP ไหน ในที่นี้ไม่สามารถทำได้ 
  • 1 adwords account สามารถ link ไปได้หลายๆ YouTube channel
  • Bumper ads : สามารถทำเองได้ จ่าย CPV ตัว ads ยาว 6 วินาที เป็นแบบ non skippable
YouTube reservation ads : ซื้อกับ google เมื่อเราต้องการ ensure และการันตีได้
  • Non skippable ads อยู่ใน in-stream ความยาวตัว ads อยู่ที่ 15 วินาที หรือ 30 วินาที คิดเงินแบบ CPM และไม่นับยอด view ตัววิดีโอ ads เราบน YouTube นะจ๊ะ ยูโนว 
  • In-stream select เลือก channel ที่จะลงได้ และได้ impression กลับมามากกว่า อาจจะเลือกแบบ package หรือระบุช่องของ YouTube partner
YouTube display ads
เนื่องจาก YouTube เป็น GDN ดังนั้น จึงมีโฆษณารูปแบบเหมือนกันเลย โดยขนาดของ banner และ flash/rich media คือ 300*250 จ่ายแบบ CPM นะ
Ad approval process : มีคน approve 24 ชั่วโมงในวันทำการ เอาจริงๆก็แปปเดียวก็ได้แล้ว
ถ้า ads เรายังไม่ได้รับการ approve ก็สามารถดูคลิป ads ได้ตามปกติบน YouTube เลยจ้า

เราสามารถทำ targeting ได้เหมือนกันกับ GDN
How to engage customers
  • Companion banner : จ่ายเงินแบบ count as view (CPV) คลิกไปยังช่อง YouTube หรือหน้าเว็บของสินค้า 
  • Call to action overlay หรือ CPA เป็น link อยู่ในวิดีโอ ตรงฝั่งซ้าย ล่างๆหน่อย อยู่ใน in-stream หรือ discovery ads คน engage กับ video คิดเงินแบบ CPV จ่ายเมื่อมีคนคลิก 
  • First position โฆษณาตัวแรกหลังจากรายการในแต่ละเบรก ซื้อกับ google โดยตรง ในไทยยังไม่มี 
  • YouTube card เช่น มี beauty blogger แต่งหน้าสาย ฝ ให้เราดู แล้วก็มีเครื่องสำอางที่ใช้ขึ้น อยู่ข้างๆ จะมีใครเรากด เป็นตัว I วงกลม กดมาก็มีให้เลือกจับจ่ายมากมาย จริงๆเราเคยเห็นคลิปของต่างประเทศ จำไม่ได้ว่าคลิปอะไรนะ >> ขอแนบข้อมูลตามลิ้งค์นี้เลยแล้วกัน
อันนี้ตัวอย่าง YouTube card เพิ่งเห็นเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ ads นะ ฟังเพลงไปเพลินๆแล้วกัน ชอบก็กดซื้อได้อะไรงี้



การวัดประสิทธิผลของโฆษณาวิดีโอ
  • หลักๆวัดที่ CPV, view rate, organic activity เช่น คน shared content เรา, view 
  • สำหรับ brand awareness campaign วัดที่ CPV และ view rate นะ
    โดย view rate = view / impression 
  • ดู industry benchmark ตรง video played to คือค่า quartiles ของ TrueView เทียบความยาววิดีโอ ว่าที่ 25% 50% 75% และ 100% ดูจนจบคลิปเลยมีจำนวนเท่าไหร่ สามารถนำไปวิเคราะห์ได้
ถ้าจะ monitor performance คลิปเรา ใช้ YouTube analytics โล้ดดด
ถ้าอยากรู้ว่า video นี้ถูกเล่นที่ไหนบ้าง ให้ดูที่ playback location
ถ้าอยากรู้ว่าใช้เวลาดู video เราโดยเฉลี่ยเท่าไหร่ ให้ไปดูที่ audience retention

การใช้ remarketing ไม่ต้องติด code หน้า website ของเรา แค่ link account ก็เพียงพอ ซึ่งเก็บ cookie data ไว้ คือใครที่ดูวิดีโอโฆษณาของเรา จะถูกเก็บใน remarketing list เลย สามารถเก็บได้ 30 วัน เก็บ activity ที่กระทำต่อ video ads และ channel ได้เลย เช่น คนดูคลิปเรา คนชอบ คนไม่ชอบ คนสับตะไคร้ เอ้ยยย สมัครรับข่าวสารช่องเรา ยกเลิกรับข่าวสาร คอมเมนท์ แชร์ คือก็บทุกสิ่งจริงๆ

ปิดท้าย การใช้ YouTube ลิ้งค์กับ google+ คือ ใช้ชื่อเดียวกันหรือใช้ชื่อที่ดีกว่า hangout on air CTA remarketing เป็นต้น

หลังจากจบงานด้วยความสนุกสนาน เราก็ไปทำธุระส่วนตัว และกลับมาสอบที่บ้าน

---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ----

ข้อสอบ Video Advertising มี 74 ข้อ ใช้เวลา 90 นาที หรือ ชั่วโมงครึ่ง สอบผ่าน 60 ข้อ เอาเซอร์ไปเลยยยย ถ้าสอบพื้นฐานผ่านอะนะ

สปอยข้อสอบนิดนึง มี 4 ตัวเลือก มีเลือกถูกผิด และเติมคำ 4 ตัวเลือก และแนะนำ สอบภาษาอังกฤษนะ อย่าไปกลัว ศัพท์ไม่ยาก อ่านได้ชิวๆ อยู่ที่ความเข้าใจของเราล้วนๆ

ผลสอบของเราออกมา ผ่าน ค่ะ


พอผ่านทั้งตัวพื้นฐาน และตัวย่อย 1 ตัวแล้ว
ได้รับ certified ผ่านออนไลน์เลยจ้า แค่โครงการนี้ปริ๊นส่งถึงบ้านก็เท่านั้น
ในรูปอันที่ผ่านจะเป็นแถบสีเขียวนะ พี่เขาบอกว่า สามารถยืดอายุได้โดยการสอบใหม่ และสอบผ่านนะ



ถ้าเป็นตัวย่อตัวอื่น จะเปิดสอนเฉพาะเอเจนซี่เท่านั้น แต่ถ้าอยากสอบเองก็สอบได้นะ

สำหรับใครที่สนใจ จิ้มเลยที่นี่ ของรอบเมษาเต็มแล้วนะ รับได้ 100 คน ที่แออัดมาก เกือบขี่คอกันเรียนทีเดียวเชียวหล่ะ >> https://www.google.co.th/landing/ignite/training/index.html ถ้าหน้าเว็บพัง คือเขากำลังแก้อยู่แหละ

หลังจบงาน เราได้เซอร์ ได้ของ เขาจะมี support หางานให้เราด้วยนะ เพราะคนสายนี้ digital marketing คนขาดจ้าาา (พอๆกับสาย big data เลย) ถ้าได้ของจะมารีวิวด้านล่างนี้อีกทีเนาะ

ตามปกติจะมีเอเจนซี่มาแนะนำสายงาน แต่ด้วยความเสาร์อาทิตย์ และความฉุกละหุก พวกเราเลยอดฟังค่ะ

ปล. บล็อกวันที่สองนี่เขียนเสร็จไวกว่าของวันแรกนะ คือ เนื้อหาน้อยกว่าจริงๆ

สำหรับตอนนี้ ต้องขอขอบคุณทาง Google Thailand ที่จัดงาน Google ignite ขึ้นมา ให้พวกเราได้เรียน digital marketing อย่างสนุกสนาน ดูแลพวกเราทั้งสถานที่ ซึ่งยอมรับกันทุกฝ่ายว่าแคบมากจริงๆ และอาหารการกิน รวมไปถึงของรางวัลซึ่งได้กันถ้วนหน้า อย่างน้อยคนละชิ้น ขอบคุณที่เกดที่มีพลังงานดีไม่ตก มาสอนพวกเราให้เข้าใจและสนุกสนาน และสุดท้าย พบกันใหม่บล็อกหน้าจ้าาา

ลากันไปด้วย สมุดจดจากทาง google ที่บอกได้เลยว่า เพิ่งเห็นที่นี่ที่แรกจริงๆ



ป้ายกำกับ:

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

เข้าอบรม Google Ignite Camp วันที่ 1 พิชิต AdWords Certified : AdWords Foundation

สวัสดีคะทุกท่าน หลังจากที่เรามี event ที่งาน Open Data Thailand กันไปแล้ว
เราก็มีอบรมในเสาร์ถัดมา คือ งาน Google Ignite Camp ซึ่งมีสองรอบ คือ 11-12 มีนาคม 2560 และ 8-9 เมษายน 2560 ซึ่งเราไปเจองานนี้ จาก Google Adwords ของเว็บๆนึงนั่นเอง -*- ซึ่งลิ้งนั้นพาเราไปลงทะเบียนเลือกรอบที่เราต้องการ เราเลือกรอบแรกของปีนี้เลย และก็ได้รับโทรศัพท์เพื่อเตรียมตัวล่วงหน้า ช่วงเย็นๆที่เรากลับบ้านจากงาน Open Data Thailand นั่นเอง ว่าเราได้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าอบรมฟรี และจะมีอีเมลล์แจ้งอย่างเป็นทางการ



งานนี้เหมาะกับใครบ้าง
เหมาะกับสายการตลาด และสาย IT จริงๆไม่ได้ fixed ว่าต้องจบอะไรมา ใครมาร่วมก็ได้ รับนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ (ส่วนเราจบมานานพอควร ตอนแรกนึกว่าไม่ได้ซะอีก)

Highlight โครงการ
- สร้างแรงบันดาลใจสู่การเป็นนักการตลาดดิจิทัล จากคนไทยที่ทำงานให้กับ บริษัท Google
- เรียนรู้หลักสูตร เนื้อหา และเทคนิคเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล และ Google AdWords อย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นมือโปรด้านการวางแผนและนักการตลาดดิจิทัล
- สอบออนไลน์เพื่อรับใบรับรอง และรับโอกาสฝึกงานกับ 40 บริษัทชั้นนำของเมืองไทย
- รับของรางวัลพิเศษ! เฉพาะผู้เข้าร่วมโครงการ Google Ignite เมื่อสอบใบรับรองได้ตามกำหนด
กติกาปีนี้ คือ สอบได้ใบเซอร์ 7 คนแรก ได้หูฟัง 7 คนถัดมา ได้ powerbank และทางงานได้ปริ๊นใบเซอร์มาส่งให้เราถึงที่บ้าน พร้อมของที่ระลึกจากทาง Google

ถ้าสอบไม่ผ่าน ทำไง สอบใหม่ ให้ผ่านภายในวันที่ 31 มีนาคม นี้นะ สำหรับรุ่นแรกของปีนี้นะ

สถานที่อบรม
Event Space at Glowfish ชั้น 4 เซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์
เวลา 9:30 - 17:30 ลงทะเบียนเก้าโมงเช้า

เราอบรมอะไรกันบ้าง
วันแรก : AdWords Fundamentals
วันที่สอง : Video Advertising
ซึ่งเรียนและสอบจบในสองวันนี้

เตรียมอะไรไปบ้าง
- สำหรับนักศึกษา เตรียมบัตรนักศึกษาหรือบัตรประชาน
- นำ notebook (แนะนำ) หรือ tablet ไปด้วย >> จริงๆคือเอามาสอบนั่นแหละ
- เตรียมปากกา ดินสอ ไปก็พอ เนื่องจากว่า เขาปริ๊นสไลด์ที่สอนให้เราจด

การเดินทางไม่ต้องกังวล เรามา bts เข้ามาตรงทางเชื่อม กระดึบขึ้นบันไดข้างร้านอีทูดี้ ก็ถึงที่จัดงานแล้ว


เตรียมตัวพร้อมแล้ว ลุยกันเลยยยยยย.....

งาน google ignite จัดขึ้นโดย google Thailand สอนการทำ online ads บน google ซึ่งเนื้อหาในวันแรก คือ การสอบ certified google AdWords fundamentals เป็นการบอกทุก type ของ ads แบบคร่าวๆ เนื้อหาจะแน่นมากๆ
ข้อสอบ google adwords fundamentals มี 100 ข้อ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ทำถูก 80 ข้อขึ้นไปจึงจะผ่าน ข้อสอบเป็นแบบ 4 ตัวเลือก open book ได้ ห้ามย้อนกลับข้อที่แล้วนะ ลอกไม่ได้ เพราะมัน random พอ สอบเสร็จ รู้ผลคะแนนเลยจ้า แต่การจะได้ certified ยังไม่จบแค่นี้ต้องสอบอีก 1 ใบ ในที่นี้คือสอบ video ads ให้ผ่านอีก 1 ตัว ตามข้อตกลงของโครงการ ถ้าผ่านทั้งสอบตัว ใบ certified จะ print มาส่งที่บ้าน หลังวันที่ 31 มีนาคม แนะนำให้สอบภาษาอังกฤษ เพราะภาษาไทย แปลไทยเป็นไทย แถมทับศัพท์ไปอีก ตัวอย่างจ้า


สนใจสมัครได้ที่ https://www.google.co.th/landing/ignite/training/index.html ปีนี้มีหลายรอบเลย
---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ----

เปิดงานอย่างชิวๆด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ
จากพี่พิม Google Thailand พี่เขาจบจากบัญชีจุฬา เข้าทำงานบริษัท tech company จนมาถึงปัจจุบัน ที่เขียนไว้ไม่ใช่อะไร บางทีคนเราไม่จำเป็นต้องทำงานตรงสายก็ได้ไง

Google เป็นบริษัทที่มี open culture ผลิตสิ่งที่เป็นประโยชน์และเปลี่ยนโลก เข้าถึง information คิดไปล่วงหน้า 10 เท่าเลย เขาเห็นว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญที่สุด ตามสโลแกน 

Be you, diversity matters, building happy

ทาง Google ได้เปิด Headquater ที่ 2 ที่สิงคโปร เมื่อปลายปีที่แล้ว เพราะแถบนี้ตลาดใหญ่มากๆ คนลงทุนกับ digital

มีเรื่อง micro moment เช่น ไปสยาม จะไปกินบิงซูร้านไหนดี ไปยังไง มีโปรอะไรไหม จริงๆ activity หลัก คือ ไปกินบิงซูที่สยามนั่นแหละ อันนี้เราเปลี่ยนตัวอย่างนิดหน่อยจากที่พี่พิมเล่า

Google search : 1500 search ต่อ 1 วินาที
ไทยเราติด Top10 คนดู youtube มากที่สุดในโลก

85% of Thais research online before making recent purchase
เช่น กระทะ วู้ดดี้ คนจำแต่พรีเซนเตอร์ จำชื่อยี่ห้อไม่ได้ ซื้อ keyword คำนี้เลย คนซื้อจะได้เจอง่ายๆ

google trend the mass singer พี่ทุเรียนสูงลิ่วอยู่คนเดียวเลยเนาะ 


การเขียน resume
สิ่งที่ควรทำ
  1. page pdf
  2. Clean and simple
  3. Bellet point
  4. Action word คำต้อง lead และ ต้อง strong มากๆ เช่น เป็นประธานค่ายอาสาสร้างฝาย โดยมีสมาชิกทั้งหมด 50 คน เป็นต้น
  5. Note the results you achieved
  6. Contact information ในที่นี้คือ email และ เบอร์มือถือ
ที่ไม่ควรทำ เช่น
- job description ไม่ต้องก็อปมาแปะนะจ๊ะหนู
- irrelevant experience อย่าใส่ประสบการณ์ที่ไม่จำเป็น
- ตัวสะกดผิด

สุดท้าย อยากทำงานกับอากู๋ ดูตำแหน่งงานที่เปิดรับได้ที่ www.google.com/career
---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ----

และแล้วก็ถึงเวลา เรียนกันซะที เราจึง recap ที่เรียนมา เพื่อให้ทุกท่านได้อ่าน และทำความเข้าใจกัน ไม่ได้จดอย่างละเอียดนะเออ

Adwords Fundamentals 
by Katesara Parinyanusorn, MD Thinkplus Digital Co., Ltd

มาทำความรู้จักกันก่อน
Google Adsense คือ publisher
ส่วน Google adwords คือ ads มี 3 แบบหลักๆ อันได้แก่
  1. Google search : ซื้อ keyword เพื่อให้มีโอกาสแสดง ads ใช้ keyword planers เพื่อประเมินราคาก่อนได้ เป็น text ads เท่านั้น จ่ายเป็น CPC
  2. Partner website เรียกว่า google display network หรือเรียกสั้นๆว่า GDN : ขายพื้นที่โฆษณาบน Google Adsense มีแบบ text ads, image ads ซึ่งจ่ายเป็น CPC และ CPM ส่วน video ads จ่ายเป็น CPV
  3. YouTube 
ในช่วงแรกเป็นการปูพื้นเรื่อง digital media กันก่อน

Digital marketing สามารถเลือก target segment ได้ เช่น ผงซักฟอกตากผ้าในที่ร่ม สนใจคนที่อยู่คอนโด ยิง location และสามารถวัดผลได้ ว่าถูกแสดงกี่ครั้ง คนคลิกเท่าไหร่ และซื้อของเราไหม ถ้าแบบ offline ลงโฆษณา TV วิทยุ นิตยสาร จะกว้างกว่ากลุ่มเป้าหมาย
Digital transformation นั่นคือ ทุกอย่างถูกเปลี่ยนไปอยู่ในโลกดิจิตอล

พี่เกดเอาภาพ customer purchase journey หรือ path to purchase มาอธิบาย


เราต้องเข้าถึงพฤติกรรมในแต่ละช่วง ตั้ง KPI ไว้ก่อน และ goal มีตัวเลขที่ชัดเจน เช่นลงเท่าไหร่ ได้เท่าไหร่
ข้อสำคัญ
  1. ทำไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไรเป็นหลัก >> ทำเพื่อตอบโจทย์อะไร เช่น cheer-up support 
  2. Media แต่ละอัน ทำหน้าที่อะไร ไม่ต้องทำตามกัน จัดลำดับความสำคัญ
คำศัพท์น่ารู้ key term of digital marketing เปรียบเทียบบางตัวกับในเชิงธุรกิจ
  • Impression จำนวนการแสดงผลของโฆษณา คิดต่อ refresh >> eyeballs grab มีคนเห็นจำนวนเท่าไหร่ โอกาสที่มีคนเห็นโฆษณา 
  • Click >> prospect คนสนใจสินค้า ได้ future customer 
  • CTR (Click through rate) ใน 100 impression มีกี่ครั้งที่ถูก click คิดเป็น % ตัวเลขสูงยิ่งดี บอกประสิทธิภาพ 
  • View วัดจาก video ads นั่นคือ TrueView นั่นเอง ถ้า ads ยาวไม่ถึง 30 วินาที ดูจบคิดเงิน ถ้าคลิปยาวกว่านี้ คิดที่ดู 30 วินาที 
  • View Rate เกิด impression เท่าไหร่ คนดูเท่าไหร่ คิดจาก total_view / impression 
  • Conversion มี goal คือ เมื่อคนคลิก ads เราแล้ว ให้คนทำอะไรต่อในเว็บเรา เช่นเข้าเว็บแล้วไปดาวน์โหลดแอป ซึ่ง Google ไม่สามารถ tract แบบ auto ได้ ต้องแปะโค้ดเอาเองในเว็บหรือแอป คือ conversion tracking นั่นเอง >> customer 
  • Conversion rate เอา conversion มาหารกับ total click หรือ total view 
  • CPC (cost per click) จ่ายเงินเมื่อมีคนคลิกลิ้งค์ เหมาะกับให้คนเข้ามาที่เว็บเรา ทำให้เกิด future customer  
  • CPM (cost per impression) จ่ายเงินเมื่อมีคนเห็น ads เรา บางเว็บคิดเงินแบบ 1000 impression คุณต้องจ่ายเท่าไหร่ เหมาะกับงาน awareness พวกสินค้าอุปโภค บริโภค 
  • CPA (cost per conversion/acquisition) อันนี้ใช้เพื่อให้คนมาซื้อของเรา ราคาเฉลี่ยต่อการได้ลูกค้ามา วัดผลจาก conversion
ข้อดีของ adwords คือ สามารถเลือกจำนวนเงินที่จ่ายต่อวันได้ และจ่ายต่อเมื่อมีคนคลิก ads
ใช้ CPA เมื่อต้องการ accomplished goal
ใช้ CPM เมื่อต้องการให้คนเห็นเรา
ใช้ CPC เมื่อต้องการพาคนไปหน้าเว็บเรา
Google Adwords Dashboard
  • campaign structure จัดโครงสร้างหมวดหมู่ เช่น รองเท้า หมวก 
  • campaign level จัดหมวดหมู่สินค้า เช่น รองเท้าราตรี รองเท้ากีฬา รองเท้าแตะ รองเท้าส้นสูง 
  • Avg. Pos. บอกว่าขึ้นตำแหน่งไหน มีแค่บนกับล่างนะ มาจาก bid ได้ราคาสูงๆ กับเว็บตรงกับที่คนค้นหา 
  • สามารถวัดผลได้
Google search partner คือ เว็บไซต์อื่นๆที่เป็น partner กับ google เช่น google map YouTube yahoo ask และอื่นๆ รวมไปถึงบล็อกนี้ด้วย ใช้ Adsense แปะ

Organic result คือ ผลการค้นหาที่คนเขาเจอเอง ไม่ต้องโฆษณา ที่ขึ้นลำดับบนๆ คือ ใช้ SEO (Search Engine Optimization)
Paid result คือ ตัว adwords ที่เราทำนั่นเอง ในส่วนนี้จะอยู่ด้านบนกับล่าง มีแถบ ads สีเหลืองๆแยกความแตกต่าง
ในมุมมองของ user การที่เรา search หาสักอย่าง เรียกการกระทำนั่นว่า search query ซึ่งเราต้องคิด keyword ให้ครอบคลุม search query และอย่าตั้งให้แย่งกันเองนะ

Google Ads Format

  1. Text ads เช่น ใน google search
  2. Image ads เช่น พวก banner ต่างๆ
  3. Video ads เช่น ใน YouTube 

ถ้านำ CPC กับ CPM มาเทียบ จะแปลง CPC เป็น CPM เพื่อให้เป็นหน่วยเดียวกัน เกิดใน GDN
ลง ads บน google search เพื่อเข้าถึงคนค้นหาสินค้าหรือบริการ
Why google display network? ดึงคนที่สนใจในสิ่งที่คล้ายๆสินค้าหรือบริการของเรา (ดูที่ keyword ตรงกันหรือคล้ายกัน วัด CTR)

Google Adwords Campaign Structure
ขอแปะรูปจากสไลด์แล้วกัน น่าจะเข้าใจง่ายกว่า
ตามหลักจะทำ Ad group ประมาณ 3 ตัว เพื่อเลือกอันที่ดีที่สุดมาแสดง

รูปนี้บอกภาพกว้างๆว่ามี structure เป็นแบบไหน

ภาพความเป็นจริงในการทำ adwords เป็นแบบนี้นะ
Setup Google Adwords Campaign Step by Step
เริมที่ google search ก่อนเลย ยาวมากๆ

ถึงไม่มี workshop ก็มีการทำแบบคร่าวๆในสไลด์
Tip เล็กน้อย คือ ควรแยก search กับ GDN ออกจากกัน เพราะ goal และควรแบ่งให้ชัดเจน
คือ ควรใช้ Type "Search Network Only" สำหรับ search และ "Display Network Only" สำหรับ GDN ไม่ควรใช้ Search Network with Display Select" ซึ่งคือสองอันนี้รวมกัน

มือใหม่ใส่ auto และเลือก max CPC นะ ถ้าไม่ชัวร์ว่าใส่ราคา bid เท่าไหร่ ให้ไปดูที่ keyword planner หรือ display planner นะ นอกจากจะบอกราคา bid แล้ว ยังบอกด้วยว่า แต่ละเดือนมีคน search query ด้วยคำนี้เท่าไหร่

ด้วยความขี้เกียจ เลยแปะลิ้งที่พี่เซียร์ได้สอนเราเมื่อต้นปี เพื่อให้ผู้ที่หลงมาเจออ่านประกอบเพื่อให้เห็นการใช้งาน adwords ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

มีการเลือก location ที่แสดง ads ได้ และมีการเลือกภาษาเป้าหมายได้ โดยดูจาก setting ของเครื่องว่าตั้งเป็นภาษาอะไร ซึ่งมันก็ make sense นะ

ถ้าวันไหนเราใช้เงินไม่หมดตามที่เราตั้งไว้ ส่วนที่เหลือจะนำมาทบ daily budget ในวันถัดไป ที่มีคน search มากๆ
ถ้าเรามี CTR ที่ไม่มี ต้องวิเคราะห์ดูว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ทำ A/B Testing ดู
ถ้าเงินใกล้หมด จะแสดงโฆษณาน้อยลงนะ

การคำนวณ daily budget แต่ละเดือนมีวันไม่เท่ากัน ดังนั้เราจึงเอา budget ในแต่ละเดือน มาหารด้วย 30.4 อันเป็นค่าเฉลี่ยจำนวนวันในแต่ละเดือนดู เพื่อให้เราคำนวณได้ไม่ผิดพลาด

ส่วนการทำ CPA ให้ไปดูที่ Conversion Optimizer ซึ่งถ้าเรา set อันแรกมันจะไม่ยอมให่เราทำ CPS ต้องติด tracking code ก่อน และทำ conversion ให้เกิดขึ้น 15 ครั้ง ใน 30 วัย จึงจะจ่ายแบบ CPA ได้

Enhanced CPC คือการขยายความสามารถของ CPC ดู click ที่มีแนวโน้มเป็น CPA เน้นคลิกที่มีคุณภาพ และมี conversion จ่ายเพิ่ม 30% ของราคา bid

Radius targeting กำหนดรัศมีได้ หลักการคือแสดงโฆษณาให้แก่ลูกค้าที่อยู่รอบๆของธุรกิจของเรา เช่น โรงเรียนกวดวิชาบ้านเอย สอนเด็กประถมในละแวกนั้น เป็นต้น



ตรง delivery method ก็จะเลือก standard กัน คือดึงมาแสดงให้ครบใน 24 ชั่วโมง ในเคสที่ทำโปรโมชั่นสั้นๆ แรงๆ เช่น จองตั๋วเครื่องบิน 0 บาท ก็จะใช้แบบ accelerated เร่งความเร็ว ให้โชว์ ads มาบ่อยๆ ซึ่งแคมเปญพวกนี้เงินหนา เลยพอผลาญเงินด้วยวิธีนี้ได้ ถ้าบางคนเผลอกดตรงนี้ผิดและเงินไหลไปไวมาก set กลับเป็น standard ด่วนนะจ๊ะ

ข้อควรระวัง ตัว ads เราอย่าใช้คำว่า click และต้องใช้คำว่าถูกแกรมม่า ถ้าสินค้าหรือบริการบางอย่างมีคำว่า click อยู่ เช่น ค่าย click camp ของวิศวะคอม มหิดล (ไมได้โปรโมตค่ายของภาควิชาแต่อย่างใด แต่นึกออกเฉยๆ) อันนี้ก็อธิบายเขาไปว่ามันเป็นชื่อค่ายนะ อะไรแบบนี้ ซึ่งเป็นหลัก adwords policies ดูแลพวกเราทุกคนอย่างปลอดภัยนั่นเอง

Keyword Matching Type
อันนี้เป็นการอธิบายเรื่องการใส่ keyword ว่าถ้า keyword เป็นแบบนี้ search query จะออกมาเป็นอะไร ดูรูปประกอบจากสไลด์ง่ายกว่านะ


Ad Extensions ส่วนขยายของโฆษณา สามารถใส่ที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ และ sitelinks ลูกๆได้ บางอันไม่มีในไทย เช่น rating ต่างๆ ดูรูปจากสไลด์ประกอบเลย
*ในรูปเขียนผิด จริงๆคือ CTR ไม่ใช่ CPR นะ



ตำแหน่งที่ขึ้นโฆษณา คิดจาก
  1. max bid เสนอราคาสูงก็อยู่บนๆไป
  2. Adwords Quality Score คะแนนจิตพิสัย คิดจาก
    - search query แล้ว ads เราขึ้น
    - มีคนคลิก CTR สูง
    - landing page ต้องสัมพันธ์กับ ads
    - ads extension มีโอกาสในการคลิกมากขึ้น
มีสูตรคำนวณ คือ ads_range = max_bid * quality_score หรือ ads_range = CPC * quality_score

เราจะจ่ายเงินเท่าไหร่ โดยปกติเราจะจ่ายตู่ากว่าราคา bid ที่เราเสนอไว้เสมอ
มีสูตรคำนวณคือ ad_cost = (ad_rank_of_your_below_position/your_quality_score)+0.01

Auction Insight Report ดู performance ของคู่แข่งว่าเป็นอย่างไร จุดส่อง คือ Impression share ว่าใน 100 ครั้งที่คน search จะแสดงผลเท่าไหร่

My Client Center (MCC) account ของเอเจนซี่ ดูแล account ของลูกค้า สามารถทำ sub MCC ได้

GDN Targeting
การทำ remarketing คือการดึงลูกค้าที่เคยเข้าหน้าเว็บเรา กลับมาที่หน้าเว็บเราเพื่อซื้อสินค้าและบริการ โดยเราจะฝังโค้ดที่เว็บไซต์เรา และตามหลอกหลอนโดยการส่ง ads หน้าเว็บเรา ไปยังเว็บที่เป็น GDN เพื่อให้ลูกค้ามาคลิกเพื่อเข้าเว็บไซต์เราอีกรอบหนึ่ง ใช้หลักการ ตื้อเท่านั้ที่ครองโลก

อีกอันที่คล้ายๆและคนเข้าใจสับสน คือ Interest Categories ดู history การเข้าเว็บไซต์ของเรา โดยบางเว็บเข้าถึง cookie browser ได้ เช่น ลุงท่านนึงงงว่า ทำไมมีโฆษณาสินค้า 18+ ขึ้นมาตามเว็บไชต์ต่างๆที่ลุงเข้า ทั้งๆที่ลุงไม่เคยเข้าเว็บไซต์ซื้อของแบบนี้เลย สาเหตุนี่แทบจะกลอกตามองบนเลย คือ ลุงไปเปิดเว็บโป๊ หรืออะไรพวกนี้ มันเลยขึ้นมา (อันนี้พี่เกดยกตัวอย่างมา แต่เราเขียนบล็อกช้ามาก ช้าจนมีเคสนี้เกิดขึ้นจริงๆกับลุงท่านนึง ที่คนแชร์กระจายในทวิตพอดีเลย)

จริงๆมีตัวอื่นอีก แต่ยกมาให้ฟังสองตัวนะ


Statistic Report, Measurement and Tools
  • สามารถ break out report ดูรายชั่วโมงได้ ในแต่ละ ad group ซึ่งเรียกว่า report segment
  • search term report ซื้อ keyword เป็น board match ดูว่ามี keyword อะไรบ้าง ไม่เกี่ยวข้องเป็น negative ที่เกี่ยวข้องและมี potential ให้ bid เพิ่ม 
  • Bid Adjustment บอกให้ขึ้นตรงไหนมากกว่าน้อยกว่า ดูเป็น location หรือ device ได้
  • Google Analytics ดูพฤติกรรมคนที่เข้ามาเว็บเรา (ตังนี้มี cert แยกต่างหาก แต่ในไทยยังไม่มีใครสอนมั้ง และมันยากอยู่นะ เราเรียนในเว็บไปติ๊ดนึงเอง)
  • Adwords Editor เป็นโปรแกรมดาวน์โหลดมาเพิ่มเอง สามารถทำงานแบบ offline ได้ โดยโหลดตัวล่าสุดไว้ในเครื่องเรา สามารถ set campaign โดยการ browse ได้ แบบไม่ต้องทำถึกๆ กดทีละอัน
ระหว่างที่เรียนก็สนุกสนานเฮฮากันไป พี่เกดมีเล่าประสบการณ์การทำงาน ทั้งในไทยและที่กูเกิ้ลให้ฟังด้วย พอสอนจบวันมี study guide แจกด้วย ถ้าอยากรู้ มาลงเรียนกับโครงการ Google Ignite สิจ๊ะ

---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ---- ----
มาถึงการสอบ เราสอบที่บ้าน เพราะเลิกช้านิดนึง และไวไฟที่จัดงานพัง
ข้อควรรู้ในการสอบ ความจริงเราจะทำบล็อกสรุป แต่แล้ว มาแปะในนี้แล้วกัน

google adwords certified คืออะไร
คือใบเซอร์ใบนึง ที่คนทำงานเอเจนซี่สาย digital marketing ควรมีไว้ เพื่อเป็นการการันตีกับลูกค้าว่าเรามีความรู้ตรงนี้ที่จะช่วยเขาได้จริงๆ

เราจะสอบ google adwords certified ได้อย่างไร
เข้าไปที่ google partner เลือกการรับรอง -> Adwords
ตัวข้อสอบมี 100 ข้อ ใช้เวลาทำ 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมง เกณฑ์คือต้องผ่าน 80% ขึ้นไป คือ 80 ทำถูกข้อขึ้นไป ตัวใบเซอร์มีอายุ 12 เดือนหรือ 1 ปี ทำข้อสอบเสร็จ รู้ผลเลย ถ้าไม่ผ่าน มาสอบใหม่อีก 7 วัน ต้องสอบสองตัว คือ adwords พื้นฐาน และ ข้อสอบ adwords อื่นอีก 1 ชุด แต่ไม่ต้องห่วงเรื่องเนื้อหาแต่ประการใด เพราะ ทาง google ได้จัดเตรียมเนื้อหาทั้งหมดไว้แล้ว เย้

สำหรับข้อสอบ พื้นฐาน adwords เนื้อหาการสอบมีอะไรบ้าง แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ
1. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ adwords
2. การจัดการแคมเปญ
3. การวัดผลและการเพิ่มประสิทธิภาพ
และเขาก็ได้สรุปเนื้อหาพวกนี้ ในไฟล์ pdf เป็นภาษาอังกฤษนะจ๊ะ

แต่ถ้ารีบ มีตัวเนื้อหา interactive จบใน 2 ชั่วโมง เป็นภาษาอังกฤษนะ

เราจะสอบอย่างไร
เข้าไปที่หน้า certified ของ Google Partner เลือกตัว Adwords กดเลือกหัวข้อที่จะสอบ ในที่นี้ คือ AdWords Foundation เลือกภาษา แนะนำว่าเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นกดปุ่มสีฟ้าๆ ทำการสอบ


เตรียมตัวเตรียมใจ ข้อสอบมี 100 ข้อ 120 นาที หรือ 2 ชั่วโมง พร้อมแล้ว กดสอบเลยยย
ข้อสอบมี 4 ตัวเลือกนะ



ถ้าทำข้อสอบเสร็จแล้ว ผลออกเลยจ้าาาา เย้ ผ่าน แล้ว



แต่การจะได้ certified มา ต้องสอบหัวข้อย่อยอีก 1 ตัว ซึ่งจะเป็นหัวข้อที่เราเรียนวันที่ 2 คือ Video Advertising นั่นเองง ซึ่งเนื้อหาน้อยกว่านี้เยอะเลย เราจะสอบผ่านได้ใบเซอร์มาครอบครองหรือไม่ ติดตามตอนต่อไป

ป้ายกำกับ:

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

#opendataday17 ภาคธุรกิจ ใช้ open data กันอย่างไร

หลังจากที่เราพาไปร่วมพิธีเปิดและฟัง session แรกของงาน International Open Data Day 2017 ที่ TK Park กันไปแล้ว เรายังติดค้างคนอ่านด้วย session ช่วงบ่าย คือ “ความท้าทายในการใช้ Big Data กับภาคธุรกิจ” ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจว่า big data กับภาคธุรกิจนั้น มีความสัมพันธ์ และสำคัญอย่างไร และใช้งานในภาคธุรกิจได้อย่างไร อย่ารอช้า ติดตามกันเลยจ้า



13:30 - 15:30 <ห้อง Auditorium> Bigdata Forum
ความท้าทายในการใช้ Big Data กับภาคธุรกิจ

โดย
ดร. ธนชาติ ฤทธิ์บำรุง ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Data Analytics Ascend.
ผศ.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณ สุมล กานตกุล VP-Marketing Planning & Analysis บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

ดำเนินรายการโดย
คุณวสันต์ ลิ่วลมไพศาล ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone


แต่ละองค์กรใช้ big data ทำอะไรบ้าง

ผศ.ณัฐวุฒิ : ใช้ในการวิจัย เช่น ข้อมูลคนไข้ ว่าอาการแบบนี้ป๋วยเป็นโรคอะไร คุยกับ สปสช ในการระบุชื่อโรคลงไปในระบบ คณะนิเทศศาสตร์ใช้ในการวิเคราะห์ข่าวลือ capture มาวิเคราะห์ได้

operation เช่น IT log การเก็บ log ตาม พรบ. คอมพิวเตอร์ มี server 90 ตัว แต่ละตัวมีความจุเป็นเทราไบต์ มีประเด็นเรื่องโหลตบิตในที่ทำงานด้วย สามารถรายงานได้ว่าคนไหน

ดร. ธนชาติ : ใช้ในเรื่อง e-commerce และ e-payment  
e-commerce ใช้ในเรื่อง track performance จับเรื่อง trade center, sale performance.  และในเรื่อง logistic ว่าส่งสินค้าวิธีไหนดีที่สุด
e-payment ใช้ในเรื่องทำ campaign ให้มีจำนวน user มากขึ้น, sale marketing performance, และ tracking ว่าได้ลูกค้า 1 คน ต้องใช้เงินเท่าไหร่ มีการ repeat และ revise ทำให้ฐานลูกค้าเติบโตมากขึ้น เอา analytic มา analyze agency 

ในเรื่อง business form ทำ automate check ว่าลูกค้าเข้ามาเพราะ campaign ไหน เพื่อรักษาหรือเพิ่ม royal customer ไว้ มีการตรวจสอบ identify ว่าลูกค้ามีตัวตนจริงๆ โดย detect ชื่อและนามสกุล

คุณ สุมล : big data ใช้ในธุรกิจหลายอย่าง เช่น
เพิ่มรายได้ 
1) สังเกตุพฤติกรรม และ lifestyle ของลูกค้า สามารถ design การขายให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ และส่งสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าได้อย่างถูกที่ถูกเวลา, ปรับปรุง performance การทำงาน และ การจัดการประสบการณ์ของลูกค้า
2) ลดจำนวนลูกค้าออกจากระบบ โดยดูพฤติกรรม event activity ว่าคนนี้มีโอกาสยกเลิกสินค้าและบริการของเรา
3) business operative ใหม่ๆของลูกค้า แต่ตอนนี้ติดกฏระเบียบของ กสทช อยู่

operational performance : network connecting 
design product ให้คนใช้งานมากขึ้น และ channel manager ไว้ดูเรื่อง density ของจุดบริการสินค้า ให้ลูกค้ามาสะดวก เช่น เรื่องจำนวนช้อป display ต่างๆภายใน

media planing แต่ละจุดมี traffic footwalk คนเดินเท่าไหร่ profile ลูกค้าที่ผ่านไปมาเป็นอย่างไร 

User Experience ศึกษา network และ performance ให้ได้ตาม quality ที่กำหนด shop นำ video lytic มาศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า ในการวาง layout ของ shop

Call center : speech analysis จับ mood ของลูกค้าได้

ให้แต่ละท่านเล่าว่า สำหรับแต่ละองค์กร big data คืออะไร, technology ที่ใช้ และเริ่มใช้เมื่อไหร่ และเพราะอะไร




ผศ.ณัฐวุฒิ :

1)big data = technology ไม่ใช่แค่ขนาด แต่เป็นความเร็วและความหลากหลาย จัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรให้ดึงประโยชน์มาใช้ คนมีความเข้าใจข้อมูลที่จำกัด และมองภาพหลักก่อน ดังนั้น analytic มองเป็นรายบุคคล -> data learning

2)data economy สมาภูมิการนำข้อมูลไปใช้ดุเดือดมาก เราต้องทำเป็น data analysis ให้ได้ เช่น นิสิตไปไหน ถ้าสมัยก่อนก็ถามเอา แต่สมัยนี้มีระบบลงทะเบียนเรียน ดูว่าลงวิชาไหน และวิชานี้เรียนที่ไหน รวบรวมการกระจายตัวของนิสิตเป็น heap map

ดร. ธนชาติ :

1)big data คือการ manage การจัดเก็บ data หลายๆ source ดึงให้เร็ว support ให้ได้ ดูที่สามอันนี้
Volume: data product สเกลการเก็บให้เร็วที่สุด
Variety : ความหลากหลายของข้อมูล
Veracity : social listening กรองข้อความขยะ

Analytic ไม่สนขนาดของ data สนใจตัวสถิติของ data หา algorithm ใหม่ๆของลูกค้า ดู marketing ด้วย

Insight-> Action : data product ดึงสองอย่างมาด้วยกัน feature ของแอปต้อง detect และ challenge user ให้ลูกค้าไม่เสียหาย

คุณ สุมล : big data คือทุกอย่างที่เป็นโอกาส คือนำเสนอโอกาสขององค์กร เกิด smarter business solutions เอา data ไปใช้แล้ว turn เป็น business value ได้

บทเสริม

ผศ.ณัฐวุฒิ : ควรเริ่มจาก pilot project ก่อน และพยายามที่จะเดินไป มองเป็นการผจญภัยอย่างหนึ่ง ปรับกระบวนการ data ให้เป็น business และมีโจทย์ที่ชัดเจน

คุณ สุมล : ตั้ง business objective คืออะไร ต้องทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย ต้องการข้อมุลอะไรบ้าง เรามีข้อมูลอะไรในมือบ้าง นำสิ่งที่กระจัดกระจายกันมาอยู่ที่เดียวกัน ที่เรามีอยู่สามารถ support ได้ทั้งหมดหรือไม่ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากไหน กระบวนการหาข้อมูลเป็นอย่างไร

ทุกท่านเสริมว่า ไม่จำเป็นต้องขยายให้เสร็จก่อนแล้วค่อยใช้ big data (คือใช้ไปเลยนั่นแหละ ไม่ต้องรอ)

ความเป็นส่วนตัวในองค์กร ต้องระวังอะไรบ้าง




ผศ.ณัฐวุฒิ : คนใช้ android เป็นโพรงให้กับ google ทางอาจารย์มีงานวิจัยร่วมกับทาง AIS อยู่ เอาเบอร์โทรศัพท์มือถือส่วนตัวไปให้อาจารย์ทำวิจัย หลังจากนั้นประมาณ 1 อาทิตย์ นักศึกษาทราบว่าอาจารย์พักอยู่ที่ไหน ตอนเช้าอาจารย์ไปที่นี่ใช่ไหมคะ อาจารย์เลยรีบเบรกนักศึกษาเลย 555 ข้อมูลพวกนี้ถูกเก็บข้อมูลในระดับหนึ่ง รู้ timeline ว่าลูกค้าไปไหน ทำอะไรบ้าง

power ของข้อมูลสูงมากๆ ทำ web matching เก็บเว็บต่างๆเพื่อลด traffic และข้อมูล log การเข้าเว็บของแต่ละองค์กร สามารถวิเคราะห์เป็นรายบุคคลได้ องค์กรถูกควบคุมด้วยกฎหมายในระดับหนึ่ง เช่น AIS มีการเข้ารหัสข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบริหารจัดการให้ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

ดร. ธนชาติ : data government การปกป้องข้อมูล มี policy practice แบ่ง data ออกเป็น level จ้าง security special นั่งรีวิว

การคัดคนเข้าทีม data นอกจากจะเป็นคนเก่งแล้ว จะต้องเป็นคนดีด้วย เช่น ดู pressure แรงผลักดันในการทำบางสิ่ง obtusity ถ้ามีเงินตั้งอยู่บนโต๊ะ จะขโมยไหม ดูว่ามีมโนธรรมในจิตใจหรือเปล่า

ห้ามคนในทีมเห็น data ที่ identified บุคคลได้ และดูว่าเก็บ data และ policy อย่างไร

คุณ สุมล : data policy เก็บไว้ในระบบอย่างไร -> data security การใช้ data ในบริษัท
คนที่ได้ permission เข้าได้เฉพาะคนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด
การดึงข้อมูลต่ำกว่า 100 records ต้องได้รับการอนุญาติจากผู้บริหารระดับสูง เป็นลายลักษณ์อักษร
Encryption ข้อมูลไม่ให้เห็นเบอร์ เห็นชื่อ ดึง insight มาวิเคราะห์ข้อมูล เอาเบอร์เป็นเลขสมมุติ เช่น 1A 1B แปลงตัว machine เป็น machine

AIS ได้ผ่านเกณฑ์ของดาวน์โจน ส่วนเคสนั้นในพันทิป เกิดจากคน สามารถสืบได้ว่าเป็นคนไหน เพราะมี log เก็บไว้อยู่ จึงต้องจัดการขั้นเด็ดขาด (ที่เห็นจากข่าวคือโดนไล่ออกนะ)

ในแง่เชิงธุรกิจ หาคนทำงานในสายนี้ มี skill และ mindset อย่างไร

ดร. ธนชาติ : programming + business + hacking คนสายงานนี้ขาดแคลนมาก เลือกคนที่มี potential
intelligence activity ให้โจทย์แล้วแก้โจทย์ innovation ได้
วิเคราะห์ข้อมูล สามารถ applied ได้ด้วย
ทำตัว data analysis ได้, สามารถ connect database และ inform เป็น data ได้

คุณ สุมล : เป็นจุดนึงที่ challenge หาคนสายนี้ยากเลยต้องลงสเปกลง ระหว่างที่หาคนนอกก็ build คนข้างใน train ด้าน technical ส่วน business เป็น skill เฉพาะตัว มีทีม IT solutions มา support ด้วย

ภาคการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างบุคลากรอย่างไร



ผศ.ณัฐวุฒิ : ที่สหรัฐอเมริกาขาด data science สองแสนคน ทางจุฬามีการทำงานเป็นทีม เมื่อสามปีที่แล้ว ทำนายว่าอีก 15 ปีข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้น หลักสูตรเปลี่ยนจากเรียน JAVA ตอนปี 1 มาเป็น python (เราว่า JAVA ยากกว่า python แถมพี่เหลือมเราใช้ประโยชน์ได้เยอะแยะ) เปิดสอนวิชา big data และ data science เต็มตลอด เพราะเด็กสนใจ ป.โท-ป.เอก ปรับหลักสูตร ให้ตอบโจทย์ และใส่ตัวอย่าง big data ในวิชาบังคับ เพื่อให้คุ้นชิน จับมือ NSTDA academy เรื่อง data science ปั้นคนในองค์กรให้มีความเข้าใจในเรื่อง technology และ technique มากขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนงานวิจัยให้มี impact ต่อประเทศ มี big data เป็น base (statistics research) ใช้คนให้เหมาะกับงาน (domain expert)

Business + Technology = AIS + CU

ต้นทุนคนแพงขึ้น จะทำให้ต้นทุนการทำ big data แพงขึ้นหรือไม่

ดร. ธนชาติ : พยายาม boot up productivity ให้ทำงานได้เร็วขึ้น แต่ละคนรู้หน้าที่ของตัวเอง ทำงานเป็นทีม ใช้ agile build ทีม มี destination of done ตรงกัน

Invert platform: group of concept ดูว่าการ expend ของ technology เหมาะสมไหม
เกิด impact กับคนไหม ให้มีการนำ data ไปใช้ เกิด culture ในองค์กร
Financial impact : ทำ small project ในการนำข้อมูลไปใช้ใน business

คุณ สุมล : ต้องศึกษา business objective อย่างละเอียด ว่าใช้ cost เท่าไหร่ (show me the money) ดูเรื่อง ROR อย่างแข็งแรง justified ให้ดีที่สุดในการ approve

ในแง่ของภาคการศึกษา ในองค์กรรัฐทำอย่างไรบ้าง

ผศ.ณัฐวุฒิ : มี EGA คอยให้ความช่วยเหลืออยู่ big data ไม่ต้องลงมือด้าน infrastructure เอง ใช้ cloud ได้ ภาครัฐของครุภัณฑ์ยากมาก ใช้เท่าที่ใช้ เครื่องมือบน cloud เก่งและ friendly ภาครัฐใช้ประโยชน์ได้ด้วย

ให้แนะนำองค์กรระดับเล็กว่าจะเริ่มใช้ได้อย่างไร

ดร. ธนชาติ :
- อยู่ที่ size จำนวนของลูกค้า อยู่ที่การ analytic ข้อมูล เจาะรายบุคคลได้ง่ายและคล่องตัวกว่า
- Feed ข้อมูลเข้า ecosystems เข้า big data เช่น google facebook เอาตัวเองไปอยู่ใน big data และ analytic ให้ได้

คุณ สุมล :
- big data เพียงพอที่จะตัดสินใจได้ ไม่จำเป็นต้องใหญ่
- ใช้ tool ฟรีหรือมีราคาถูก เช่น google analytics
- เริ่มมี startup รับทำให้ SME, เราเริ่มทำได้เลย ไม่ต้องรอ



การทำงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน มีปัญหาอะไรบ้าง

ผศ.ณัฐวุฒิ : ใช้เป็น project ซึ่งผู้บริหารเข้าใจ ความสำเร็จของ project จะมีผลต่อ KPI ของทางบริษัทด้วย มีความคล่องตัวและเต็มที่
มี culture แตกต่างกัน มี cycle ต่างกัน คือของมหาวิทยาลัยเป็นเทอม ของบริษัทเป็นปี เกิดความไม่ต่อเนื่อง มีกฎระเบียบ ความเข้มงวด ธุรกิจมีความเสี่ยง ถ้ารู้ว่าคุยกับใครจะง่ายขึ้น
ถ้าไม่ได้เป็น CSR ก็ต้องเป็นประโยชน์ เป็น domain ของบริษัท ทำงาน co กันยั่งยืนหว่า
บุคลากรบริษัทเอกชนมีภาระงานประจำที่ต้องทำ ดังนั้นโปรเจกนิสิตก็กึ่งงานฝาก
มีความลับทางการค้า หาจุดสมดุลในการตีพิมพ์ paper ว่าอันไหนตีพิมพ์ได้บ้าง

คำถามจากผู้ฟัง : hackathon คนที่มากแข่งหาโจทย์ไม่เจอ ทำยังไงให้ตั้งโจทย์และจับต้องได้

ดร. ธนชาติ : เริ่มจากการตั้งคำถามที่ถูกต้องก่อน ซึ่งยากที่สุด
อยากทำอะไร take action เข้าไป ทำให้ analytic ง่าย (pain point + occurs obtusity)
ดังนั้น hackathon คนไม่อินกับโจทย์ คนไม่เคยทำมันจะยาก ต้องอ่านและเข้าใจธุรกิจของเขา (key pain point + data)

ผศ.ณัฐวุฒิ : คนตั้งโจทย์ต้องทำการบ้านเพิ่ม

ดร. ธนชาติ : ดู data และ boot case, key pain point และใคร take action

AIS : ถ้าโจทย์ business เราต้องทำการบ้านเยอะ หาจุดที่เราสนใจ ทำยังไงให้เกิด impact แรงและมีข้อมูล

ดร. ธนชาติ : การตั้งโจทย์ executive, การเกิด use case

สุดท้ายฝากถึงพวกเรา ว่าทำอะไรต่อไป

ผศ.ณัฐวุฒิ :
- มีความสนใจ หาความรู้เพิ่มเติม ฝึกฝน หาโจทย์ต่างๆมาลองทำ มี passion
- คนเราหาความรู้เพิ่มเติมน้อยลง สนใจสูตรลัดมากกว่า ไม่มีอะไรเป็นสูตรสำเร็จ

ดร. ธนชาติ :
- creativity เกิดจากการ communication สองทาง
- Focus เอาอันแรกให้แม่นก่อน เลือก domain ที่เราสนใจก่อน

คุณ สุมล :
- creativity เกิดจากการสังเกตุสนใจ หา relationship สร้างคำถาม
- เกิดมุมมองใหม่ๆ ทำให้มีความหมายและเกิด impact

สุดท้าย ชักภาพที่ระลึกร่วมกัน เป็นอันจบ session


ตามข้อตกลงของงาน เข้าร่วม 2 session ขึ้นไปในวันแรก ลงทะเบียนออนไลน์ และส่งแบบประเมิน ได้รับเสื้อที่ระลึกของงานฟรีจ้าาา


เก็บตกกับด้วยการที่เราแอบไปแวะเวียนบูธที่ไปจัดงานเหมือนกัน

คุณวารี เป็นบุคคลท่านนึงที่วิเคราะห์นํ้าท่วม มีแบบหน้าเว็บมาให้เล่น วิเคราะห์ระดับนํ้าผ่านกล้อง CCTV มี chatbot ด้วยนะ ค้นหาเส้นทางก็ได้นะเออ โดยใช้ของ Here Map


อันนี้เป็นข้อมูลเตือนภัย มีการวิเคราะห์บนลงหน้าเว็บด้วย


สุดท้ายบูธข้างเคียง Call Zen พี่เขาเฝ้าบูธตลอดเลย อยู่บูธข้างๆลุงสุขุมเลย แอปนี้ช่วยเราโทรหา call center ได้สะดวก รวดเร็วขึ้น เนื่องจากว่าการต่อสายไปมานี่เราก็หงุดหงิดกันเนาะว่าเมื่อไหร่จะถึง แอปนี้ช่วยต่อสายได้เลยทีเดียวจบปิ้งงงงงง

สำหรับงานนี้ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่จัดงานนี้และตระหนักถึงความสำคัญของ open data ก็ดี big data ก็ดี รวมถึงภาครัฐที่พยายาม force ให้ทุกภาคส่วนเปิดข้อมูลเพื่อประโยชน์ของประชาชนนะคะ :)

ป้ายกำกับ: ,

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

#opendataday17 เปิดงาน International Open Data Day 2017 เข้าสู่ Thailand 4.0

สวัสดีทุกท่าน และแล้วในวันนี้ก็ได้มาถึง งาน International Open Data Day 2017 ได้ทราบจากพี่แต๊ก ผู้ร่วมจัดงาน ว่าจะมีงานนี้ช่วงมีนานะ และทีมเราจะได้จัดนิทรรศการด้วย กว่าจะถึงวันก็นานอยู่ ไปๆมาๆก่อนหน้างานนี้หนึ่งอาทิตย์ทีมก็เร่งทำโปสเตอร์ และส่งคนไป(ไม่)ประจำบูธในวันงาน นอกจากจะมีนิทรรศการผลงาน open data จากงานแฮกกาธอนต่างๆ ทั้ง Bangkok Urban Hack day (มีทีมดี ฟรี เย็น กับลุงสุขุม) EDM hackathon รวมทั้งป้ายุพิน และลุงบุญมีด้วย และยังมีเสวนาที่น่าสนใจอีกมากมาย เราได้เข้าร่วมในวันที่ 4 มีนาคม จึงแบ่งบล็อกออกเป็น 2 ตอน คือ พิธีเปิดและเสวนา Thailand 4.0 และ ความท้าทายในการใช้ big data กับภาคธุรกิจ



ในส่วนของพิธีเปิดและเสวนา Thailand 4.0 ได้รับเกียรติจากคุณหมอนพดล แห่ง ภิวัฒน์อากาศ มาช่วยเสริมเนื้อหาให้แน่นขึ้นคะ ขอบคุณคุณหมอนพ ณ ที่นี้นะคะ :)
ปล. ใส่วงเล็บเพื่อแยกความเห็นส่วนตัว ออกจากสิ่งที่แต่ละท่านได้กล่าว อ่านแล้วจะได้ไม่งงกัน



10:00 - 10:30 ลงทะเบียน
ก่อนอื่น เราเดินทางมา TK park ถึงตอนห้างเปิดพอดีเลย มาลงทะเบียนรับเอกสาร agenda sticker เข้างาน พร้อมแบบสอบถาม เพื่อนำมาแลกเสื้อของงานนี้ ซึ่งมีเงื่อนไขคือ ต้องลงทะเบียนทาง online, เข้าฟัง 2 session คือ เช้า 1 บ่าย 1 หรือ บ่าย 2 และตอบแบบสอบถาม เริ่มแจกเสื้อหลังสามโมงเป็นต้นไปถึงจบงานเลย



ก่อนเข้าพิธีเปิด มีพี่ MC คนสวยได้ให้ข้อมูลบนเวทีว่า งานนี้จัดในไทยเป็นครั้งที่ 3 แล้ว และวันนี้เป็นวัน open data day ด้วย จัดพร้อมกันทั่วโลกเลย งานนี้ใช้ hashtag ว่า #opendataday17 นะ ใครที่พลาด มี live สดทาง facebook ด้วยนะ





ใครเป็นคนจัดงานนี้ ?
มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ไม่คุ้นชื่อเลยหว่า)
สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EGA
TK Park
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
blognone
Social Technology Institute
มูลนิธิกองทุนไทย
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หรือ UDDC
HAND Enterprise
และ Change Fusion

มีการอุ่นเครื่องก่อนเข้าสู่พิธีเปิด โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ดังนี้


- งานนี้จัดขึ้นเพื่ออะไร เพื่อตระหนักในการเผยแพร่ข้อมูลสู่ภาคประชาชน ในการนำข้อมูลไปต่อยอด เพราะข้อมูลคือทุกสิ่ง
- สามารถนำข้อมูลที่มีมาใช้ในการตัดสินใจได้
- account ability (อันนี้ก็ยังงงๆอยู่)

- EGA ทำอะไรกับข้อมูลบ้าง ตอนแรกที่เปิด open data ในไทย มีข้อมูลทั้งหมด 30 ชุด ปัจจุบันมี 900 ชุดแล้ว ประเทศที่มี open data มากที่สุด คือ ประเทศอังกฤษนั่นเอง จึงมีการจัดกิจกรรมต่อยอดการใช้ open data นี้ ซึ่งข้อมูลที่ตั้งโรงเรียน ท่านได้ไปขอกับคนรู้จักถึงจะได้มา
(เห็นว่าสนิทกันจริงๆถึงจะยอมให้ ประมาณนี้ อีกนัยนึงคือตอนนั้นขอเปิดแบบนี้ไม่ได้ไง)

- ทำอย่างไรให้มีข้อมูลอย่างเพียงพอ คำตอบคือ ให้ภาครัฐเอาข้อมูลที่มีคุณภาพออกมาเยอะๆ ทำ API ออกมาให้ developer ต่อยอด (ความเห็นส่วนตัว แอบใส่คำว่า คุณภาพ เข้าไปขยาย เนื่องจากข้อแรก อ่านข้างล่างแล้วจะเข้าใจ ข้อสอง เคยเข้าเว็บแล้ว พบว่ามีข้อมูลแบบที่ไม่รู้จะให้เรามาทำไม คือไม่ต้องกับ need ของเรา นั่นคือไม่มีอันที่เราอยากได้ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ยากด้วย เพราะมีไม่ครบทุกแบบไฟล์) สิ่งที่ท่านต้องการ คือ นำเลข 13 หลักของห้างร้านมาตรวจสอบว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ (อันนี้ก็สะดวกในการกรอกภาษีด้วยเนาะ) หรือค้นหาว่าบุคคลนี้มีตัวตนจริงหรือไม่ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมต่อไป ใน Thailand 4.0

- เปลี่ยนวิธีคิดในการนำข้อมูลไปใช้ ฝึกคนให้นำข้อมูลไปใช้ให้เป็นประโยชน์

10:30 - 11:35 พิธีเปิดกิจกรรม International Open Data Day 2017 โดย รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการสานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์


จากนั้นเข้าสู่พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ สิ่งที่ท่านฝากไว้ มีดังนี้
- Jack ma เคยกล่าวไว้ว่า ในอดีตมีนํ้ามันเป็นแรงขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ ในปัจจุบัน data เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ มีการใช้ data และ analytic tool ในการวิเคราะห์การขอสินเชื่อกับ Alibaba เพื่อไม่ให้มีหนี้เสีย ขอทานที่เมืองจีนไม่ใช้กะบะใส่เงิน ใช้ QR code ของ Alipay ในการจ่ายเงิน แม้กระทั่งคนจีนที่มาเที่ยวไทย สามารถใช้ Alipay ใน 7-eleven ได้เช่นกัน

- open data เป็นเรื่องใหญ่ ไทยเพิ่งมาเริ่มเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คนเริ่มคือ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EGA โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สนับสนุน เพราะจะได้ป้องกันและปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น
ปัญหาที่เกิดขึ้น :
1) ส่งข้อมูลที่ไม่จำเป็นมาให้ และส่งมาให้ไม่ต่อเนื่อง
2) นำไปใช้ต่อยอดได้ยาก (น่าจะเป็นผลจากข้อแรก) แก้โดยทำให้เป็น common platform และเปิด API เพื่อให้ developer ทำแอป (หรือเว็บ) ทำ Data Literacy ไปจนถึง info-graphic
ประโยชน์ :
1) เกิดความเท่าเทียมกันในด้านกฎหมาย ข้าราชการระดับสูง คนรวย สามารถเข้าคุกได้ (นึกๆไป ไม่มีกรณีย้อนหลังเนอะ :P)
2) สามารถวิเคราะห์ได้
3) ติดตามได้ ตัว politic data ทำให้สามารถลงโทษทางกฏหมายได้

- สามารถนำข้อมูลไปใช้ปฏิรูปประเทศได้ ฐานข้อมูลที่มีอยู่ในการสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ต้องมีการ sharing ต่างคนต่างมีข้อมูลกัน เป็นเรื่องสำคัญ

- Data --> Innovation --> knowledge --> wisdom
เช่น เราเจ็บหน้าอก ไปหาหมอ หมอบอกเป็นโรคหัวใจ แล้วเราจะรักษาตัวยังไงให้มีชีวิตอยู่ต่อไป
หรือพวก big data analytic เช่น ข้อมูลคณะและมหาวิทยาลัย ว่าแต่ละที่มีการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

และอะไรที่เป็น Fact หรือ Trust เช่น โครงการบ้านจัดสรรแห่งนึงเคลมว่า ใกล้สนามบินสุวรรณภูมินะ 5 นาทีถึง อยู่หลังสนามบินเลยนะ (Fact) แต่ความเป็นจริง (Trust) ต้องอ้อมไปถึง 40 กิโลเมตรกว่าจะถึง

- open data เป็นนโยบายที่มีขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล และให้รัฐเป็นผู้เปิดเผยข้อมูล



11:35 - 12:30 เสวนา มุ่งสู่ Thailand 4.0 ด้วย Open Data และ Big Data ณ ห้อง Auditorium

โดย
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
คุณสมบูรณ์ มาตรคาจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโซลูชั่น ด้านดิจิทัลไลฟ์ บริษัท แอดวานซ์ อิน โฟร์เซอร์วิส

ดำเนินรายการโดย
ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรม สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)


ออกก่อนตัวว่า เรื่องการเสวนาค่อนข้างจดยากนิดนึง ถ้าคนมาพูดแลกเปลี่ยนสักเจ็ดคนขึ้นไปคือ ไม่เขียนแม่มหล่ะ เยอะเกิน 555 (งานนึงเคยคิดจะเขียน แต่ด้วยจำนวนคน เลยขอบายแล้วกัน มึนเกิน) ดังนั้นเลยใส่คล้ายๆ dialog พวกบทสนทนา เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน และจดของเราเอง

มุมมองของภาครัฐที่ขับเคลื่อน open data เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอย่างไร




ดร.ศักดิ์ ตอบ: คนกลัวความผิดพลาด เช่น ทำไมหน่วยงานภาครัฐจึงขอเอกสารสำเนาบัตรประชาชน เพราะถ้ามีปัญหาจะได้ฟ้องถูกคน และภาครัฐเองมีวัฒนธรรม คือ เคยชินกับเอกสารที่เป็นกระดาษ

1) ข้อมูลของภาครัฐไม่เปิดให้คนใช้ต่อยอดได้ เช่น บัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง จาก ปปช. เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ถ้ามีในปีหน้านี้ (ก็เห็นนักการเมืองรวยขึ้นทุกคนนะ เราจะตัดสินที่อะไรดีหล่ะ)

2) ภาครัฐในแต่ละประเทศ มีคติในเรื่องอำนาจและความถูกต้อง ข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเปิดได้ในระดับหนึ่ง แต่ละหน่วยงานเลยนำข้อมูลที่เขาไม่ใช้หรือไม่เกี่ยวข้องกับเขา มาให้ นั่นคือข้อมูลขยะนั่นเอง

3) ตั้ง national data board ควบคุมการเข้าถึง เช่นในประเทศอังกฤษจะมีการพูดคุยกันระหว่างนักวิจัย คนที่มีส่วนเสียทั้งหลาย ว่าอันไหนเปิดได้ อันไหนเปิดไม่ได้

4) ในไทยอาจจะเป็นประชารัฐ ทำตารางสรุปว่าข้อมูลอันนี้พร้อมเปิดเมื่อไหร่ 
การเปลี่ยนเอกสารกระดาษเป็นฐานข้อมูล หลายหน่วยงานต้องช่วยเหลือกัยจึงจะสำเร็จ 
ตัว analytic ไม่สมบูรณ์ สาเหตุนอกจากเรื่องข้อมูลแล้วก็เรื่องคนด้วย
data operator มีการอบรมคน สำหรับสาย IT มาการสอบเลื่อนระดับ อันนี้ดูความเหมาะสมอีกที

5) อันนี้ท่านทิ้งท้ายไว้ว่า อยากเห็นการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน จากเดิมที่แบ่งเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล มาแบ่งเป็นพื้นที่ ในสมัยที่ท่านยังดำรงตำแหน่งอยู่

ข้อจำกัดด้านทัศนคติ ข้อมูลกระดาษ เปลี่ยนให้สามารถใช้ analytic ได้แล้ว
ข้อมูลที่ภาครัฐเปิด ช่วยในการขับเคลื่อนนวัตกรรมได้อย่างไร



ดร.พันธุ์อาจ ตอบ: open innovation เดิมทีทำในบริษัทที่พร้อมจะเปลี่ยน transaction ในธุรกิจที่คล้ายๆกัน เกิด corp. sharing แต่เกิดในภาคเอดชนเท่านั้น จึงยังไม่ใช่ open innovation มากนัก data เป็นสินค้าสาธารณะ คือนำ data ไปใช้ในภาคประชาชน ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง
1) ข้อมูลสาธารณะมักจะไม่ค่อยได้เห็นในประเทศที่กำลังพัฒนา คือขาด digital dependency

2) product/service innovation ในส่วนนี้คือ open scientist นักวิทยาศาสตร์ชุมชน เช่น คนนี้ชอบดูนก เลยศึกษานกแต่ละสายพันธุ์ เก็บข้อมูล หาความรู้ และนำไปเผยแพร่ในชุมชน หรือนักประวัติศาสตร์ชุมชน คนจำนวนนี้มีเยอะ แต่ไม่ถูก press ขึ้นมา ข้อมูลตรงนี้ไม่ต้องรอการเปิด ทำยังไงให้ใช้ข้อมูลได้ 
(นึกถึงตอนที่โรงเรียนในสมัยมัธยมพานักเรียนไปศึกษาเรื่องเขตธนบุรีกับเจ้าของพื้นที่ เพื่อนำไปทำรายงานส่งแต่ละรายวิชา ซึ่งเหมือนทาง NIA จะมีแพลนทำ walkathon ย่านคลองสาน แต่ต้องรอดูต่อไป)

3) Data Driven Innovation (DDI) หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้เป็นนวัตกรรม
สร้างจาก big data แปลงให้เป็นคุณค่าทางนวัตกรรม ซึ่งเป็น 1 ในยุทธศาสตร์ คือการทำ Innovation Informatic Base (สารสนเทศนวัตกรรม) ซึ่งต้องตกลงเรื่อง data set กันก่อนว่าจะใช้อะไร

- open innovation ทำให้เกิดความต้องการใช้ data (need) ประชาสังคมเป็นเจ้าของ open data
- ทำอย่างไรให้นำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อาจจะทำเป็น User Generate Data (Content)
- เปลี่ยน mind set ในการทำ innovation ใช้ big data มาตีโจทย์ทำนวัตกรรม รวบรวม data innovation มากพอ เสริมแต่งให้เป็นคุณค่าของนวัตกรรม

เกร็ดน่ารู้ : smart city 1/4 เป็นของภาครัฐ 3/4 เป็นของเอกชน
ในจีนมีการใช้ data ในมือถือเพื่อเปิดปิดไฟจราจร เป็นการทดลอง

ในภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการเก็บ data ในการทำหรือต่อยอดธุรกิจใหม่ๆได้อย่างไร




คุณสมบูรณ์ ตอบ: ทำเป็น digital portal อาศัยความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่ง AIS ได้เปิดตัวแอปที่ใช้ open data ไปสามตัว คือ การเกษตร สุขภาพ และการศึกษา

ด้านการเกษตรมีการลงพื้นที่จริง ที่เชียงดาว ว่าเขาอยากได้ข้อมูลอะไรบ้าง เช่น ปลูกพืชอะไรดี ปลูกแล้วขายได้ไหม ปลูกอย่างไรดี มีปัจจัยต่างๆเยอะมาก เช่น สภาพดิน อากาศ ชลประทาน ตลาด อย่างราคารับซื้อ เปรียบเทียบว่าที่ไหนให้ราคาดีที่สุด และใกล้ตัวเขามากที่สุด

IoT ต้องบรูณาการ data ในหลายๆมิติ จาก sensor และภาครัฐ เช่น พยากรณ์อากาศ AIS เป็นตัวกลางในการ provide process ประมวลผล ให้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้

ข้อมูลมี 3 แกนหลัก คือ
1. อดีต วิเคราะห์อนาคต
2. transaction เป็น reference เช่น ข้อมูลเลขบัตรประชาชน 1ส หลัก
3. data 2-ways ใส่ข้อมูลเข้าไปแล้วมีคำตอบออกมา มีการวิเคราะห์ data เพื่อใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

การเปิด data จะมีผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจ
ก่อน ดร.สมเกียรติ ตอบ มีการขายของกันเล็กน้อยค่ะ


ฟื้นเศรษฐกิจ-ปฏิรูปรัฐ ด้วยปฏิวัติข้อมูล (Boosting the Thai Economy and Reforming Government Services by Data Revolution) 13 มีนาคม 2017 เวลา 08:30 - 16:45 ที่ Centara Grand at CentralWorld
จองบัตรผ่าน eventpop ซึ่งแอบวางลิ้งได้ด้านบนแล้ว ท่านแอบกระซิกว่า มีการใช้ big data ในการพิจารณาคนเข้าร่วมงานด้วยนะ (555)


1) open data ช่วยเกษตรกร เช่น บริษัทนํ้าตาลมิตรผล เป็บบริษัทนํ้าตาลอันดับ 5 ของโลก ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลแผนที่ ใช้ UAV มีการ location จาก GPS และภาพถ่ายดาวเทียม คำนวณว่าพื้นที่สวนอ้อยนี้มีปริมาณอ้อยเท่าไหร่ คาดว่าจะมีเท่าไหร่ เพื่อนำไปทำสัญญาซื้อขายได้

2) ตัวอย่างการใช้ open data เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา ให้คนสามารถรู้ GPS ของรถไถ โดยออกแบบแปลงปลูกอ้อยให้เป็นระเบียบ เพื่อใช้ GPS ระบุรถไถอ้อย ให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร เพราะถ้าตัดไปโดนตาอ้อย ทำให้อ้อยไม่สามารถเจิรญเติบโตได้อีก

3) Thailand 4.0 --> Data 4.0
Data 1.0 ภาครัฐเก็บข้อมูลประชาชน เช่น ข้อมูลทะเบียนราษฏร์ ส่งต่อไปตามลำดับเรื่อยๆจนถึงระดับบนสุด
Data 2.0 ภาครัฐอยากเข้าใจประชาชนมากขึ้น มีการ servey data ลงพื้นที่ สำรวจประชากรจริงๆ เช่น สำรวจคนว่างงาน ภาวะครัวเรือน มีหลักหมื่นครัวเรือน เป็น micro data ปิดเรื่อง privacy ไว้
Data 3.0 visual big data ใช้ Big Data จาก Social Digital Media เช่น Google, Facebook เอาข้อมูลไปวิเคราะห์
Data 4.0 real world big data เชื่อมโยงกับโลกจริง เช่น IoT ช่วยเรื่อง productivity ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น

ซึ่งท่านก็ขายของทิ้งท้ายไว้ว่า ถ้าอยากทราบข้อมูลเรื่องนี้อย่างละเอียด ให้มาร่วมงานวันที่ 13 นี้นะ

ฝากช่วงท้าย ความคาดหวังของแต่ละหน่วยงาน กับข้อมูล data
คุณสมบูรณ์:
- เรื่อง digital portal มีแผนต่อไป คือ มีข้อมูลอะไรบ้างที่ส่งต่อเกษตรกร ใช้ technology เพื่อยกระดับให้ไปได้พร้อมๆกัน ในแอป Farm สุข
- ข้อมูลที่ขาด คือ
1) การตลาดที่แม่นยำ ในเรื่องตลาดรับซื้อที่ราคาดีที่สุด ในแหล่งที่ใกล้ตัวเกษตรกร คุยกับผู้บริหารเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมา
2) Source of Innovation เพื่อสร้างกลไลการมีข้อมูล เช่น การพยากรณ์อากาศ การบูรณาการ forecast
3) แอป อสม. ออนไลน์ เป็น tool ปฏิบัติงานของ อสม ถ้าประสบเหตุคนเจ็บป่วยบ่อย ปักลงแผนที่ แล้วหาชื่อสถานที่ที่ตัวเองอยู่ไม่เจอ เพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ ไม่มีคนไป tag ข้อมูล open data ระดับตำบลระดับหมู่บ้าน บน google map
ทาง ดร.พณชิต เสริมว่า ใช้ข้อมูลของเสามิเตอร์ไฟฟ้า ในการพยากรณ์อากาศ (เข้าใจว่าเรื่องตำแหน่งว่าเสาเลขนี้ อยู่ตรงไหน)

ดร.ศักดิ์: เสริมว่า ข้อมูล open data มีลึกสุดที่ระดับในตำบลเท่านั้น ยังไม่มีในระดับหมู่บ้าน
- focus มากขึ้น ว่าภาครัฐต้องการอะไรบ้าง และคนใช้อยากได้อะไร อยากได้ข้อมูลชุดไหน และต่อยอดให้เกิด application ทางภาครัฐมีข้อห้ามว่าห้ามพนักงานภาครัฐทำแอปเอง (อ้าว) จึงเปิดข้อมูล API ให้ developer ทำ มีทั้งหมดตอนนี้ 900 แอปปิเคชั่น (หืมมม) เลยได้คนมาพัฒนาแอปเพื่อภาครัฐฟรีๆเลย (เดี๋ยวๆ แล้ว developer ไม่ต้องกินหรอคะ ถ้าทำงานฟรีเรื่อยๆ ดีที่มีการจัดประกวดให้พอได้อะไรบ้าง)
- ต้องดูว่า ทำแอปนี้แล้วจะมีคนใช้ไหม อาจจะทำแอปเดียวแล้วครอบคลุมทุกอย่างเลย เช่น ข้อมูลรถบัส ตารางการออกรถ (เราเคยทำแอประบบขนส่งมวลชน สิ้งที่ขาดคือ open data เลยหล่ะ เพราะเรากะทำทีเดียวครอบคลุมทุกอย่าง เลยพับโปรเจกนั้นลง โชคดีที่ได้ทำลุงสุขุมต่อ อิอิ)
- ขสมก. บอกว่า เขาขอเปิดข้อมูลตำแหน่งบนรถเมล์ (ว๊าววว) ของพวกนี้อาจจะต้องมี พรบ. เปิด data set ในกรอบเวลาที่กำหนด นำข้อมูลไปทำแอปแล้วประชาชนได้ประโยชน์
ทาง ดร.พณชิต เสริมว่า ขอให้ developer ติดต่อขอใช้ข้อมูล

ดร.สมเกียรติ : โตดี อยู่ได้ ตายยาก
เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ภาครัฐเปิดข้อมูล ให้ประชาชนเข้าใจ ต้องเปิดในระดับใหญ่โดยให้ EGA ช่วย
ถ้าภาครัฐเปิดแล้ว เอกชนต้องเปิดได้ด้วย หากติการ่วมกันที่เกมาะสม และสังคมต้องได้ประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่ตกอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง เช่น โครงการ Open Data Initiative ของสหรัฐอเมริกา

เลขบัตรประชาชน 13 หลักของเรา คัด ID ออกมา สามารถตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพได้ (เข้าใจว่าดูว่าเราได้สิทธิบัตรทองหรือประกันสังคม น่าทำอยู่เหมือนกัน)

ดร.พันธุ์อาจ :
1) ระบบนวัตกรรมไม่มี portfolio เพราะไม่มีข้อมูล จึงทำในระบบโครงการ มีการเจริญเติบโตที่ดีมาก จาก 100 เป็น 400 จนเป็น 1000 โครงการ ถ้าทำสำเร็จจะขยายไปหน่วยงานอื่นที่เป็นสายงานด้านนวัตกรรม ส่วนข้อมูลภาคเอกชนจะทำเป็น Community Innovation Survey (CIS) ข้อมูลบริษัทที่ทำ innovation smart ซึ่งเป็น platform ในการทำ Innovation Dashboard
2) พัฒนา Innovation Informatic ตามแผนพัฒนา 5 ปี(2020) ให้มี IT ด้านนวัตกรรม เก็บข้อมูลและใช้ประโยชน์ได้
3) การคาดการณ์อนาคต ใช้ Cloud Foresight Institute เพื่อสร้างแบบจำลองอนาคต โดยให้ user เข้าระบบ online มาทำ scenario
4) ร่วมกับ EGA ทำ Hackathon Generate Innovation ที่ศรีราชา ทำ Walkathon 4 เดือน ที่ EEC
5) เพิ่มหมวด Government Tech Sector ในมุมมองของ data

ท่านแอบมาบอกว่า เดือนนี้ทาง NIA จะมีการเปิดตัวหลายๆกิจกรรมเลย ต้องติดตามเนอะ

หลังจากจบ session ก็แยกย้ายไปดูนิทรรศการ และทานอาหารกลางวัน จริงๆตอนเปิดงานผู้ใหญ่ก็มาเดินชมก่อนเข้า session นี้นะ เราพลาดไปไม่ได้พรีเซนต์ท่านๆเลย งื้อออออ เลยเก็บภาพนี้มาฝากแทน มีหลายบูธเลย




-------------------------------------------------------------------------------------------
พื้นที่โฆษณา ลุงสุขุมก็ได้เข้าร่วมงานนี้ด้วยนะ จากแอปแชทบอทใน facebook เล็กๆ สู่โมบายแอป และกำลังก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ที่เราตั้งไว้ 


-------------------------------------------------------------------------------------------
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ขอบคุณทุกท่านที่จัดงาน และให้โอกาสพวกเราได้ร่วมงานนี้คะ
และยังมีอีก session คือ ความท้าทายของ big data และภาคธุรกิจ อย่าลืมติดตามกันนะคะ

ป้ายกำกับ: ,